ประเทศลาว
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
|
|||||
คำขวัญ: ສັນຕິພາບ ເອກະລາດ ປະຊາທິປະໄຕ ເອກະພາບ ວັດຖະນາຖາວອນ ("สันติภาพ เอกราช ประชาธิปไตย เอกภาพ และวัฒนาถาวร") |
|||||
เพลงชาติ: เพงซาดลาว | |||||
เมืองหลวง | เวียงจันทน์ |
||||
เมืองใหญ่สุด | เวียงจันทน์ | ||||
ภาษาราชการ | ภาษาลาว | ||||
รัฐบาล | รัฐคอมมิวนิสต์ | ||||
- ประธานประเทศ | จูมมะลี ไซยะสอน | ||||
- นายกรัฐมนตรี | บัวสอน บุบผาวัน | ||||
ประกาศเอกราช - วันที่ |
จาก ฝรั่งเศส 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 |
||||
เนื้อที่ - ทั้งหมด - พื้นน้ำ (%) |
236,800 กม.² (อันดับที่ 81) 91,429 ไมล์² 2% |
||||
ประชากร - 2548 ประมาณ - 2538 - ความหนาแน่น |
5,924,000 (อันดับที่ 103) 4,574,848 25/กม² (อันดับที่ 177) 65/ไมล์² |
||||
GDP (PPP) - รวม - ต่อประชากร |
2548 ค่าประมาณ 11.92 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 129) 1,900 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 138) |
||||
HDI (2548) | 0.545 (อันดับที่ 133) – กลาง | ||||
สกุลเงิน | กีบ (LAK ) |
||||
เขตเวลา - ฤดูร้อน (DST) |
(UTC+7) | ||||
รหัสอินเทอร์เน็ต | .la | ||||
รหัสโทรศัพท์ | +856 |
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (Lao People's Democratic Republic) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล มีพรมแดนติดจีนและพม่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดต่อกับเวียดนามทางทิศตะวันออก ติดต่อกับกัมพูชาทางทิศใต้ และติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก
สารบัญ |
[แก้] คำว่า ลาว ในภาษาอังกฤษ
ในภาษาอังกฤษ คำว่าลาว ที่หมายถึงประเทศสะกดว่า "Laos" และ ลาวที่หมายถึงคนลาว และภาษาลาวใช้ "Lao" ในบางครั้งจะเห็นมีการใช้คำว่า "Laotian" แทนเนื่องจากป้องกันการสับสนกับเชื้อชาติลาว ที่สะกด "Lao ethnic group"
[แก้] ประวัติศาสตร์
ดูบทความหลักที่ ประวัติศาสตร์ลาว
ประวัติศาสตร์ยุคแรกๆ ของลาว เชื่อว่าอยู่ภายใต้การครอบครองของอาณาจักรน่านเจ้ามีตำนานโดยขุนบรม และขุนลอ มีลูกสืบหลานต่อๆ กันมา จนถึงรัชสมัยเจ้าฟ้างุ้มผู้รวบรวมอาณาจักรลาวล้านช้างได้เป็นผลสำเร็จในช่วงสมัยพุทธศตวรรษที่ 19 และมีกษัตริย์ปกครองสืบทอดต่อกันมาหลายพระองค์ ที่สำคัญ เช่น
- พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช พระองค์มีความสัมพันธไมตรีที่แนบแน่นกับกษัตริย์ไทย โดยเฉพาะในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
- พระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช รัชสมัยของพระองค์นับเป็นยุคทองของราชอาณาจักรล้านช้าง ภายหลังเมื่อพระองค์สวรรคตแล้ว เชื้อพระวงศ์ลาวต่างก็แก่งแย่งราชสมบัติกันราชอาณาจักรล้านช้างแตกแยกเป็น 3 อาณาจักรคือ อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ และอาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์ ต่างเป็นอิสระไม่ขึ้นแก่กัน และต่างฝ่ายต่างก็ดึงเอามหาอำนาจเพื่อนบ้านอย่างสยาม พม่า และอานามเข้ามาค้ำจุนฐานะของตนเอง ซึ่งในที่สุดอาณาจักรลาวทั้ง 3 แห่งนี้จะตกเป็นเมืองขึ้นของราชอาณาจักรสยามในปี พ.ศ.2321
พ.ศ. 2369 อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์มีเจ้าอนุวงศ์เป็นกษัตริย์ พระองค์คิดกระด้างกระเดื่องและกอบกู้เอกราชจากสยาม จึงยกทัพมารวมพลกับเจ้าเมืองจำปาสักและเจ้าเมืองในภาคอีสานของสยามบางส่วนเข้ามาสู้รบกับสยาม ขณะเดินทางผ่านเมืองโคราชได้กวาดต้อนชาวเมืองนครราชสีมาไปไว้ที่เวียงจันทน์ด้วย แต่ระหว่างที่กองทัพลาวพักไพร่พลและเชลยชาวเมืองนครราชสีมาอยู่ที่ทุ่งสัมฤทธิ์นั้น ครัวเรือนชาวนครราชสีมาได้ลุกฮือต่อต้านกองทัพเจ้าอนุวงศ์จนกองทัพลาวแพ้แตกพ่ายไป เมื่อฝ่ายสยามรู้ข่าวจึงส่งกองทัพมากวาดล้างเจ้าอนุวงศ์ พระองค์จึงเสด็จหนีไปเวียดนาม ภายหลังเสด็จนิวัติลาวเพื่อวางแผนกอบกู้เอกราชอีกครั้ง แต่ถูกเจ้าน้อยเมืองเชียงขวางจับตัวส่งไปยังกรุงเทพ และถูกคุมขังจนสิ้นพระชนม์ในคุกที่กรุงเทพนั้นเอง กษัตริย์อันนามของเวียดนามทรงพิโรธมาก จึงส่งกองทัพไปจับเจ้าน้อยเมืองเชียงขวางมาประหาร และรวมเมืองเชียงขวางเป็นส่วนหนึ่งของเวียดนามเรียกว่ามณฑลตรัณณินห์ หลังจากนั้นอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ก็ถูกสยามยกทัพมาทำลายพระราชวัง และวัดวาอารามในพระนครหลวงเวียงจันทน์จนสูญสิ้น เหลือเพียงหอพระแก้ว วัดสีสะเกด อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ล่มสลายและตกอยู่ในความดูแลของสยามโดยตรง ส่วนอาณาจักรลาวที่เหลือลาวก็ไม่เคยคิดกอบกู้เอกราชจากไทยอีก
ครั้นถึงพุทธศตวรรษที่ 25 ดินแดนลาวทั้งหมดก็ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของ ประเทศฝรั่งเศส จากการใช่เล่ห์เหลี่ยมของโอกุสต์ ปาวี กงสุลฝรั่งเศส โดยการใช้เรือรบมาปิดอ่าวไทยเพื่อบังคับให้ยกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง รวมทั้งดินแดนอื่น ๆ ลาวถูกรวมเข้าเป็นอินโดจีนของฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. 2436
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นได้รุกเข้ามาในลาวและดินแดนอินโดจีนฝรั่งเศสอื่นๆ เมื่อญี่ปุ่นใกล้แพ้สงคราม ขบวนการลาวอิสระซึ่งเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อกู้เอกราชลาวในเวลานั้นประกาศเอกราชให้ประเทศลาวเป็นประเทศ ราชอาณาจักรลาว หลังญี่ปุ่นแพ้สงคราม ฝรั่งเศสก็กลับเข้ามามีอำนาจในอินโดจีนอีกครั้งหนึ่ง แต่เนื่องจากการที่เวียดมินห์ปลดปล่อยเวียดนามได้ จึงเป็นการสั่นคลอนอำนาจฝรั่งเศสจนยอมให้ลาวประกาศเอกราชบางส่วนในปี พ.ศ. 2492 และได้เอกราชสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2496 ภายหลังฝรั่งเศสรบแพ้เวียดนามที่เดียนเบียนฟู ผู้ที่มีบทบาทในการประกาศเอกราชคือ เจ้าสุวรรณภูมา เจ้าเพชรราช และ เจ้าสุภานุวงศ์ โดยมีเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้ามหาชีวิต (พระมหากษัตริย์) จากอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบางเดิม และได้รวมทั้ง 3 อาณาจักรคือ ล้านช้างหลวงพระบาง ล้านช้างเวียงจันทน์ และ ล้านช้างจำปาศักดิ์ เข้าด้วยกันเป็นราชอาณาจักรลาว
พ.ศ. 2502 เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์เสด็จสวรรคต เจ้าสว่างวัฒนาจึงขึ้นครองราชย์เป็นเจ้ามหาชีวิตแทน เหตุการณ์ในลาวยุ่งยากมาก เจ้าสุภานุวงศ์ 1 ในคณะลาวอิสระประกาศตนว่าเป็นพวกฝ่ายซ้ายนิยมคอมมิวนิสต์ และเป็นหัวหน้าขบวนการปะเทดลาว ได้อแกไปเคลื่อนไหวทางการเมืองในป่า เนื่องจากถูกฝ่ายขวาในลาวคุกคามอย่างหนัก ถึงปี 2504 ร้อยเอกกองแล วีระสาน ทำการรัฐประหาร รัฐบาลเจ้าสุวรรณภูมา แต่ถูกกองทัพฝ่ายขวาและฝ่ายซ้ายรุมจนพ่ายแพ้ กองแลต้องลี้ภัยไปสหรัฐจนถึงปัจจุบัน
เหตุการณ์ทางการเมืองในระยะเวลาไม่นานหลังจากนั้นบังคับให้ลาวต้องตกอยู่ท่ามกลางสงครามอินโดจีนครั้งที่สอง ซึ่งรุนแรงยิ่งกว่าครั้งแรก และเป็นปัจจัยก่อให้เกิดสงครามกลางเมืองและรัฐประหารหลายครั้งด้วยกัน จนถึงปี พ.ศ. 2518 พรรคประชาชนปฏิวัติลาวซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียต และคอมมิวนิสต์เวียดนามโดยการนำของ เจ้าสุภานุวงศ์ ก็ล้มล้างรัฐบาลประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของเจ้ามหาชีวิตสว่างวัฒนา ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกาสำเร็จ และสถาปนาประเทศลาวเป็น "สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว" ในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518
สภาพการปกครอง และการบริหารด้านเศรษฐกิจของลาวเริ่มผ่อนคลายมากขึ้นในระยะหลังของทศวรรษ 1980 ต่อมาเมื่อเจ้าสุภานุวงศ์สละตำแหน่งจากประธาน ผู้ดำรงตำแหน่งประธานประเทศต่อจากเจ้าสุภานุวงศ์คือ ท่านไกสอน พมวิหาน และเมื่อท่านไกสอนถึงแก่กรรมกระทันหัน ท่าน หนูฮัก พูมสะหวัน ก็ได้ดำรงตำแหน่งประธานประเทศต่อมา ยุคนี้ลาวกับไทยเปิดสะพานมิตรภาพ ไทย - ลาว ในปี พ.ศ.2538 ต่อมาท่านหนูฮักสละตำแหน่ง ท่านคำไต สีพันดอนรับดำรงตำแหน่งประธานประเทศต่อ จนถึงปี พ.ศ. 2549 ท่านคำไตลงจากตำแหน่ง ท่่านจูมมะลี ไซยะสอน จึงเป็นผู้รับตำแหน่งประธานประเทศลาวคนปัจจุบัน
[แก้] การเมือง
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีระบบการปกครองแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์(ทางการลาวใช้คำว่า ระบอบประชาธิปไตยประชาชน) นำพาโดยพรรคการเมืองเดียวคือ พรรคประชาชนปฏิวัติลาว มีอำนาจสูงสุดตั้งแต่ลาวเริ่มปกครองในระบอบสังคมนิยม เมื่อ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518 - ประธานประเทศคนแรก : เสด็จเจ้าสุพานุวง (หรือ ท่าน สุพานุวง ตามระบอบสังคมนิยม) - นายกรัฐมนตรีคนแรก : ท่าน ไกสอน พมวิหาน
[แก้] สถาบันการเมืองที่สำคัญ
- พรรคประชาชนปฏิวัติลาว
- สภารัฐมนตรี (พรรคฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี)
- สภาแห่งชาติ (ประชาชนเลือกสมาชิกสภาแห่งชาติจากผู้ที่พรรคฯ เสนอ)จะมีการเลือกตั้งเอาสมาชิกสภาแห่งชาติชุดที่ 6 ในทุกแขวงทั่วประเทศ ในวันที่ 30 เมษายน 2549 และเปิดประชุมสภาครั้งปฐมฤกษ์ ในวันที่ 8 มิถุนายน 2549
- แนวลาวสร้างชาติ
- องค์กรจัดตั้ง เช่น สหพันธ์วัยหนุ่มลาว สหพันธ์แม่หญิงลาว กรรมบาลลาว ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยพรรคประชาชนปฏิวัติลาว
[แก้] การจัดตั้งและการบริหาร
- หลายหมู่บ้านรวมกัน เป็น "เมือง" (อำเภอ)
- หลายเมืองรวมกัน เป็น "แขวง" (จังหวัด)
- "นายบ้าน" (ผู้ใหญ่บ้าน) เป็นผู้บริหารของบ้าน
- "คณะกรรมการปกครองเมือง" เป็นผู้บริหารเมือง
- "คณะกรรมการปกครองแขวง" เป็นผู้บริหารแขวง
- "คณะกรรมการปกครองกำแพงนคร" เป็นผู้บริหารกำแพงนคร (เทศมนตรี)
- ระดับศูนย์กลาง มีกระทรวง คณะกรรมการ และสถาบัน
[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง
ลาวแบ่งเป็น 16 แขวงและ 1 เทศบาล หรือ กำแพงนะคอน* คือ
- แขวงอัตตะปือ / Attapu
- แขวงบ่อแก้ว/ Bokeo
- แขวงบอลิคำไซ / Boli khamxai
- แขวงจำปาสัก / Champasak
- แขวงหัวพัน / Houaphan
- แขวงคำม่วน / Khammouan
- แขวงหลวงน้ำทา / Louang Namtha
- แขวงหลวงพระบาง/ Louang Phabang
- แขวงอุดมไช / Oudomxai
- แขวงพงสาลี / Phongsali
- แขวงสาละวัน / Salavan
- แขวงสะหวันนะเขต / Savannakhet
- กำแพงนครเวียงจันทน์ / Vientiane * (กำแพงนะคอนเวียงจัน)*
- แขวงเวียงจันทน์ / Vientiane
- แขวงไซยะบูลี / Xaignabouli (ไชยบุรี)
- แขวงเซกอง / Xekong
- แขวงเชียงขวาง / Xiangkhoang
ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2549 ในมีการยุบเขตพิเศษไซสมบูน (หมายเลข 16 ในแผนที่) อย่างเป็นทางการ ตามดำรัสนายกรัฐมนตรี เลขที่ 10/นย. ลงวันที่ 13 มกราคม 2549 โดยเมืองท่าโหมถูกรวมกับแขวงเชียงขวาง และเมืองไซสมบูนถูกรวมกับแขวงเวียงจันทน์
[แก้] ภูมิศาสตร์
[แก้] ลักษณะภูมิประเทศ
ลาวเป็นประเทศที่ไม่ติดกับทะเล ส่วนใหญ่เป็นภูเขาและที่ราบสูง ปกคลุมไปด้วยป่าอันหนาทึบ โดยเฉพาะทางตอนเหนือมีความสูงเฉลี่ยเกิน 900 เมตร และมียอดเขาสูงที่สุดว่า ภูเบี้ย 2,817 เมตร มีแม่น้ำไหลผ่านเป็นธารลึก ที่ราบสูงนี้จะค่อย ๆ ลาดต่ำลงทางใต้ จนถึงฝั่งโขงทางตะวันตก
[แก้] ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศของลาวคล้ายกับภาคเหนือและภาคอีสานของไทย แต่ฤดูหนาวมีอากาศหนาวมากกว่า พื้นที่ทางภาคใต้และทางตอนกลางของประเทศเป็นบริเวณที่มีฝนตกชุกมากกว่าภาคเหนือ ความน่าสนใจของลาว ลาวนั้นมีภาษาลาวซึ่งคล้ายกับภาษาไทยอีสานของเรา มีแม่น้ำโขงเส้นทางชีวิตของชาวลาว (ลาวเรียกว่า แม่น้ำของ)
[แก้] เศรษฐกิจ
- การเพาะปลูก ที่สำคัญ คือ ริมฝั่งแม่น้ำโขง ปลูกข้าวเจ้า ข้าวโพด ผักผลไม้ต่าง ๆ
- การทำเหมืองแร่ ลาวมีแร่ธาตุต่างๆพอสมควร แต่ยังไม่ขุดมาใช้เท่าไหร่นัก แร่ที่สำคัญ คือ แร่ดีบุก แร่เหล็ก ล่าสุดลาวเปิดให้มีการสัมปทานเหมืองแร่ทองคำที่เมืองเซโปน แขวงสะหวันนะเขด เมื่อ 1-2 ปีที่ผ่านมา
- การทำป่าไม้ มีร้อยละ 55 ไม้สำคัญ คือ ไม้สัก ไม้มะฮอกกานี
- อุตสาหกรรมมีการทำอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ส่วนใหญ่อยู่บริเวณเวียงจันทร์ เป็นโรงงานขนาดเล็ก
เช่นอุตสาหกรรมทอผ้าฝ้าย โรงงานผลิตเบียร์ลาว ..............
[แก้] ประชากร
มีหลายเชื้อชาติ ประชากรนับถือศาสนาพุทธ เเละถือเป็นศาสนาประจำชาติตามระบอบใหม่ แบ่งประชากรเป็น 3 เผ่าใหญ่ ๆ คือ
สังคม ประชากร 5,198,546 คน (ปี 2544) ประกอบด้วยลาวเทิง ลาวสูง และลาวลุ่ม แยกออกได้ประมาณ 68 ชนเผ่า
- ลาวเทิง คิดเป็นร้อยละ 34 ของประชากรทั้งหมด ได้แก่ ชนเผ่าข่า ภูไท และลาวพวน
- ลาวสูง คิดเป็นร้อยละ 9 ของประชากรทั้งหมด ได้แก่ ม้ง (หรือแม้ว) และชาวเขาเผ่าต่าง ๆ
- ลาวลุ่ม คิดเป็นร้อยละ 56 ของประชากรทั้งหมด ได้แก่ ชนเผ่าอ้ายลาว เช่น ชาวเวียงจันทน์ ชาวหลวงพระบาง
- ความหนาแน่นของประชากร 20 คนต่อตารางกิโลเมตร
- อัตราการเกิด ร้อยละ 3.82 ต่อปี (2543)
- จำนวนประชากรในเมือง ร้อยละ 19 ของประชากรทั้งประเทศ
- อัตราการเพิ่มประชากร ประมาณร้อยละ 2.5 ต่อปี (2543)
- จำนวนประชากรที่เป็นแรงงาน 2.16 ล้านคน
- อายุเฉลี่ย 52 ปี
- อัตราการว่างงาน ร้อยละ 5.7 (2543)
- อัตราประชากรที่รู้หนังสือ ร้อยละ 56 (ชาย ร้อยละ 67 และหญิง ร้อยละ 43)
- จำนวนประชากรต่อแพทย์ 1,510 : 1
ประชากรของประเทศลาวมีเพียง 5 ล้านคนเศษ
[แก้] วัฒนธรรม
พุทธศาสนาแบบเถรวาท นับเป็นแบบแผนหลักของวัฒนธรรมลาว ซึ่งปรากฏให้เห็นทั่วประเทศ ทั้งในด้านภาษา และศิลปะ วรรณคดี ศิลปะการแสดง ฯลฯ สำหรับดนตรีลาวนั้นยังมีอิทธิพลของแคน ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีประจำชาติ วงดนตรีของลาวก็คือวงหมอลำ มีหมอลำ และหมอแคน พร้อมกับนักดนตรีอื่น ๆ ลำสาละวันนับเป็นแนวดนตรียอดนิยมของลาว
อารยธรรมเก่าแก่ของลาวนั้น มีปรากฏจากหลักฐานด้านโบราณคดียุคหิน ในทุ่งไหหิน ในเมืองเซียงขวาง
ประเทศ และ ดินแดน ใน ทวีปเอเชีย | |
กัมพูชา · กาตาร์ · เกาหลีใต้ · เกาหลีเหนือ · คาซัคสถาน1 · คีร์กีซสถาน · คูเวต · จอร์เจีย1 · จอร์แดน · จีน · ญี่ปุ่น · |
|
ดินแดนพิเศษ: ฮ่องกง (จีน) · ชัมมูและแคชเมียร์ (อินเดีย/ปากีสถาน/จีน) · เคอร์ดิสถาน (อิรัก) · มาเก๊า (จีน) · |
|
(1) อาจจัดให้อยู่ในทวีปยุโรป; (2) อยู่ในทวีปเอเชีย แต่มีความสัมพันธ์ทางการเมืองสังคมกับทวีปยุโรป; |
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) | |
---|---|
รัฐสมาชิก: กัมพูชา · ไทย · บรูไน · พม่า · ฟิลิปปินส์ · มาเลเซีย · ลาว · เวียดนาม · สิงคโปร์ · อินโดนีเซีย | |
ประเทศสังเกตการณ์: ปาปัวนิวกินี |