จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
เหตุการณ์สำคัญในประเทศไทยในช่วง พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล (รัชการที่ ๘) ทรงครองราชย์
[แก้] พ.ศ. ๒๔๗๗
พ.ศ. ๒๔๗๗
[แก้] พ.ศ. ๒๔๗๘
พ.ศ. ๒๔๗๘
- ตราพระราชบัญญัติประถมศึกษา
- กำเนิดโรงเรียนเทศบาล
- ให้ข้าราชการแต่งกายแบบสากล
- เริ่มทดลองปลูกยาสูบพันธุ์เวอร์ยิเนียทางภาคเหนือ เช่นที่เพชรบูรณ์
[แก้] พ.ศ. ๒๔๗๙
พ.ศ. ๒๔๗๙
- ประกาศใช้แผนการศึกษาแห่งชาติ
- เริ่มโครงการก่อสร้างทางหลวง ๕ ปีแรก
- เกิดกบฏนายสิบ เมื่อเดือนสิงหาคม ๒๔๗๙ แต่ถูกจับเสียก่อน มีการยิงเป้าครั้งแรกที่ป้อมพระจุลจอมเกล้าแทนการตัดคอ ที่เหลือถูกจองจำที่เรือนจำบางขวาง (สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๒)
- เปิดถนน กรุงเทพ - สมุทรปราการ เมื่อ ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๙ (ปัจจุบันคือถนนสุขุมวิท ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๓)
- เปิดถนนกรุงเทพ - ดอนเมือง (ปัจจุบันคือ ถนนพหลโยธิน ตั้งแต่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๙)
- กรมรถไฟซื้อกิจการ บริษัทรถไฟปากน้ำจำกัด ในราคา ๓๕๐,๐๐๐ บาท เมื่อ เมื่อ ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๙
- ซื้อรถจักรกาแรตต์ อีก ๒ คันสำหรับทางช่วงแก่งคอย - ปากช่อง
- รับรถจักรล้อมิกาโด้ ๘ คัน จากญี่ปุ่น
- ตั้งกรมยุวชนทหารเมื่อ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๙
- พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพยอาภา เสด็จเปิดอนุสาวรีย์ปราบกบฏบวรเดช ที่บางเขน เมื่อ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
[แก้] พ.ศ. ๒๔๘๐
พ.ศ. ๒๔๘๐
- เริ่มแก้ไขสนธิสัญญากับนานาประเทศครั้งใหม่ซึ่งสำเร็จเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๑
- ยกระดับกรมทหารอากาศเป็นกองทัพอากาศเมื่อ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๐
- เริ่มให้มีการอุดหนุนโรงเรียนราษฎร์
- เปิดใช้โทรศัพท์ติดต่อเองอัตโนมัติเมื่อ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๐ มีชุมสายวัดเลียบ ๒,๓๐๐ เลขหมาย ชุมสายบางรัก ๑,๒๐๐ เลขหมาย รวมเป็น ๓,๕๐๐ เลขหมาย
- สร้างกรีฑาสถานแห่งชาติสำเร็จเฟสแรก พ.ศ. ๒๔๘๓
- ออกเหรียญครึ่งสตางค์ทองแดง จากโรงกษาปน์โอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น
- เวนคืนที่ตั้งสถานีเกษตรกลาง ถนนกรุงเทพ - ดอนเมือง (ปัจจุบันคือสถานีเกษตรกลางบางเขนภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
[แก้] พ.ศ. ๒๔๘๑
พ.ศ. ๒๔๘๑
- ตราพระราชบัญญัติคุ้มครองและสงวนป่า
- เปิดสวนสัตว์ดุสิต
- ในหลวงอานันนทมหิดลเสด็จนิวัติพระนคร
- สร้างท่าเรือกรุงเทพ คลองเตย สำเร็จเฟสแรก พ.ศ. ๒๔๘๕ สำเร็จสมบูรณ์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๔
- พันเอกหลวงพิบูลสงคราม ได้เป็นนายกรัฐมนตรีแทน พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) เมื่อ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ หลังจากที่ พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนายุบสภา
- มีการปราบปรามทางการเมืองขนานใหญ่ มีการสั่งยิงเป้า นักโทษการเมือง ๑๘ คน ที่เหลือถูกส่งไปนิคมตะรุเตา และ เกาะเต่าพร้อมกับบรรดากบฏนายสิบ และ กบฏบวรเดช
- ยุบโรงเรียนรบของพันเอกพระยาทรงสุรเดชที่เชียงใหม่ (ในค่ายกาวิละ ในปัจจุบัน) พร้อมปลดพันเอกพระยาทรงสุรเดชออกจากตำแหน่งเนรเทศไปเมืองเขมร
- เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ถึงแก่อสัญกรรม ด้วยโรคปอดบวม ที่ บ้านศาลาแดง (ปัจจุบันคือโรงแรมดุสิตธานี) เมื่อ วันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ หลังจากที่ต้องตรากตรำงานรับเสด็จฯในหลวงอานันนทมหิดล ที่พระตำหนักสวนจิตรลดาถึงขั้นยอมนอนตากน้ำค้างทั้งๆที่มีอายุมากแล้ว --- มีการลดธงครึ่งเสา ๗ วัน
[แก้] พ.ศ. ๒๔๘๒
พ.ศ. ๒๔๘๒
- ประกาศใช้ประมวลรัษฎากรฉบับแรก
- เปลี่ยนชื่อประเทศจาก "สยาม" เป็น "ไทย" เมื่อ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒
- จัดตั้งธนาคารชาติ เมื่อ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒
- ตราพระราชบัญญัติการทำสวนครัว
- ตั้งบริษัทไทยเดินเรือทะเล และบริษัทประมงไทย
- จัดตั้งกรมนาวิกโยธิน โดยการรวมกองพันนาวิกโยธิน 2 กองพันเข้าด้วยกัน เมื่อ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๒
[แก้] พ.ศ. ๒๔๘๓
พ.ศ. ๒๔๘๓
[แก้] พ.ศ. ๒๔๘๔
พ.ศ. ๒๔๘๔
- เริ่มใช้วันที่ ๑ มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่
- เริ่มจัดการศึกษาผู้ใหญ่
- เปิดทางรถไฟต่อขยายจากขอนแก่นไปอุดรธานี - ในวันชาติปี 2484 (24 มิถุนายน 2484)
- เปิดทางรถไฟคู่ ไปถึงบ้านภาชี - ในวันชาติปี 2484 (24 มิถุนายน 2484)
- ญี่ปุ่นส่งกำลัง ๕ กองพล เข้าประเทศไทย เมื่อ ๘ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๘๔
- ทำสัญญาร่วมรบกับญี่ปุ่น
- สงครามมหาเอเชียบูรพา
- เกิด "เสรีไทย" เพื่อต่อต้านญี่ปุ่น
[แก้] พ.ศ. ๒๔๘๕
พ.ศ. ๒๔๘๕
- ประกาศสงครามอังกฤษและสหรัฐอเมริกา เมื่อ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- ห้ามนุ่งโจงกระเบน
- เลิกใช้บรรดาศักดิ์
- ตราพระราชบัญญัติ ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยยกระดับ ธนาคารชาติไทยเป็นธนาคารแห่งประเทศไทยเต็มตัว เพื่อป้องกันไม่ให้กองทัพญี่ปุ่นเข้าแทรกแซงทางการเงิน
- เลิกรถไฟสายท่าเรือ โดยขายรางและรถจักรให้ บริษัทส่งเสริมอุตสาหกรมไทยจำกัด (โรงงานน้ำตาลวังกะพี้) เมื่อ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- เลิกรถไฟสายบางบัวทอง โดยขายรางและรถจักรให้ บริษัทส่งเสริมอุตสาหกรมไทยจำกัด (โรงงานน้ำตาลวังกะพี้)เมื่อ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- เปิดอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เมื่อ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๕ เป็นรูปดาบปลายปืน ๕ เล่ม สูง ๕๐เมตร พุ่งเสียบฟ้า พร้อมรูปทองแดงแสดงทหาร ตำรวจ พลเรือนที่ร่วมรบในสงครามอินโดจีน - มีตำนานกล่าวว่า ใครจะได้มีชื่อจารึกในอนุสาวรีย์ชัยฯ ก่อน ขณะกำลังรบในสมรภูมิ
- ประกาศใช้พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ
- ปรับปรุงการใช้ภาษาไทย (ในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม) (ยุคอักขระวิบัติ)
- ตั้งมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบัน)
- กรมพระยาดำรงราชานุภาพพร้อมครอบครัว เสด็จกลับเมืองไทยหลังจากที่ลี้ภัยที่ปีนังแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๖
[แก้] พ.ศ. ๒๔๘๖
พ.ศ. ๒๔๘๖
- ตั้งกระทรวงอุตสาหกรรม
- ตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๖ โดยการรวมโรงเรียนป่าไม้, โรงเรียนประมง และ โรงเรียนเกษตรกรรมที่บางเขนและแม่โจ้ เข้าด้วยกัน
- ตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร โดยอาจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นอธิการบดีคนแรก
- ออกพันธบัตรทองคำเพื่อใช้ในภาวะสงคราม อายุการไถ่ถอน ๘ ปี
- ได้รับมอบดินแดนสหรัฐไทยเดิมและ ๔ รัฐมลายู จากกองทัพญี่ปุ่น
- กรมพระยาดำรงราชานุภาพสิ้นพระชนม์ ณ วังวรดิศ เมื่อ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๖
- กองทัพสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดถล่มย่าน ๔ ส (สุรวงศ์, สีลม, สาทร, สามย่าน) เมื่อ กลางดึก คืนวันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๖ ซึ่งมีการส่งพลุหลายพันแรงเทียนลงไปล่วงหน้าก่อนการปูพรมด้วยระเปิด ซึ่งทำลายโรงพิมพ์ประมวญวันของ สมเด็จฯกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (น.ม.ส.) พินาศ
[แก้] พ.ศ. ๒๔๘๗
พ.ศ. ๒๔๘๗
- ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๗ เครื่องบิน บี 29 จำนวน ๗๗ ลำ จากอินเดีย ถล่มกรุงเทพ ในวันวิสาขบูชา ตอนเที่ยงวันทำลายโรงพยาบาลบ้านหม้อของญี่ปุ่น, โรงงานมักกะสันของกรมรถไฟ และอื่นๆ อีกมากมาย
- จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ลาออกเพราะแพ้เสียงในสภาเรื่องเทศบาลนครเพชรบูรณ์และ พุทธบุรีมณฑล รัฐสภาได้เลือก นาย ควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรีแทน
- พันเอกพระยาทรงสุรเดช ถูกวางยาสั่งเสียชีวิต ที่กรุงพนมเปญ แคว้นกัมพูชาในอินโดจีนฝรั่งเศส
- งานนิพนธ์ชิ้นสุดท้าย ของ น.ม.ส. (กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ - นามเดิม พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส - พระบิดาของหม่อมเจ้าวิภาวดี รังสิต) เรื่อง สามกรุง สำเร็จบริบูรณ์ทั้งที่ น.ม.ส. ตามืดแล้ว
[แก้] พ.ศ. ๒๔๘๘
พ.ศ. ๒๔๘๘
- ประกาศใช้พระราชบัญญัติครู ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๘
- เลิกใช้ธนบัตรชนิดราคา ๑,๐๐๐ บาท เมื่อ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๘ และเปลี่ยนเป็น พันธบัตรในภาวะคับขัน ดอกเบี้ยร้อยละ ๑ อายุไถ่ถอน ๑ ปี ส่วนรายที่ต้องการเงินสดให้หักออกไป 45 บาท/ฉบับ (คือ ธนบัตร 1000 บาท ที่เลิกใช้งานแลกธนบัตรย่อยได้แค่ 955 บาท) นโยบายแก้ไขภาวะเงินเฟ้อนี้เกือบทำให้รัฐบาลนายควง อภัยวงค์ต้องล้มกลางสภา
- เครื่องบิน B29 ของกองทัพอเมริกันถล่มสะพานพระราม 6 เมื่อ ๒ มกราคม ๒๔๘๘ แต่ไม่สำเร็จ
- เครื่องบิน B24 ของกองทัพอังกฤษถล่มสะพานพระราม 6 เมื่อ ๗ กุมภราพันธ์ ๒๔๘๘ - สะพานขาด
- โรงไฟฟ้าวัดเลียบและโรงไฟฟ้าสามเสนถูกเครื่องบินสัมพันธมิตรถล่มแหลก เมื่อ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๘
- สงครามโลกครั้งที่ ๒ ยุติ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๘
- ประกาศว่าการประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นโมฆะ โดยการประกาศสันติภาพ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๘
- เสด็จนิวัติพระนคร เมื่อ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๘
[แก้] พ.ศ. ๒๔๘๙
พ.ศ. ๒๔๘๙
- ทำสัญญาสมบูรณ์แบบกับอังกฤษ เมื่อ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๙ และคืนดินแดนสหรัฐไทยเดิม (รัฐฉานฝั่งตะวันออกแม่น้ำสาละวิน) และ ๔ รัฐมลายู เพื่อยุติสงครามกับอังกฤษ แม้กองทัพพายัพ (ทหาร ๕ กองพล) ยังติดอยู่ที่ เชียงตุง ทำให้ต้องเดินเท้าเปล่าจากเชียงตุงขึ้นรถไฟที่พิษณุโลก กลับที่ตั้ง มีทหารล้มตายจากมาลาเรียและอหิวาตกโรคเป็นจำนวนมาก กว่าจะรวบรวมอัฐิเพื่อประกอบพิธีบรรจุเข้าอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิก็ปี พ.ศ. ๒๔๙๐
- ทำสัญญาบริจาคข้าวสาร ๑.๕ ล้านตัน กับสหประชาชาติ ผ่านบริษัทข้าวไทยจำกัด ต่อมาได้ลดปริมาณการบริจาคลงเหลือ ๑.๒ ล้านตัน และ ต่อมาได้แก้สัญญาเป็นการขายข้าวสาร ๖ แสนให้สหประชาชาติในราคา ๑๑ ปอนด์ ๑๔ ชิลลิ่ง (๑๑ .๗๐ ปอนด์) ซึ่งต่ำกว่าราคาตลาดที่ย่างกุ้งซึ่งให้ราคาถึง ตันละ ๓๕ ปอนด์ทำให้เกิดการลักลอบนำข้าวไปขายตลาดมืดนอกประเทศขึ้นถึงขั้นต้องปันส่วนข้าวกิน และ กองทัพเรือต้องใช้เรือรบในการไล่ล่าพ่อค้าข้าวในตลาดมืดที่ลักลอบขนข้าวจากฝั่งไทยออกน่านน้ำสากล
- เงินเฟ้อรุนแรง แต่ก่อน (พ.ศ. ๒๔๘๑) ๑ ปอนด์ แลกได้ ๑๑ บาท พอหลังสงคราม (พ.ศ. ๒๔๘๘-๘๙) ๑ ปอนด์ แลกได้ถึง ๓๕ บาท ในตลาดสว่าง (อัตรารัฐบาล) แต่ ๑ ปอนด์ แลกได้ ๖๐-๑๐๐ บาทในอัตราตลาดมืด ทำให้รัฐบาลต้องบังคับให้พ่อค้าข้าว, ยางพารา, ดีบุก และ ไม้สัก ให้ขายเงินตราต่างประเทศที่ได้จากการขายสินค้าทั้ง ๔ ให้ในอัตรารัฐบาล เพื่อนำเงินตราต่างประเทศไปซื้อยารักษาโรค, เวชภัณฑ์, น้ำมัน, หัวรถจักร และ รถตู้ใหญ่ ตามความจำเป็นเร่งด่วน
- การสวนสนามแสดงแสนยานุภาพเสรีไทย ที่ถนนราชดำเนิน เมื่อ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๙ โดยมีในหลวงอานันทมหิดลและพลเอกลอร์ดหลุยส์เมาท์แบตเทน (ผู้บัญชาการ กองกำลังสัมพันธมิตรฝ่ายอังกฤษ) ตรวจพลสวนสนาม
- เสด็จสำเพ็ง เพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างคนไทย และ คนจีน เมื่อ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙
- หว่านพันธุ์ข้าวที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตบางเขน - เป็นพระราชกรณียกิจสุดท้าย - เมื่อ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙
[แก้] อ้างอิง
[แก้] ดูเพิ่ม
ข้อมูลเกี่ยวกับ เหตุการณ์สำคัญในรัชกาลที่ 8 ในภาษาอื่น สามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ๆ ด้านซ้ายมือ