สงกรานต์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คุณสามารถช่วยตรวจสอบ และแก้ไขบทความนี้ได้ด้วยการกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน กรุณาเปลี่ยนไปใช้ป้ายข้อความอื่น เพื่อระบุสิ่งที่ต้องการตรวจสอบ หรือแก้ไข ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ วิธีการแก้ไขหน้าพื้นฐาน คู่มือการเขียน และ นโยบายวิกิพีเดีย และเมื่อแก้ไขตามนโยบายแล้ว สามารถนำป้ายนี้ออกได้ |
สงกรานต์เป็นคำสันสกฤต หมายถึงการเคลื่อนย้าย ซึ่งเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายของการประทับในจักราศี หรือคือการเคลื่อนขึ้นปีใหม่ในความเชื่อของไทยและบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ตามหลักแล้วเทศกาลสงกรานต์กำหนดตามปฏิทินจุลศักราช ซึ่งไม่ตรงกันทุกปีเมื่อเทียบกับปฏิทินสากล ปัจจุบันเหลื่อมอยู่ระหว่างวันที่ 13-15 เมษายน หรือ 14-16 เมษายน แต่ดูเหมือนปฏิทินในยุคนี้จะกำหนดให้เทศกาลสงกรานต์ตรงกับวันที่ 13-15 เมษายน ของทุกปี ตัวอย่างเช่น พ.ศ. 2549 วันมหาสงกรานต์ตรงกับวันที่ 14 เมษายน แต่ปฏิทินกำหนดให้สงกรานต์เริ่มในวันที่ 13 เมษายน
พิธีสงกรานต์ เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในสมาชิกในครอบครัว หรือชุมชนบ้านใกล้เรือนเคียง แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปสู่สังคมในวงกว้าง และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทัศนคติ และความเชื่อไป ในความเชื่อดั้งเดิมใช้สัญลักษณ์เป็นองค์ประกอบหลักในพิธี ได้แก่ การใช้น้ำเป็นตัวแทน แก้กันกับความหมายของฤดูร้อน ที่อาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ศกใหม่ ใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น มีการขอพรจากผู้ใหญ่ การรำลึกและกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ ในชีวิตสมัยใหม่ของสังคมไทยเกิดประเพณีกลับบ้านในเทศกาลสงกรานต์ นับวันสงกรานต์เป็นวันครอบครัว ในพิธีเดิมมีการสรงน้ำพระที่นำสิริมงคล เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่มีความสุข ปัจจุบันมีพัฒนาการและมีแนวโน้มว่าได้มีการเสริมจนคลาดเคลื่อนบิดเบือนไป เกิดการประชาสัมพันธ์ในเชิงการท่องเที่ยวว่าเป็น ‘Water Festival’ เป็นภาพของการใช้น้ำเพื่อแสดงความหมายเพียงประเพณีการเล่นน้ำ
การที่สังคมเปลี่ยนไป มีการเคลื่อนย้ายที่อยู่เข้าสู่เมืองใหญ่ และถือวันสงกรานต์เป็นวัน "กลับบ้าน" ทำให้การจราจรคับคั่งในช่วงวันก่อนสงกรานต์ วันแรกของเทศกาล และวันสุดท้ายของเทศกาล เกิดอุบัติเหตุทางถนนสูง นับเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงหลายด้านของสังคม นอกจากนี้ เทศกาลสงกรานต์ยังถูกใช้ในการส่งเสริมการท่องเที่ยว ทั้งต่อคนไทย และต่อนักท่องเที่ยวต่างประเทศ
พื้นที่ที่โด่งดังในการจัดงานสงกรานต์ในประเทศไทย เช่น
- สงกรานต์นานาชาติ ถนนข้าวสาร
- ถนนราชดำเนิน และสนามหลวง
- พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
- ประเพณีสงกรานต์พระประแดง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
- ประเพณีสงกรานต์กรุงเก่า บริเวณเกาะเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง ในทุกจังหวัดในภาคเหนือ และบริเวณคูเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
- ประเพณีไทย-พม่า อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย และ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
- สงกรานต์ชาวเขา อำเภอปาย และอำเภออื่นๆในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
- มหาสงกรานต์เมืองอุบล จังหวัดอุบลราชธานี
- สุดยอดสงกรานต์อีสาน เทศกาลดอกคูณ-เสียงแคน และถนนข้าวเหนียว จังหวัดขอนแก่น
- สงกรานต์สองฝั่งโขง จังหวัดหนองคาย จังหวัดนครพนม
- ประเพณีสงกรานต์ศรีมหาราชาและประเพณีกองข้าว เกาะลอย จังหวัดชลบุรี
- วันไหลพัทยา วันไหลบางแสน จังหวัดชลบุรี
- หาดใหญ่มิดไนท์สงกรานต์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
- สงกรานต์เมืองใต้ แห่นางดาน จังหวัดนครศรีธรรมราช
[แก้] บทวิจารณ์
วันสงกรานต์เสมือนกับวันครอบครัวที่สมาชิกกลับมารวมตัวกัน นอกจากนั้นยังมีการเล่นน้ำเพื่อความสนุกสนานและคลายร้อน อย่างไรก็ตามในการเล่นน้ำในหลายกรณีมีการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เช่น การสาดน้ำใส่ผู้ที่ไม่ต้องการเล่นสงกรานต์ การลวนลามสตรีโดยการปะแป้งถูกเนื้อต้องตัว ฯลฯ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อาจจะปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาเหล่านี้
สงกรานต์ เป็นบทความเกี่ยวกับ วัฒนธรรม ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น |