ฉลามหัวบาตร
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฉลามหัวบาตร | |||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||
Carcharhinus leucas Müller & Henle, ค.ศ. 1839 |
|||||||||||||||||
|
ฉลามหัวบาตร เป็นชื่อปลาทะเลชนิดหนึ่งที่สามารถอาศัยในน้ำจืดได้ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Carcharhinus leucas อยู่ในชั้นปลากระดูกอ่อน (Class Carcharhinidae) วงศ์ย่อยปลาฉลามและปลากระเบน (Elasmobranchii) รูปร่างอ้วนป้อม ข้อหางยาว หัวมันกลม ปากกว้าง ภายในปากมีฟันแหลมคม ครีบหลังสั้น ครีบอกแหลมยาว ครีบหางตอนบนแหลมสูง ตอนล่างเล็กสั้น มีนิสัยดุร้าย กินปลาเเละสัตว์ต่างๆ ในน้ำเป็นอาหาร รวมทั้งอาจทำร้ายมนุษย์ได้ด้วย พบอาศัยในทะเลเขตอบอุ่นทั่วโลก โดยเฉพาะบริเวณชายฝั่ง ขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 3.5 เมตร น้ำหนักหนักได้ถึง 316.5 ก.ก.
ฉลามหัวบาตร เป็นปลาฉลามชนิดที่สามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำจืดได้ โดยพบเป็นบางครั้งในแม่น้ำใหญ่ที่ห่างจากทะเลนับร้อยกิโลเมตร เช่น แม่น้ำมิสซิปซิปปี้ แม่น้ำอเมซอน ในประเทศไทยเช่น แม่น้ำโขง เป็นต้น โดยปลาจะว่ายเข้ามา
เป็นปลาที่ใช้ตกเป็นเกมกีฬา ใช้บริโภค หรือจัดเเสดงในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ และยังเป็นที่นิยมของนักเลี้ยงปลาที่นิยมเลี้ยงปลาแปลกๆ ด้วย
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
หมวดหมู่: ปลาไทย | ปลาน้ำจืด | ปลาน้ำเค็ม | ปลาน้ำกร่อย | ปลาตู้