วงศ์ปลากะแมะ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วงศ์ปลากะแมะ (ภาษาอังกฤษ Chacidae ) เป็นวงศ์ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง (Family) ในจำพวกปลาแมว เป็นปลาที่มีรูปร่างแปลกอย่างเห็นได้ชัด กล่าวคือ มีส่วนหัวที่แบนราบ ปากกว้าง ตาเล็ก ครีบหลังสั้น ครีบท้องใหญ่ ครีบก้นสั้นมีประมาณ 8 - 10 ครีบ ผิวหนังย่นและมีตุ่มขนาดต่าง ๆ เป็นติ่งหนังอยู่โดยรอบ โดยเฉพาะบริเวณปาก เพื่อหลอกล่อเหยื่อ ตัวมีสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลคล้ำ อาศัยอยู่ในน้ำที่มีค่าความเป็นด่างประมาณ 6.5 - 8.0 ในป่าพรุ พบตั้งแต่อินเดียจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โดยพฤติกรรมของปลาในวงศ์นี้ มักจะกบดานอยู่นิ่ง ๆ กับพื้น เพื่อซุ่มดักรออาหาร อันได้แก่ ลูกปลา ลูกกุ้งขนาดเล็ก มีทั้งหมด 1 สกุล (Genus) 3 ชนิด (Species) ได้แก่
- กะแมะอินเดีย (Chaca chaca) มีลำตัวที่ป้อมสั้นที่สุด มีผิวที่ขรุขระมากกว่าชนิดอื่น ๆ ปัจจุบัน สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม
- กะแมะ (Chaca bankanensis)
- กะแมะพม่า (Chaca burmensis) เป็นชนิดที่หายากที่สุด พบในป่าพรุในประเทศพม่าเท่านั้น
หมวดหมู่: วงศ์ปลากะแมะ | ปลา | ปลาไทย | ปลาน้ำจืด