โอภาส อรุณินท์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โอภาส อรุณินท์ (เกิด 9 เมษายน พ.ศ. 2477 ที่กรุงเทพมหานคร) อดีตประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีชื่อเสียงมากในช่วงที่พิจารณาบัญชีทรัพย์สินของนักการเมือง โดยเฉพาะกรณีที่ ป.ป.ช. ขอให้วินิจฉัยชี้ขาดตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 295 กรณีพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร จงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบ ด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ
นายโอภาสเป็นบุตรของนายเอี่ยม (อดีตข้าราชการตุลาการบำนาญ) และนางผ่อง อรุณินท์ สมรสกับทันตแพทย์หญิงยิ่งกมล อรุณินท์ (วัฒนสินธุ์) มีบุตร 2 คน คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อริยา อรุณินท์ และนาย ภาส์กร อรุณินท์ (ถึงแก่กรรม)
สารบัญ |
[แก้] การศึกษา
เนื่องจากชีวิตในวัยเด็กได้ย้ายตามบิดาที่เป็นผู้พิพากษา ไปประจำในต่างจังหวัด ทำให้ต้องย้ายสถานที่ศึกษาไปตามจังหวัดต่างๆ นั้นด้วย เริ่มชีวิตในวัยเด็ก มีภูมิลำเนาที่กรุงเทพฯ เข้าเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนประสาทศิลป์ จังหวัดชลบุรี, โรงเรียนปราจีนราษฎร์บำรุง จังหวัดปราจีนบุรี, แล้วกลับมาพำนักที่กรุงเทพฯ อีกครั้ง โดยศึกษาที่โรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนคร ต่อด้วยประโยคเตรียมอุดมศึกษาแผนกอักษรศาสตร์ จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จบนิติศาสตรบัณฑิต (รุ่น 3) ขณะที่ทำงานเป็นเสมียนศาลอาญา ต่อมาสอบได้เนติบัณฑิต (สมัยที่ 7) จากสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
[แก้] ประวัติการทำงาน
เริ่มงานครั้งแรกเป็นเสมียนศาลอาญา กระทรวงยุติธรรม เมื่อ พ.ศ. 2496 ต่อมาโอนรับราชการกรมอัยการ (ปัจจุบันคือ สำนักงานอัยการสูงสุด) ในตำแหน่งดังต่อไปนี้
- อัยการผู้ช่วยกองคดี พ.ศ. 2502
- อัยการผู้ช่วยประจำศาลจังหวัดแม่สอด พ.ศ. 2503
- อัยการผู้ช่วยจังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ. 2505
- อัยการผู้ช่วยจังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. 2511
- อัยการประจำกองที่ปรึกษา พ.ศ. 2514
- อัยการประจำกรม กองที่ปรึกษา พ.ศ. 2517
- อัยการพิเศษประจำกรม กองที่ปรึกษา พ.ศ. 2520
- หัวหน้าพนักงานอัยการ กองที่ปรึกษา พ.ศ. 2524
- ผู้ช่วยอัยการพิเศษฝ่ายปรึกษา พ.ศ. 2525
- อัยการพิเศษฝ่ายฎีกา พ.ศ. 2527
- อัยการพิเศษฝ่ายคดีธนบุรี พ.ศ. 2529
- อัยการพิเศษฝ่ายปรึกษา 1 ม.ค. 2530
- รองอัยการสูงสุดฝ่ายบริหาร ปลาย พ.ศ. 2530 (ระหว่างนั้นได้ดำรงตำแหน่งกรรมการในคณะกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย)
- อัยการสูงสุด 1 ต.ค. 2536 - เกษียณอายุ เมื่อ 30 ก.ย. 2537
หลังเกษียณอายุได้เข้าเป็นกรรมการร่างกฎหมายกฤษฎีกา และเป็นหนึ่งในประธานฯ/กรรมการ ป.ป.ป.ในสมัยรัฐบาล "บรรหาร" (22 ส.ค. 2538), ตุลาการรัฐธรรมนูญผู้ทรงคุณวุฒิ โดยสภาแต่งตั้ง (พ.ศ. 2539) จนลาออกจากประธาน ป.ป.ป. (23 มี.ค. 2542) เพื่อดำรงตำแหน่งประธานคนแรกของ ป.ป.ช. ซึ่งเป็นองค์กรอิสระตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 (1 เม.ย. 2542 - ครบวาระ 24 ต.ค. 2546) มีผลงานหลายผลงาน โดยเฉพาะการร่างกฎระเบียบที่เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในระบบราชการ และผลงานที่สำคัญของกรรมการในชุดแรกนี้ คือ
- กรณี พล.ต. สนั่น ขจรประศาสน์ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ในคดีเงินกู้ 45 ล้านบาท ผลตัดสินคือ พล.ต. สนั่น มีความผิด ทำให้หมดสิทธิ์เล่นการเมืองถึง 5 ปี
- กรณี พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทย กรณีแจ้งบัญชีทรัพย์สินหนี้สินเป็นเท็จ
[แก้] ผลงานด้านอื่น ๆ
ผลงานด้านอื่น ๆ ตลอดชีวิตราชการ ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการร่างกฎหมาย ตรวจสอบสัญญาของรัฐ นอกจากนี้นายโอภาสยังเป็นกรรมการของรัฐดังต่อไปนี้
- กรรมการดำเนินงานโครงการก่อสร้างสะพานพระพุทธยอดฟ้า (ใหม่)
- กรรมการพิจารณาบำเหน็จความชอบกรณีพิเศษ กระทรวงมหาดไทย
- กรรมการพิจารเนรเทศ พ.ศ. 2522
- อนุกรรมการฝ่ายสืบสวนสอบสวน ป.ป.ป. พ.ศ. 2524
- อนุกรรมการฝ่ายมาตรการป้องกันและวางแผนสำนักงาน ป.ป.ป.
- กรรมการเนติบัณฑิตยสภาและกรรมการอำนวยการสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา พ.ศ. 2527
- กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒ พ.ศ. 2528
- กรรมการในคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุที่ปรึกษากฎหมายกรมวิเทศสหการ
- กรรมการบริหารการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2530
- กรรมการบริหารบริษัทเดินอากาศไทย จำกัด พ.ศ. 2531 และผู้ชำระบัญชี บริษัทเดินอากาศไทย จำกัด
- วิทยากรในการฝึกอบรมผู้พิพากษาหลักสูตร "ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล 2532" พ.ศ. 2532
- กรรมการพัฒนากำลังคนกระทรวงมหาดไทย
- กรรมการบริษัทการบินไทย จำกัด
- กรรมการในคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
- คณะกรรมการกฤษฎีกา
- ตุลาการรัฐธรรมนูญโดยตำแหน่ง (พ.ศ. 2536-2537)
- เลขาธิการเนติบัณฑิตยสภา
[แก้] เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ประถมาภรณ์มงกุฎไทย พ.ศ. 2526
- ประถมาภรณ์ช้างเผือก พ.ศ. 2529
- มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก