วงศ์ปลากดทะเล
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วงศ์ปลากดทะเล | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
กดหัวโต
|
|||||||||||
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |||||||||||
|
|||||||||||
|
วงศ์ปลากดทะเล (อังกฤษ Ariidae) ปลาจำพวกนี้จัดอยู่ในกลุ่ม (ปลาที่มีก้านครีบ) Ray-finned fishes ในอันดับ (Order) Siluriformes อันดับปลากด หรือปลาแมว ซึ่งเป็นปลาที่หากินตามพื้นน้ำ โดยมากจะไม่มีเกล็ด มีครีบแข็งที่ก้านครีบอก มีหนวด โดยมากเป็นปลากินซาก ทั้งซากพืช ซากสัตว์ พบทั้งน้ำจืด น้ำเค็ม และน้ำกร่อย ทั่วเขตอบอุ่นของโลก
สำหรับปลาในวงศ์นี้ (Family) เป็นปลากดชนิดที่อาศัยในบริเวณน้ำกร่อย ปากแม่น้ำ และในทะเล ส่วนมากมีรูปร่างคล้ายปลาสวายแต่มีส่วนหัวที่โตกว่าและแบนราบเล็กน้อย ครีบหลังยกสูงมีก้านแข็งคมเช่นเดียวกับครีบอก ครีบไขมันใหญ่ ครีบก้นสั้น ครีบหางเว้าลึก มีหนวด 1 - 3 คู่รอบปาก บนเพดานมีฟันเป็นแถบเเข็งรูปกลมรี
โดยการแพร่พันธุ์ ตัวผู้จะอมไข่ไว้ในปาก รอจนกว่าไข่จะฟักเป็นตัว โดยหลังจากการผสมพันธุ์ภายนอกแล้วตัวเมียจะใช้ครีบก้นที่มีขนาดใหญ่และหนากว่าตัวผู้อุ้มไข่ไว้แล้วให้ตัวผู้มารับไป ไข่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 0.5 - 1 ซ.ม. แล้วแต่ชนิดพันธุ์ (Species)
กระจายพันธุ์ทั่วเขตร้อนของโลก พบในประเทศไทยประมาณ 20 ชนิด เช่น ริวกิว หรือลู่ทู (Arius thalassinus) และพบในน้ำจืด 6 ชนิด เช่น กดหัวโต (Ketengus typus) อุก (Hemipimelodus borneensis ) อุกหัวกบ (Batrachocephalus mino) กดหัวผาน (Hemiarius verrucosus) เป็นต้น
โดยมากปลาในวงศ์นี้ จะถูกเรียกรวมกันว่า " อุก " เนื่องจากเมื่อถูกจับพ้นน้ำได้แล้วจะส่งเสียงร้องได้ โดยส่งเสียงว่า " อุก อุก "
หมวดหมู่: วงศ์ปลากดทะเล | ปลา | ปลาน้ำจืด | ปลาน้ำเค็ม | ปลาน้ำกร่อย