กะแมะ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กะแมะ | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |||||||||||||||
|
|||||||||||||||
|
|||||||||||||||
Chaca bankanensis Bleeker, ค.ศ. 1852 |
|||||||||||||||
|
กะแมะ ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chaca bankanensis อยู่ในวงศ์ปลากะแมะ (Chacidae) มีรูปร่างประหลาด หัวแบนราบมากและปากกว้าง ครีบหลังและครีบอกสั้น ก้านครีบอกมีขอบหยัก ครีบท้องใหญ่ มีผิวย่นและเป็นตุ่มขนาดต่างๆ หัวมีติ่งหนังอยู่โดยรอบ ลำตัวสีน้ำตาลแดงเข้มหรือน้ำตาลไหม้ ท้องสีจาง มีประและจุดสีคล้ำกระจายทั่ว มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 20 ซ.ม.
มีพฤติกรรมอาศัยอยู่กองใบไม้ร่วง มักอยู่นิ่งเป็นเวลานานเพื่อรอจับปลาเล็ก ๆ โดยอาหารได้แก่ ปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็ก ในประเทศไทยปัจจุบันพบอาศัยอยู่ที่ป่าพรุโต๊ะแดง จ.นราธิวาสที่เดียวเท่านั้น สถานภาพเป็นปลาใกล้สูญพันธุ์ในธรรมชาติ (Endangered) เนื่องจากถิ่นที่อยู่ถูกทำลาย
ไม่บริโภคเป็นปลาเศรษฐกิจ แต่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะผู้ที่นิยมเลี้ยงปลาแปลก แต่เป็นชนิดที่เลี้ยงให้รอดยาก เนื่องจากปลามักปรับสภาพให้อยู่กับสิ่งแวดล้อมในที่เลี้ยงไม่ได้