เกมเล่นตามบทละคร
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เกมเล่นตามบทละคร หรือ อาร์พีจี (Role-playing game : RPG)(อ่านว่าโรลเพลย์อิงเกม) คือการละเล่นชนิดหนึ่ง ที่ผู้เล่นรับบทเป็นตัวละครหนึ่งในเกม โดยเล่นตามกฏกติกาของเกมผ่านการป้อนคำสั่งและเลือกเงื่อนไขที่เกมกำหนดมา โดยผลลัพธ์ที่เกิดจะแตกต่างกัน ตามเงื่อนไขที่เลือก โดยเกมอาจจะเป็นทั้งลักษณะ การเล่นโดยเขียนในกระดาษ วีดีโอเกมหรือคอมพิวเตอร์เกมก็ได้
ในประเทศไทย นักเล่นเกมคอมพิวเตอร์บางส่วนเรียก เกมเล่นตามบทละครที่เล่นในคอมพิวเตอร์ หรือ วีดิโอเกมว่า เกมภาษา เนื่องจาก ผู้เล่นรู้สึกว่าเกมเล่นตามบทละครมีใช้การเลือกคำสั่ง ผ่านบทสนทนาของตัวละคร(ในช่วงแรกเป็นภาษาญี่ปุ่น) สำหรับการดำเนินเกม
ในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ ได้มีการกำหนดคำศัพท์ว่า คอมพิวเตอร์-โรลเพลย์อิงเกม หรือ ซีอาร์พีจี(computer role-playing game, CRPG) เพื่อแยกระหว่างเกมเล่นตามบทละครที่เล่นในวีดีโอเกมและคอมพิวเตอร์เกมกับเกมกระดานหรือ ทีทีอาร์พีจี (tabletop role-plaing game, TTRPG) และเกมเล่นตามบทละครที่เล่นใช้กระดาษและปากกาในการเขียน (pen and paper role-playing game, PPRPG)
ตัวอย่างเกมเล่นตามบทละคร ที่นิยม ได้แก่ ไฟนอลแฟนตาซี ดราก้อนเควสต์
สารบัญ |
[แก้] การดำเนินเรื่อง
ในอดีต เกมเล่นตามบทละคร ส่วนใหญ่ จะเป็นการดำเนินเรื่องแบบ เนื้อเรื่องเดียว (Single Ending) แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาด้าน การโต้ตอบระหว่างผู้เล่นเกม โดยให้ผู้เล่นมีการตัดสินใจในการดำเนินเรื่องมากขึ้น เช่น การเลือกตัวละครเกม, การตอบคำถามจิตวิทยา, การเลือกการกระทำ และ ระยะเวลาในการดำเนินเรื่อง เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลให้มีการดำเนินเรื่องแบบ หลายเนื้อเรื่อง (Multi Ending) โดยจะประเมินจาก กฎ และ แนวทาง ของเกมนั้น
เนื่องจากเนื้อเรื่องในเกมไม่ใช่ชีวิตจริง จินตนาการจึงมีบทบาทสูงในแนวทางการวางเนื้อเรื่อง ซึ่งจินตนาการนี้เป็นสิ่งสำคัญในการเชื่อมต่อตัวละครเกมกับผู้เล่นเข้าด้วยกัน ถ้าผู้เล่นไม่สามารถเข้าใจเนื้อเรื่อง หรือ ไม่มีจินตนาการในเนื้อเรื่องนั้นๆ อาจทำให้ความรู้สึกในการดำเนินเนื้อเรื่องไม่ราบรื่น หรือทำให้ความสนุกในการเล่นเกมลดลง
บทความนี้อาจต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายมุมมองที่เป็นกลาง ผู้ใช้วิกิพีเดียได้เสนอให้มีการตรวจสอบความเป็นกลางของบทความนี้ ในขณะนี้อาจไม่มีการคัดค้านที่ชัดเจน แต่เนื้อหาอาจต้องมีการพูดคุยเพื่อปรับปรุงที่ หน้าพูดคุย |
[แก้] เป้าหมายของเกม
เป้าหมายหลักเริ่มต้นของเกมเล่นตามบทละคร คือ การช่วยเหลือกัน โดยใช้จุดเด่นของแต่ละตัวละครเกมมาสนับสนุน และรวมกลุ่มกันเป็นกลุ่มเกม หรือ เกมปาร์ตี้ (Game Party) ทำให้ในกลุ่มมีความสามารถที่หลากหลาย และเป็นการเพิ่มสีสันในการดำเนินเรื่องให้มากขึ้น
[แก้] ประโยชน์
[แก้] ส่งเสริมจินตนาการ
การเข้าถึงเกมเกมเล่นตามบทละคร เป็นการจุดประกายจินตนาการ และสร้างสรรค์ความคิด ซึ่งหากได้รับการแนะนำที่ถูกต้อง เกมเล่นตามบทละคร จะเป็นสิ่งที่ใช้พัฒนาการวิวัฒนาการทางสมองของผู้เล่นได้ทุกผู้ทุกวัย ดังคำพูดของ เพลโตว่า "จินตนาการ สำคัญกว่าความรู้"
[แก้] ส่งเสริมความคิดเชิงขั้นตอนวิธี
การเล่นเกมเล่นตามบทละคร จะดำเนินเนื้อเรื่องเป็นขั้นเป็นตอน มีเหตุ มีผล ต่อเนื่องกัน มีความแยบยลในการวางเนื้อเรื่อง และทางแยกสำหรับการกระทำที่แตกต่างกันออกไป มีการคิดคำนวณในการแก้ปัญหา ซึ่งจะช่วยพัฒนาความคิดทางสมองที่เป็นระบบ และมีแบบแผนของผู้เล่นได้
[แก้] ส่งเสริมความสามัคคี
เกมเล่นตามบทละคร เป็นเกมที่ผู้เล่นเข้าสวมบทบาทใดบทบาทหนึ่ง ซึ่งตัวละครเกมต่างๆ มีความสามารถไม่เหมือนกัน โดยส่วนใหญ่ เริ่มต้นจะมีแต่ผู้เล่นคนเดียว แต่เมื่อดำเนินเนื้อเรื่องไป จะได้พบกับเพื่อนใหม่ ๆ ซึ่งจะมีความสามารถ และ ทักษะ ที่หลากหลายแตกต่างกันออกไป โดยผู้เล่นจะเป็นผู้เลือก และ ดำเนินการจัดการสร้างทีมของตนเอง ซึ่งประกอบไปด้วยหลาย ๆ ตัวละครเกม แล้วแต่ผู้เล่นจะคัดสรรว่า เกมปาร์ตี้ของตนเองจะเป็นเช่นไร แต่ละตัวละครจะมีหน้าที่ใดในทีม เช่น หน้าที่โจมตี หน้าที่ป้องกัน หน้าที่สนับสนุน หน้าที่รักษาเยียวยา เป็นต้น
ด้วยองค์ประกอบเหล่านี้ จะทำให้ผู้เล่นรู้ว่าการที่จะกระทำงานใด ๆ ที่ต้องมีความร่วมมือจากหลาย ๆ ฝ่าย และจะต้องมีการวางตำแหน่งหน้าที่ให้เหมาะสม มีการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี และมีความสมดุลในทีมของตนเอง จึงจะสามารถนำทีมไปสู่ความสำเร็จได้
[แก้] ส่งเสริมสามัญสำนึกในการอยู่ร่วมกัน
เนื้อเรื่องในเกมเล่นตามบทละคร ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับตัวละครเอกที่เราสวมบทบาท ซึ่งอาจเป็นถึง เจ้าชาย ผู้กล้า หรือแม้กระทั่ง ขอทาน แต่สิ่งที่จะซึมซับไปยังผู้เล่นคือ คุณงามความดี ความกล้าหาญ การให้ความสำคัญกับชีวิตทุกชีวิต ความหมายของคำว่าเพื่อน ความพยายาม ความอดทน ความเข้มแข็ง และอีกมากมายที่จะแฝงไปกับเนื้อเรื่อง ทำให้รับทราบถึงความสำคัญของสิ่งจำเป็นที่จะทำให้ เป็นคนดี และ เป็นที่ยอมรับของสังคม ซึ่งหากในวัยเด็ก จะทำให้สามัญสำนึกของเด็กเข็มแข็งขึ้น
[แก้] ส่งเสริมการเรียนรู้ภาษา
ในอดีตจนถึงปัจจุบัน การพัฒนาด้านเกมทุกแขนงของประเทศไทย ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ถือว่าน้อยมาก ทำให้เกมส่วนใหญ่ที่เข้ามาในเมืองไทย เป็นภาษาต่างประเทศ โดยเริ่มแรกในอดีต จะเป็นภาษาญี่ปุ่น และเริ่มมีภาษาอังกฤษเข้ามามากขึ้นในปัจจุบัน มีทั้งผู้ที่ต้องการเล่นเกมภาษาญี่ปุ่น และพยายามศึกษาภาษาญี่ปุ่นเพื่อเล่นเกมจนสามารถอ่านได้ หรือผู้ที่มีความอยากรู้ อยากเรียนภาษาเพิ่มเติม และปัจจุบัน เกมภาษาอังกฤษที่เข้ามา หากเยาวชนได้รับการแนะนำที่ถูกต้อง อาจจะเป็นการส่งเสริมความรู้ในด้านภาษาต่างประเทศควบคู่กันไป เช่น ผู้ปกครองหาเกมที่เนื้อเรื่องเหมาะสม ภาษาอังกฤษ และ แนบพจนานุกรม อังกฤษ-ไทย ไปด้วย พร้อมทั้งสอนการเล่น การจินตาการ และการใช้พจนานุกรม จะทำให้ได้รับประโยชน์มากว่าความสนุก