รัฐฉาน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัฐฉาน |
|
เมืองหลวง | ตองยี |
ภูมิภาค | ภาคกลาง ภาคตะวันออก |
พื้นที่ | 155,800 ตารางกิโลเมตร |
ประชากร | 4,702,000 (พ.ศ. 2541) |
เชื้อสาย | ไทใหญ่, พม่า, จีน, กะฉิน, Danu, Intha, ปะหล่อง, ปะโอ, อินเดีย |
ศาสนา | พุทธ คริสต์ อิสลาม ฮินดู |
รัฐฉาน หรือ รัฐไทใหญ่ เป็นหนึ่งในรัฐของสหภาพพม่า
สารบัญ |
[แก้] สภาพภูมิศาสตร์
ลักษณะภูมิประเทศของรัฐฉานเต็มไปด้วยภูเขาสูงและผืนป่า รัฐฉานจึงเต็มไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่า สินค้าส่งออกที่สำคัญของรัฐฉานจึงเป็นจำพวกแร่ธาตุและไม้ชนิดต่างๆ
รัฐฉานมีตำแหน่งที่ตั้ง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดกับ รัฐกะฉิ่น ประเทศจีน
- ทิศใต้ ติดกับ รัฐกะยา จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย และ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประเทศไทย
- ทิศตะวันออก ติดกับ ประเทศลาว
- ทิศตะวันตก ติดกับ มณฑลสะกาย และ มณฑลมัณฑะเลย์
[แก้] ประวัติ
รัฐฉาน ในอดีตกาลมีชื่อเรียกว่า “ไต” หรือที่เรียกกันว่า เมืองไต มีประชากรหลายชนชาติและอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข โดยมีชนชาติไทยใหญ่อาศัยอยู่มากที่สุด เมืองไตเคยมีเอกราชในการปกครองตนเองมาเป็นเวลาหลายพันปี ก่อนที่อังกฤษจะขยายอิทธิพลเข้ามาถึง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเมืองไตกับพม่าในอดีตนั้นจัดเป็นอิสระต่อกัน หรือกล่าวได้ว่าเป็นคนละอาณาจักรกันเหมือนดั่งอาณาจักรอยุธยากับอาณาจักรเขมร
อาณาเขตของเมืองไตประกอบด้วยเมืองรวมทั้งหมด 33 เมืองแต่ละเมือง ปกครองด้วยระบบเจ้าฟ้าสืบต่อเนื่องกันมาตั้งแต่อดีต และถึงแม้จะมีเจ้าฟ้าปกครองหลายเมืองแต่ทุกเมืองก็รวมกันเป็นแผ่นดินชนชาติไตเนื่องมาจากที่ตั้งของเมืองไตอยู่ใกล้กับประเทศพม่า
เมืองไตกับประเทศพม่ามีการติดต่อค้าขายช่วยเหลือ และให้ความเคารพซึ่งกันและกันมาโดยตลอด เห็นได้จากในช่วงที่เจ้าฟ้าเมืองไตปกครองประเทศพม่าประมาณเกือบ 300 ปีไม่เคยมีการสู้รบกันเกิดขึ้นและยังมีการติดต่อค้าขายยังดำเนินไปอย่างสันติสุขเช่นกัน จนกระทั่งมาถึงสมัยบุเรงนองได้มีการสู้รบกันกับเจ้าฟ้าเมืองไตกับกษัตริย์พม่าเกิดขึ้น โดยฝ่ายเจ้าฟ้าเมืองไตเป็นฝ่ายพ่ายแพ้จึงทำให้ราชวงศ์เจ้าฟ้าบางเมือง ต้องจบสิ้นไปดังเช่นราชวงศ์เจ ้าฟ้าเมืองนายซึ่งเป็นราชวงศ์ของกษัตริย์มังราย นอกจากนี้ยังมีอีกหลายราชวงศ์ที่ต้องสูญสิ้น ไปเพราะการสู้รบกับบุเรงนอง
จนมาถึงในสมัยอลองพญา(พ.ศ. 2305–2428) ซึ่งเป็นสมัยที่อยุธยาตกเป็นเมืองขึ้นของพม่ากษัตริย์พม่าได้ทำการปราบปรามราชวงศ์ หรือผู้สืบเชื้อสายของเจ้าฟ้าไทยใหญ่จนหมดสิ้นไปเป็นจำนวนมาก อาจกล่าวได้ว่าไตได้เป็นเมืองขึ้นของพม่าไปแล้ว และในช่วงเวลานี้ทหารพม่าได้เริ่มการกดขี่ข่มเหงทำร้ายคนไตทำให้คนไตรู้สึกเกลียดชังคนพม่านับตั้งแต่นั้น พ.ศ.2428 อังกฤษได้ทำการจับกุมและยึดอำนาจกษัตริย์พม่า ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2428 และขยายอาณาเขต ไปยังเมืองเชียงตุงทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองไตในปีเป็นเมืองขึ้น พ.ศ.2433 และเพิ่งประกาศว่า"อังกฤษได้ยึดเอาเมืองไตเรียบร้อยแล้ว"
เนื่องจากประเทศพม่าซึ่งตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มและเมืองไต ซึ่งตั้งอยู่บริเวณเทือกเขาไม่ใช่ประเทศเดียวกันอังกฤษจึงไม่ได้ทำการเข้ายึดพร้อมกันและถึงแม้อังกฤษ จะยึดทั้งสองเมืองเป็นเมืองขึ้นของต้นแต่อังกฤษก็ไม่ได ้ปกครองทั้งสองเมืองในลักษณะเดียวกัน หากแบ่งการปกครองออกเป็นสองลักษณะคือประเทศพม่าเป็นเมืองใต้อาณานิคม ส่วนเมืองไตเป็นเมืองใต้การอารักขา
และอังกฤษยัง ได้ทำการจับกุมกษัตริย์พม่าและกำจัดราชวงศ์ทั้งหมดของกษัตริย์พม่า ส่วนเมืองไตอังกฤษไม่ได้ทำลายราชวงศ์เจ้าฟ้า อีกทั้งยังสนับสนุนให้เจ้าฟ้าแต่ละเมืองมีอำนาจปกครองบ้านเมืองของตนเอง และได้สถาปนาให้เมืองทั้งหมดเป็นสหพันธรัฐฉานขึ้นกับอังกฤษ มิได้เป็นส่วนหนึ่งของพม่าแต่อย่างใด
ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทางการพม่าพยายามโน้มน้าวเหล่าบรรดาเจ้าฟ้าไตให้เข้าร่วมเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ เจ้าฟ้าไตจึงได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญาปางโหลง เมื่อปี พ.ศ. 2490 กับชาวพม่าและกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ เพื่อขอเอกราชจากอังกฤษ โดยสัญญาดังกล่าวได้นำไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งระบุให้ชนชาติที่ร่วมลงนามในสัญญาสามารถแยกตัวเป็นอิสระได้หลังจากอยู่ร่วมกันครบสิบปี
แต่เมื่ออังกฤษได้ให้เอกราชกับพม่าและไตแล้ว รัฐบาลกลางพม่าไม่ยอมทำตามสัญญาและพยายามการรวมดินแดนให้เป็นของประเทศพม่า เหตุนี้จึงทำให้ชาวไตหรือไทยใหญ่จึงก่อตั้งกองกำลังกู้ชาติของตนเองขึ้นในปี พ.ศ. 2491
ทางรัฐบาลทหารพม่าได้ใช้ระบอบเผด็จการทหารกับชาวไต อีกทั้งยังได้ทำลายพระราชวังของไทยใหญ่ในเมืองเชียงตุงและอีกหลายเมือง และเข้ามาจัดการศึกษาเกี่ยวกับพม่าให้แก่เด็กในพื้นที่ รัฐบาลทหารพม่าได้บังคับให้ประชาชนกว่า 3 แสนคนย้ายที่อยู่ ประชาชนมักถูกเกณฑ์ไปบังคับใช้แรงงาน ทั้งโครงการก่อสร้างและเป็นลูกหาบอาวุธให้ทหาร ทำให้มีผู้ลี้ภัยจำนวนมากหนีเข้ามายังประเทศไทย
ปัจจุบันสถานการณ์ภายในรัฐฉานก็ยังไม่มีเสถียรภาพทางความมั่นคงเท่าใดนัก และก็ยังมีกองกำลังกู้ชาติของตนเองอยู่ หากในช่วงที่ไม่มีการปะทะกับฝ่ายรัฐบาลทหารพม่ารัฐฉานก็จะมีความเงียบสงบซึ่งเป็นพื้นฐานความต้องการที่แท้จริงของชาวไตหรือไทยใหญ่ และพวกเขายังหวังลึกๆว่าสักวันหนึ่งรัฐฉานจะได้เป็นเอกราชของตนเอง ไม่ขึ้นกับทางพม่าอีกต่อไป
[แก้] การปกครอง
พื้นที่ 60,155 ตารางไมล์ 11 จังหวัด 54 อำเภอ 193 ตำบล
- จังหวัดตองยี
- จังหวัดลอยลิม
- จังหวัดลาโช
- จังหวัดมูเซ
- จังหวัดกุนลง
- จังหวัดเล่าก์ก่าย
- จังหวัดไจ้โตง (เชียงตุง)
- จังหวัดมายซัด
- จังหวัดเจ้าก์แม
- จังหวัดหม่องพยัค
- จังหวัดท่าขี้เหล็ก
[แก้] ประชากร
- ประชากร 4.7 ล้านคน
- ความหนาแน่น 75 คน/ตารางไมล์
เขตการปกครอง ของ พม่า | |
---|---|
รัฐ: กะฉิ่น · กะยา · กะเหรี่ยง · ชิน · ฉาน (ไทใหญ่) · มอญ · ยะไข่ | |
มณฑล: ตะนาวศรี · พะโค (หงสาวดี) · มัณฑะเลย์ · มาเกว · ย่างกุ้ง · สะกาย · อิรวดี |
รัฐฉาน เป็นบทความเกี่ยวกับ ประเทศ เมือง หรือเขตการปกครองต่าง ๆ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น |