วิทยุสมัครเล่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิทยุสมัครเล่น เป็นงานอดิเรกหรือกิจกรรมยามว่างของผู้ที่สนใจเทคโนโลยีการสื่อสารด้วยคลื่นวิทยุ กิจกรรมวิทยุสมัครเล่นนี้เป็นกิจกรรมที่เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในหลายประเทศทั่วโลก
ความถี่วิทยุที่นักวิทยุสมัครเล่นสามารถใช้ได้มีอยู่หลายย่านความถี่เช่น ย่านความถี่สูง (HF) ย่านความถี่สูงมาก (VHF) เป็นต้น
การสื่อสารของนักวิทยุสมัครเล่นมีอยู่หลายรูปแบบ (Mode)เช่น การใช้รหัสมอร์ส (CW),การใช้เสียงพูดด้วยวิทยุคลื่นสั้นแบบแถบความถี่ข้างเดียว(HF, SSB), RTTY, Packet Radio, SSTV การใช้เสียงพูดด้วยวิทยุเอฟเอ็มความถี่สูงมาก (VHF, FM) เป็นต้น
วิธีการสื่อสารของนักวิทยุสมัครเล่นมีทั้งแบบการสื่อสารโดยตรงระหว่างสถานีแต่ละสถานี การสื่อสารผ่านดาวเทียม การสื่อสารแบบสะท้อนผิวดวงจันทร์ (EME) การสื่อสารผ่านสถานีทวนสัญญาณ (Repeater) เป็นต้น
นักวิทยุสมัครเล่นจะต้องมีสัญญาณเรียกขาน (Callsign) ประจำตัว เพื่อเป็นการระบุตัวตน (Identify) ของนักวิทยุสมัครเล่นแต่ละคน ซึ่งสัญญาณเรียกขานนี้กำหนดโดยหน่วยงานของรัฐบาล หรือหน่วยงานที่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลประเทศนั้นๆ ให้ดำเนินการแทน เช่น สมาคมวิทยุสมัครเล่นหลักของประเทศ
นักวิทยุสมัครเล่นสามารถใช้วิทยุสื่อสารได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อเป็นการศึกษาและทดลองความรู้ทางด้านเทคโนโลยีวิทยุสื่อสาร และยังนำไปการปรับปรุงและฝึกฝนตนเองให้พร้อมเสมอกับการติดต่อในสภาวะฉุกเฉิน ในทางปฏิบัติแล้ว กิจการวิทยุสมัครเล่นได้ถูกจัดให้เป็นข่ายสื่อสารสำรอง ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน เช่น ภัยธรรมชาติ และภัยจากน้ำมือมนุษย์ โดยจะทำงานเสริมหรือทดแทนข่ายสื่อสารหลักของทางราชการ
วิทยุสมัครเล่น เป็นบทความเกี่ยวกับ เทคโนโลยี หรือ สิ่งประดิษฐ์ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น |
วันนักวิทยุสมัครเล่นโลก วันที่ 18 เมษายน