Ebooks, Audobooks and Classical Music from Liber Liber
a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z





Web - Amazon

We provide Linux to the World


We support WINRAR [What is this] - [Download .exe file(s) for Windows]

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
SITEMAP
Audiobooks by Valerio Di Stefano: Single Download - Complete Download [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Alphabetical Download  [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Download Instructions

Make a donation: IBAN: IT36M0708677020000000008016 - BIC/SWIFT:  ICRAITRRU60 - VALERIO DI STEFANO or
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
วิกิพีเดีย:คู่มือในการเขียน - วิกิพีเดีย

วิกิพีเดีย:คู่มือในการเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คู่มือในการเขียน
นโยบาย
นโยบาย
อะไรที่ไม่ใช่วิกิพีเดีย
คู่มือพื้นฐาน
หลักการตั้งชื่อบทความ
การแก้ไขหน้า
การจัดหน้าโดยใช้แม่แบบช่วย
เขียนให้ดียิ่งขึ้น
เขียนไม่ให้ละเมิดลิขสิทธิ์
อ่าน/เขียน คำทับศัพท์
คำทับศัพท์ในวิกิพีเดีย
การอัปโหลดภาพ
การใส่ภาพ
การสร้างตาราง
การจัดหมวดหมู่
การสร้างหน้าเปลี่ยนทาง
การลิงก์มาที่วิกิพีเดีย
อธิบาย
การแก้ไขเล็กน้อย
คำอธิบายอย่างย่อ
อ้างอิง
การอ้างอิงแหล่งที่มา
ถอดเสียงอังกฤษเป็นไทย
ถอดอักษรไทยเป็นโรมัน
ศัพท์บัญญัติ
พจนานุกรม
สีที่ใช้ในเว็บ
แม่แบบ
แม่แบบ
แม่แบบแสดงข้อความ
แม่แบบเชื่อมโยงหัวข้อ
วิธีการสร้างแม่แบบ
"ข้อมูลที่ถูกต้องและการเขียนโดยไม่ลำเอียงมีความสำคัญมากกว่ารูปแบบที่ถูกต้อง"

คู่มือในการเขียน (Manual of Style) ในวิกิพีเดียเป็นแนวทางในการเขียน ให้ผู้อ่านสามารถอ่านในรูปแบบที่เข้าใจได้ง่าย พึงนึกเสมอว่า หลักการตั้งชื่อนี้เป็นแนวทางในการตั้งชื่อเพื่อให้ชื่อบทความง่ายต่อการเข้าใจ ซึ่งไม่ใช่กฎเหล็ก โดยเมื่อวิกิพีเดียโตได้ระดับหนึ่ง ข้อแนะนำต่างๆ ที่ไม่เป็นที่นิยม อาจจะลดหายไป ก่อนอื่นเนื่องจากวิกิพีเดียคือสารานุกรม ลองอ่านที่ นโยบาย และ อะไรที่ไม่ใช่วิกิพีเดีย เมื่อมีข้อสงสัยให้ตั้งตามบทความต่อไปนี้

สารบัญ

[แก้] ชื่อบทความ

ดูบทความหลักที่ วิกิพีเดีย:หลักการตั้งชื่อบทความ

ชื่อบทความควรจะเป็นภาษาไทยที่เป็นคำนาม สำหรับชื่อเฉพาะ ชื่อคน ชื่อสถานที่ หรือชื่อสิ่งของ ให้ใช้ชื่อที่เป็นชื่อนิยม เพราะเชื่อว่าเป็นชื่อที่คนอื่นจะค้นหาเป็นอันดับแรก

ชื่อบทความที่ปรากฏในส่วนเนื้อหาครั้งแรกให้ทำตัวเน้น และเว้นวรรคระหว่างชื่อกับเนื้อหาหนึ่งครั้ง '''ชื่อบทความ'''

  • เช่น คู่มือในการเขียน ในวิกิพีเดียเป็นแนวทางในการเขียนให้ผู้อ่านสามารถอ่านในรูปแบบที่เข้าใจได้ง่าย ถึงแม้ว่าชื่อบทความจะเป็นชื่อย่อของเนื้อหานั้น ให้เน้นชื่อเต็มทั้งหมด เช่นบทความ ไอแซก นิวตัน
  • เช่น เซอร์ไอแซก นิวตัน (Sir Isaac Newton) นักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ นักปรัชญา และนักเล่นแร่แปรธาตุชาวอังกฤษ

สำหรับบทความที่มีสองชื่อ ซึ่งอาจจะเป็นบทความที่แปลมาจากภาษาอื่น ให้ทำตัวเน้น ชื่อทั้งสองของบทความ

[แก้] ชื่อเรียก

แนะนำให้ใช้ ตัวเอน สำหรับชื่อเรียกของ เพื่อแยกส่วนเนื้อหาบทความกับชื่อเรียกนั้น

  • เช่น ในปี พ.ศ. 2534 วินนิงอีเลฟเวนได้เริ่มวางจำหน่าย โดยในปัจจุบันเป็นรุ่นที่ 9
  • เกมคอมพิวเตอร์และวิดีโอเกม
  • ขบวนรถไฟโดยสารที่มีชื่อเฉพาะ
  • คดีในศาลยุติธรรม
  • คำประพันธ์หรือร้อยกรองขนาดยาว/มหากาพย์
  • งานประพันธ์ดนตรีสำหรับวงดุริยางค์
  • ชิ้นงานทัศนศิลป์
  • บทละคร
  • ภาพยนตร์
  • ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์
  • ยานอวกาศ
  • เรือ
  • หนังสือ
  • หนังสือรายคาบ (หนังสือพิมพ์ วารสาร และนิตยสาร)
  • อัลบัมดนตรี

ตัวเอนจะใช้กับชื่องานขนาดยาว หากเป็นงานขนาดสั้น ควรล้อมชื่อเรียกด้วยเครื่องหมายอัญประกาศคู่ ("...") แทน งานขนาดสั้นได้แก่:-

  • คำประพันธ์หรือร้อยกรองขนาดสั้น
  • ตอนของภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์
  • บทความ ความเรียง หรือบทความวิชาการ
  • บทหรือองก์ของงานขนาดยาว
  • ประติมากรรม
  • เพลง
  • เรื่องสั้น

มีบางกรณีที่ชื่อเรียกไม่ควรใช้ทั้งตัวเอนหรืออัญประกาศ ได้แก่:-

  • คัมภีร์ทางศาสนา
  • รัฐธรรมนูญและกฎหมาย
  • รูปเคารพทางศาสนา

[แก้] วันเดือนปี

  • เขียนปีในรูปแบบของ พ.ศ. โดยเว้นวรรคหนึ่งครั้งระหว่างคำย่อและตัวเลข เช่น
  • สำหรับปี ค.ศ. ที่มีความสำคัญ ในทางความหมาย ให้เขียนกำกับในวงเล็บด้านหลัง หรือเขียนเฉพาะปี ค.ศ. เช่น
  • ทศวรรษ เขียนระหว่าง พุทธทศวรรษ และ คริสต์ทศวรรษ โดยไม่มีคำว่า "ที่" ตามหลัง เช่น
    • คริสต์ทศวรรษ 1980
  • ศตวรรษ เขียนระหว่าง พุทธศตวรรษ และ คริสต์ศตวรรษ โดยตามหลังด้วยคำว่า "ที่" เช่น

[แก้] ตัวเลข

  • ตัวเลขให้ใช้เลขอารบิก(0 1 2 3..9) เป็นหลัก
  • สำหรับเอกสารต้นฉบับที่ยกมาไว้ในเครื่องหมายคำพูด และไม่มีการจัดรูปแบบหรือเขียนใหม่ สามารถอ้างอิงเลขไทย (o ๑ ๒ ๓..๙) ไว้

[แก้] ประเทศ ภาษา บุคคล

ชื่อ ภาษา และชื่อบุคคล จากต่างประเทศให้ใช้ชื่อตามชื่อประเทศ เช่น ชาวสวีเดน (ไม่ใช้ ชาวสวีดิช) ภาษาสวีเดน (ไม่ใช้ ภาษาสวีดิช) หรือ ชาวเวลส์ (ไม่ใช้ ชาวเวลช์) ยกเว้นชื่อที่มีการใช้มานาน ได้แก่ เยอรมัน กรีก ไอริช ดัตช์ สวิส อังกฤษ และ อเมริกัน

[แก้] รูปแบบการจัดหน้า

ดูบทความหลักที่ รูปแบบการจัดหน้า

[แก้] การเขียนกำกับภาษาอื่น

[แก้] การออกเสียงคำ

การเขียนตัวอักษรคำ ให้ใช้สัญลักษณ์ของ IPA โดยอาจจะเขียนคำไทยที่เสียงใกล้เคียงกำกับ สำหรับภาษาจีนให้ใช้ พินอิน และภาษาญี่ปุ่นให้ใช้ โรมะจิ กำกับเพิ่ม เช่น

  • ภาษาฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: français, อังกฤษ: French, IPA: fʁɑ̃sɛ) หนึ่งในภาษากลุ่มโรมานซ์ที่สำคัญที่สุด ...
  • โตเกียว 「東京」 Tōkyō? เป็นเมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่น ...
  • โจวเหวินฟะ (จีน: 周潤發, พินอิน: Zhōu Rùnfā) หนึ่งในสุดยอดนักแสดงฮ่องกงที่ ได้ก้าวเข้าสู่วงการภาพยนตร์นานาชาติ ...

[แก้] คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ

สำหรับ คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ ที่ต้องการแสดงที่มาของคำนั้น ให้เขียนคำภาษาอังกฤษในวงเล็บตามหลังด้วยชื่อบทความ โดยใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่สำหรับชื่อเฉพาะและชื่อบุคคล และตัวอักษรพิมพ์เล็กสำหรับคำทั่วไป เช่น

  • สตีเฟน พอล จอบส์ (Steven Paul Jobs) ผู้บริหารระดับสูงของ แอปเปิล คอมพิวเตอร์ และ พิกซาร์อนิเมชันสตูดิโอส์ ...
  • มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ (University of California, Berkeley) เป็นมหาวิทยาลัยรัฐ ตั้งอยู่ในเมืองเบิร์กลีย์ รัฐแคลิฟอร์เนีย ...
  • ไบโอดีเซล (biodiesel) เป็นเชื้อเพลิงดีเซลที่ผลิตจากแหล่งทรัพยากรหมุนเวียน เช่น น้ำมันพืช ...

สำหรับคำทั่วไปที่เป็นภาษาไทย ที่ไม่จำเป็นต้องมีคำศัพท์ภาษาอังกฤษกำกับ เช่น

  • ปลา เป็นสัตว์เลือดเย็น มีกระดูกสันหลัง ส่วนใหญ่หายใจทางเหงือก ...
    • ไม่ใช้ ปลา (fish) เป็นสัตว์เลือดเย็น มีกระดูกสันหลัง ส่วนใหญ่หายใจทางเหงือก ...

[แก้] เว้นวรรคระหว่างคำ ของชื่อจากภาษาต่างประเทศ

คำที่มาจากภาษาต่างประเทศ ถ้ามีการเว้นวรรคระหว่างคำ ให้เขียนติดกันเป็นคำเดียว เช่น

ยกเว้นคำที่เป็นชื่อเฉพาะ โดยขึ้นอยู่กับต้นฉบับของข้อมูล สำหรับคำที่ยังไม่มีการกำหนด ตัดสินว่าถ้าแยกคำแล้วทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ให้เขียนติดกันเป็นคำเดียว

[แก้] ชื่อซอฟต์แวร์ และ ชื่อรถ

ชื่อซอฟต์แวร์ และ ชื่อโมเดลรถยนต์ให้เขียน เว้นวรรคระหว่างชื่อผู้ผลิตและชื่อผลิตภัณฑ์ เช่น

เขียน ซีวิคไทป์อาร์ ติดกัน เนื่องจาก ซีวิคเป็นรุ่นรถรุ่นหนึ่งของ ฮอนด้า

[แก้] ชื่อทีมกีฬา

ชื่อทีมกีฬาที่ประกอบด้วยชื่อเมืองและตามด้วยชื่อทีม เขียนเว้นวรรคระหว่างชื่อเมืองและชื่อทีม สำหรับการกล่าวว่า่ทีมนั้นมาจากเมืองไหน

สำหรับทีมฟุตบอล เขียน

[แก้] เครื่องหมาย

[แก้] เครื่องหมายจุลภาค

ภาษาไทยไม่ใช้เครื่องหมาย จุลภาค (เครื่องหมายคอมม่า)ระหว่างคำ

  • ตัวอย่างใช้
    • แม่สีหลักประกอบด้วย สีแดง สีน้ำเงิน และสีเหลือง
    • ไม่ใช้ แม่สีหลักประกอบด้วย สีแดง, สีน้ำเงิน, และสีเหลือง
  • ข้อยกเว้นในการใช้ เมื่อการเว้นวรรคคำ อาจทำให้เกิดความสับสนในประโยค

[แก้] เครื่องหมายมหัพภาค

ภาษาไทยไม่ใช้เครื่องหมาย มหัพภาค (จุด) ที่ท้ายประโยคเช่นเดียวกันเครื่องหมายอัศเจรีย์ หรือเครื่องหมายคำถาม (?)

[แก้] เครื่องหมายไม้ยมก (ๆ)

ไม่มีนโยบายสำหรับการใช้งานเว้นวรรคในไม้ยมก ว่าจะเว้นวรรคก่อนหน้าและตามหลัง ไม่ว่า "สรุปเร็วๆนะ" "สรุปเร็วๆ นะ" หรือ "สรุปเร็ว ๆ นะ" แต่การเว้นวรรคก่อนหน้าและหลังไม้ยมกไม่ใช่เรื่องสำคัญ ดูเพิ่มที่ ไม้ยมกและการใช้งาน และ บทพูดคุยในอดีตเกี่ยวกับการใช้ไม้ยมกในวิกิพีเดีย


[แก้] ดูเพิ่ม

Our "Network":

Project Gutenberg
https://gutenberg.classicistranieri.com

Encyclopaedia Britannica 1911
https://encyclopaediabritannica.classicistranieri.com

Librivox Audiobooks
https://librivox.classicistranieri.com

Linux Distributions
https://old.classicistranieri.com

Magnatune (MP3 Music)
https://magnatune.classicistranieri.com

Static Wikipedia (June 2008)
https://wikipedia.classicistranieri.com

Static Wikipedia (March 2008)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com/mar2008/

Static Wikipedia (2007)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com

Static Wikipedia (2006)
https://wikipedia2006.classicistranieri.com

Liber Liber
https://liberliber.classicistranieri.com

ZIM Files for Kiwix
https://zim.classicistranieri.com


Other Websites:

Bach - Goldberg Variations
https://www.goldbergvariations.org

Lazarillo de Tormes
https://www.lazarillodetormes.org

Madame Bovary
https://www.madamebovary.org

Il Fu Mattia Pascal
https://www.mattiapascal.it

The Voice in the Desert
https://www.thevoiceinthedesert.org

Confessione d'un amore fascista
https://www.amorefascista.it

Malinverno
https://www.malinverno.org

Debito formativo
https://www.debitoformativo.it

Adina Spire
https://www.adinaspire.com