กะพงขาว
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กะพงขาว | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |||||||||||||||
|
|||||||||||||||
|
|||||||||||||||
Lates calcarifer Bloch, ค.ศ. 1790 |
|||||||||||||||
|
กะพงขาว เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่งที่สามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำจืดหรือน้ำกร่อยได้ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lates calcarifer อยู่ในวงศ์ปลากะพง (Latidae) มีรูปร่างลำตัวหนาและด้านข้างแบน หัวโต จะงอยปากค่อนข้างยาวและแหลม นัยน์ตาโต ปากกว้างยืดหดได้ มุมปากอยู่เลยไปทางหลังนัยน์ตา ฟันเป็นฟันเขี้ยวอยู่บนขากรรไกรบนและล่าง ขอบกระดูกแก้มเป็นหนามแหลม ขอบกระดูกกระพุ้งเหงือกแข็งและคม คอดหางมีขนาดใหญ่และแข็งแรง เกล็ดใหญ่มีขอบหยักเป็นหนามเมื่อลูบจะสากมือ (Ctenoid) ครีบหลังอันแรกมีก้านครีบเป็นหนามแข็ง ปลายแหลม อันที่สองเป็นครีบอ่อนมีขนาดใกล้เคียงกัน ครีบใหญ่ปลายกลมมน พื้นลำตัวสีขาวเงินปนน้ำตาล แนวสันท้องสีขาวเงิน มีขนาดความยาวประมาณ 20-40 ซ.ม. พบใหญ่สุดถึง 2 เมตร หนักได้ถึง 60 ก.ก.โดยปลาที่พบในทะเลจะมีขนาดใหญ่กว่าปลาที่พบในน้ำจืด
เป็นปลาที่อพยพไปมาระหว่างทะเลกับน้ำจืด โดยพ่อแม่ปลาจะว่ายจากชายฝั่งเข้ามาวางไข่ในป่าชายเลนหรือปากแม่น้ำ จนกระทั่งลูกปลาฟักและเติบโตเเข็งแรงดีแล้ว จึงจะว่ายกลับสู่ทะเล บางครั้งพบอยู่ไกลจากทะเลนับเป็นร้อยๆ กิโลเมตร เช่นที่ แม่น้ำโขง ก็มี เป็นปลากินเนื้อ อาหารได้แก่ สัตว์น้ำ ปลา กุ้ง ที่มีขนาดเล็กกว่า
เป็นปลาเศรษกิจที่กรมประมงส่งเสริมให้เลี้ยง เกษตรกรนิยมผลิตลูกปลาชนิดนี้ส่งไปจำหน่ายยังประเทศมาเลเซียและไต้หวัน เนื้อมีรสชาติดี นำมาประกอบอาหารได้หลายประเภท เช่น แปะซะ นึ่งบ๊วย เป็นต้น และนิยมตกเป็นเกมกีฬา อีกทั้งยังเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วย
กะพงขาว ยังมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า " กะพงน้ำจืด "
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
หมวดหมู่: ปลาไทย | ปลาน้ำจืด | ปลาน้ำกร่อย | ปลาน้ำเค็ม | ปลาตู้