ศาลฎีกา
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศาลฎีกา คือ ศาลสูงสุดซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาบรรดาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาค ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการฎีกา นอกจากนี้ ยังมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดคดีที่ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้ตามกฎหมายอื่น
องค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีประกอบด้วยผู้พิพากษาอย่างน้อย 3 คน แต่หากคดีใดมีปัญหาสำคัญ ประธานศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้นำปัญหาดังกล่าวเข้าสู่การวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ซึ่งประกอบด้วยผู้พิพากษาศาลฎีกาทุกคนซึ่งอยู่ปฏิบัติหน้าที่ในวันที่มีการจัดประชุมใหญ่ แต่ทั้งนี้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้พิพากษาศาลฎีกาทั้งหมด
ศาลฎีกามีแผนกคดีพิเศษทั้งสิ้น 9 แผนก เพื่อวินิจฉัยชี้ขาดคดีที่อาศัยความชำนาญพิเศษ มีผู้พิพากษาศาลฎีกาประจำแผนก ๆ ละ ประมาณ 10 คน ได้แก่
- แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว
- แผนกคดีแรงงาน
- แผนกคดีภาษีอากร
- แผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ
- แผนกคดีล้มละลาย
- แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
- แผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจ
- แผนกคดีสิ่งแวดล้อม
- แผนกคดีปกครอง
อาคารศาลฎีกา ตั้งอยู่เลขที่ 6 ถนนราชดำเนินใน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
[แก้] แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา เป็นแผนกที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เพื่อพิจารณาพิพากษาคดีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้แก่ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือข้าราชการการเมืองอื่นซึ่งถูกกล่าวหาว่าร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่น รวมทั้งกรณีบุคคลอื่นที่เป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุนด้วย
องค์คณะผู้พิพากษาในแผนกนี้ประกอบด้วย ผู้พิพากษาศาลฎีกาจำนวน 9 คน ที่คัดเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ขึ้นนั่งพิจารณาคดีเช่นเดียวกับศาลชั้นต้น แต่การพิจารณาคดีจะเป็นระบบไต่สวน ซึ่งแตกต่างจากวิธีพิจารณาที่ใช้ในคดีทั่วไป ศาลมีอำนาจไต่สวนหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควร ตามวิธีพิจารณาคดีที่บัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2542
[แก้] รายนามประธานศาลฎีกา
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคัคณางคยุคล กรมหลวงพิชิตปรีชากร (พ.ศ. 2428)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีสิทธิธงไชย กรมขุนสิริธัชสังกาศ (พ.ศ. 2432)
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ (พ.ศ. 2455 - 31 ส.ค. 2461)
- พระมหาเสวกโท พระยาจักรปาณีศรีศิลวิสุทธิ์ (31 ส.ค. 2461 - 11 ธ.ค. 2462)
- มหาอำมาตย์โท พระยากฤติกานุกรณ์กิจ (11 ธ.ค. 2462 - 6 พ.ค. 2469)
- มหาอำมาตย์โท พระยาจินดาภิรมย์ราชสภาบดี (จิตร ณ สงขลา) ( 6 พ.ค. 2469 - 15 ธ.ค. 2471)
- มหาอำมาตย์โท พระยาเทพวิทุร พหุลศรุตาบดี (15 ธ.ค. 2471 – 2476)
- พระยาศรีสังกร(ตาด จารุรัตน์) (1 ม.ค. 2476 - 1 เม.ย. 2477)
- พระยาวิกรมรัตนสุภาษ (1 เม.ย. 2477 - พ.ค. 2483)
- พระยาลัดพลีธรรมประคัลภ์(วงษ์ ลัดพลี) (17 ม.ค. 2484 - 2495)
- พระยามนูเวทย์วิมลนาท(มนูเวทน์ สุมาวงศ์) (28 ส.ค. 2496 - 4 มิ.ย. 2501)
- พระยาธรรมบัณฑิตสิทธิศฤงคาร (บุญจ๋วน บุญยะปานะ) (15 ก.ค. 2501 - 11 พ.ย. 2501)
- พระยาจำรูญเนติศาสตร์ (จำรุญ โปษยานนท์) (1 เม.ย. 2502 - 1 ต.ค. 2505)
- นายประวัติ ปัตตพงศ์ (15 ต.ค. 2504 - 1 ต.ค. 2506)
- นายสัญญา ธรรมศักดิ์ (1 ต.ค. 2506 - 1 ต.ค. 2510)
- นายประกอบ หุตะสิงห์ (1 ต.ค. 2510 - 1 ต.ค. 2515)
- นายทองคำ จารุเหติ (15 ต.ค. 2515 - 15 มี.ค. 2516)
- นายจินดา บุณยอาคม (1 เม.ย. 2516 - 1 ต.ค. 2517)
- นายสุธรรม ภัทราคม (1 ต.ค. 2517 - 1 ต.ค. 2520)
- นายวิกรม เมาลานนท์ (1 ต.ค. 2520 - 1 ต.ค. 2521)
- ประพจน์ ถิระวัฒน์ (1 ต.ค. 2521 - 30 ก.ย. 2523)
- นายบัญญัติ สุชีวะ (1 ต.ค. 2523 - 30 ก.ย. 2527)
- นายภิญโญ ธีรนิติ (1 ต.ค. 2527 - 30 ก.ย. 2530)
- นายจำรัส เขมะจารุ (1 ต.ค. 2530 - 30 ก.ย. 2532)
- นายอำนัคฆ์ คล้ายสังข์ (1 ต.ค. 2532 - 30 ก.ย. 2533)
- นายโสภณ รัตนากร
- นายสวัสดิ์ โชติพานิช (1 ต.ค. 2534 - 30 ก.ย. 2535)
- นายประมาณ ชันซื่อ (1 ต.ค. 2535 - 30 ก.ย. 2539)
- นายศักดา โมกขมรรคกุล (1 ต.ค. 2539 - 30 ก.ย. 2540)
- นายปิ่นทิพย์ สุจริตกุล (1 ต.ค. 2540 - 30 ก.ย. 2541)
- นายจเร อำนวยวัฒนา (1 ต.ค. 2541 - 30 ก.ย. 2542)
- นายธวัชชัย พิทักษ์พล (1 ต.ค. 2542 - 30 ก.ย. 2543)
- นายสันติ ทักราล (1 ต.ค. 2543 - 30 ก.ย. 2544)
- นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ (1 ต.ค. 2544 - 30 ก.ย. 2546)
- นายศุภชัย ภู่งาม (1 ต.ค. 2546 - 30 ก.ย. 2547)
- นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ (1 ต.ค. 2547 – 30 ก.ย. 2549)
- นายปัญญา ถนอมรอด (1 ต.ค. 2549 - ปัจจุบัน)
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
ศาลฎีกา เป็นบทความเกี่ยวกับ การเมือง การปกครอง หรือ กฎหมาย ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น |