สตาร์ อัลไลแอนซ์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สตาร์ อัลไลแอนซ์ (Star Alliance) เป็น เครือข่ายพันธมิตรสายการบินขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ก่อตั้งเมื่อ14 พฤษภาคม 2540 (ค.ศ. 1997) ปัจจุบันมีสายการบินเข้าร่วมจำนวน 18 สายการบิน ซึ่งรวมถึงการบินไทย และกำลังจะเข้าร่วมเพิ่มอีก 3 สายการบินและสายการบินท้องถิ่นอีก 3 สายการบิน โดยจะมีความร่วมมือระหว่างสายการบินคือ
- สามารถนำแต้มสะสมที่ได้จากสายการบินในเครือข่ายไปสะสมหรือใช้แต้มกับรายการสะสมแต้มของสายการบินอื่นๆในเครือข่ายได้
- ผู้ใช้บริการในชั้นธุรกิจและชั้นหนึ่งของสายการบินในเครือข่ายสามารถใช้บริการห้องรับรองของสายการบินอื่นๆในเครือข่ายได้
- ผู้เดินทางเปลี่ยนเครื่องจะได้รับความสะดวกมากขึ้น สามารถใช้บัตรโดยสารใบเดียวตลอดเส้นทางได้
- มีการพัฒนาระบบสารสนเทศร่วมกัน
ปัจจุบันเครือข่ายมีการให้บริการเที่ยวบินวันละ 16,930 เที่ยวต่อวัน ในท่าอากาศยาน 842 แห่ง ใน 152 ประเทศ
สารบัญ |
[แก้] สายการบินที่เข้าร่วม
[แก้] สายการบินสมาชิก
- แอร์แคนาดา+ [1]
- แอร์นิวซีแลนด์ [2]
- ออล นิปปอน แอร์เวย์ (ANA) [3]
- เอเชียน่า [4]
- ออสเตรีย แอร์ไลน์ [5]
- บริติช มิดแลนด์ [6]
- ล็อต โปแลนด์ [7]
- ลุฟต์ฮันซา+ [8]
- สแกนดิเนเวียน แอร์ไลน์ ซิสเต็ม (SAS) + [9]
- สิงคโปร์แอร์ไลน์ [10]
- เซาต์แอฟริกันแอร์เวย์ [11]
- สแปนแอร์ [12]
- สวิส อินเตอร์เนชันแนล แอร์ไลน์ [13]
- แท็ป โปรตุเกส [14]
- การบินไทย+ [15]
- ยุไนเต็ดแอร์ไลน์+ [16]
- ยูเอสแอร์เวย์ [17]
- วาิริค [18]
หมายเหตุ +: สายการบินผู้ร่วมก่อตั้ง
[แก้] สายการบินท้องถิ่นที่เข้าร่วม
[แก้] สมาชิกในอดีต
- แอนเซตต์ ออสเตรเลีย — ล้มละลายในปี 2544 (ค.ศ. 2001)
- เม็กซิกานา — ลาออกจากเครือข่ายพันธมิตรสายการบินเนื่องจากมีปัญหาเกี่ยวกับการใช้เที่ยวบินร่วมกับยูไนเต็ดแอร์ไลน์
[แก้] สมาชิกในอนาคต
[แก้] ดูเพิ่ม
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
สตาร์ อัลไลแอนซ์ เป็นบทความเกี่ยวกับ บริษัท ห้างหุ้นส่วน หรือองค์กร ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น |