กระเบนราหู
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กระเบนราหู Conservation status: Endangered
|
|||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||
Himantura chaophraya Mongkolprasit & Roberts, 1990 |
|||||||||||||||||||
|
กระเบนราหู เป็นปลากระเบนน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยสามารถหนักได้ถึง 600 ก.ก. กว้างได้ถึง 2.5 - 3 เมตร มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Himantura chaophraya เป็นปลากระเบนที่อยู่ในวงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) ซึ่งเป็นปลากระเบนชนิดที่มีหางเรียวยาวเหมือนแส้ (Whiptail StingRay) ได้ชื่อว่า " ราหู " เนื่องจากขนาดลำตัวที่ใหญ่เหมือนราหูอมจันทร์ตามคติของคนโบราณ มีลักษณะส่วนปลายหัวแหลม ขอบด้านหน้ามนกลมคล้ายใบโพ ลักษณะตัวเกือบเป็นรูปกลม ส่วนหางยาวไม่มีริ้วหนัง มีเงี่ยงแหลมที่โคนหาง 2 ชิ้น ที่เมื่อหักไปแล้วสามารถงอกขึ้นได้ กลางหลังมีเกล็ดเป็นตุ่มหยาบ ๆ ด้านบนของปีกและตัวเป็นสีเทาหรือน้ำตาลนวล หางสีคล้ำ ด้านล่างของตัวมีสีขาวนวล ที่ขอบปีกด้านล่างเป็นด่างสีดำ อาศัยในแม่น้ำสายใหญ่ ๆ จนถึงบริเวณใกล้ปากแม่น้ำ พบครั้งแรกในแม่น้ำเจ้าพระยา จึงถูกตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific Name) ว่า " เจ้าพระยา " และยังพบในแม่น้ำสายอื่น ๆ เช่น แม่น้ำแม่กลอง บางปะกง แม่น้ำโขง บอร์เนียว นิวกินี จนถึงออสเตรเลียตอนเหนือ
กระเบนราหู ถูกอนุกรมวิธาน (Taxonomy) ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1990 (พ.ศ.2533) โดย ศ.ดร.สุภาพ มงคลประสิทธิ์ อดีตคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ ดร.ไทสัน โรเบิร์ต แห่งสถาบันกองทุนสัตว์ป่าโลก WWF
กระเบนราหูมักถูกพบจับขึ้นมาชำแหละขายเสมอในจังหวัดริมแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ชัยนาทจนถึงอยุธยา และปากแม่น้ำแม่กลอง ตามที่ปรากฎเป็นข่าวบ่อย ๆ ตามหน้าสื่อหนังสือพิมพ์
จัดเป็นปลาน้ำจืดไทยอีกชนิดหนึ่งที่ใกล้จะสูญพันธุ์