เป่ายิ้งฉุบ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สัญลักษณ์มือง่าย ๆ ในการเล่นเป่ายิ้งฉุบ (จากซ้ายไปขวา: ค้อน, กระดาษ และกรรไกร) |
เป่ายิ้งฉุบ (อาจเขียน เป่ายิงฉุบ หรือ เป่า ยิง ฉุบ) เป็นการละเล่นอย่างหนึ่งที่นิยมกันมากในหมู่เด็กๆ หลายชาติหลายภาษาทั่วโลก อาศัยเพียงเสี่ยงมือระหว่างผู้เล่นสองฝ่าย เพื่อเอาชนะกัน การเสี่ยงมือทำได้ 3 แบบ คือ ค้อน (กำมือ), กระดาษ (แบมือ) และกรรไกร (ยื่นเฉพาะนิ้วชี้และนิ้วกลาง)
[แก้] กติกาการเล่น
- ค้อน : ชนะกรรไกร แต่แพ้กระดาษ
- กระดาษ : ชนะค้อน แต่แพ้กรรไกร
- กรรไกร : ชนะกระดาษ แต่แพ้ค้อน
การเล่น ผู้เล่นทั้งสองจะหันหน้าเข้าหากัน ไพล่มือที่จะเสี่ยงไว้ด้านหลัง เมื่อนับ "เป่า ยิ้ง" จะเตรียมเสี่ยงมือเอาไว้ ว่าจะออกเป็น ค้อน กระดาษ หรือกรรไกร เมื่อพูด "ฉุบ" ทั้งสองจะออกมือมาพร้อมกัน และจะรู้ทันทีว่าใครแพ้ หรือชนะ
ถ้าเสี่ยงมือออกมาเหมือนกัน ถือว่า "เสมอ" ต้องเล่นใหม่ จนกว่าจะรู้แพ้ชนะ
[แก้] เคล็ดลับและเทคนิค
แม้จะไม่เป็นที่ยืนยันแน่นอน แต่ก็มีเคล็ดลับบางประการในการเล่นเป่ายิ้งฉุบที่ถือว่า"รู้ไวไม่เสียหลาย"ดังนี้
1.การเล่นเป่ายิ้งฉุบนั่นเริ่มต้นด้วยการกำมือ และแบเปลี่ยนเป็นรูปร่างต่างๆเมื่อกล่าวคำว่า"ฉุบ" ตามหลักจิตวิทยาแล้ว ผู้เล่นส่วนมากมักจะออก"กรรไกร" หรือ "กระดาษ" ในตาแรก (เนื่องจากการออก"ค้อน" นั้นยังคงสภาพกำมือไว้แบบเดิม ตามความรู้สึกแล้วผู้เล่นจึงมักจะไม่ออกค้อนในตาแรก) ฉะนั้น หากในตาแรกออก "กรรไกร" ไว้ก่อน เมื่อปะทะกับกรรไกรหรือกระดาษของฝ่ายตรงข้าม ก็จะมีโอกาสชนะหรือเสมอมากกว่าแพ้
2.ในตาที่สอง ให้ออกสัญลักษณ์ที่ฝ่ายตรงข้ามออกไว้ในตาที่แล้ว (เช่นฝ่ายตรงข้ามออก "กรรไกร" ก็ให้ออก "กรรไกร" ตามในตาถัดไป) จะมีโอกาสชนะมากกว่า
3.ในการเล่นบางครั้งก็มีการออกสัญลักษณ์พิเศษที่เรียกว่า "ค้อนกรรดาษ" คือการเหยียดนิ้วโป้ง ชี้ และกลางออกไป ส่วนสองนิ้วที่เหลือกำไว้ เหมือนกับการออกค้อน กรรไกร และกระดาษพร้อมกัน ถือว่าชนะทุกอย่าง สัญลักษณ์นี้เป็นเพียงการล้อเล่นเพื่อความบันเทิงเท่านั้น ไม่ใช่กติกาที่ใช้จริง
เป่ายิ้งฉุบ เป็นบทความเกี่ยวกับ เกม การละเล่น ของเล่น หรือ ตุ๊กตา ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น |