พูดคุย:ปัญหาความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เป็นบทวิเคราะห์ที่ดีครับ คิดว่า ไม่จำเป็นต้องรวมกับ ความไม่สงบในภาคใต้ของประเทศไทย - 2T - ('-' )( '-' )( '-') - 08:22, 13 สิงหาคม 2006 (UTC)
- ไม่เห็นด้วยครับ อาจจะฟังดูใจดำไปนิด แต่วิกิพีเดียเป็นที่สำหรับสารานุกรม ไม่ใช่ที่เขียนบทวิเคราะห์ลอยๆ ซ้ำยังเป็น first-hand research ซึ่งไม่มี citation อะไรเลย เห็นความพยายามที่น่าส่งเสริม จึงคิดว่าควรจะปรับปรุงให้เป็นมาตรฐานวิกิพีเดีย และทำการ merge ตามความเหมาะสมโดยเร็วครับ --203.144.160.244 15:07, 4 กันยายน 2006 (UTC)
- เป็นความคิดเห็น, ไม่เป็นสารานุกรม และไม่ควรรวมกับบทความอื่น, อาจจะใจดำ เสนอลบครับ..
เป็นบทความที่มีสาระไม่ควรลบทั้งหมด แต่ควรลบเฉพาะส่วนที่เป็นความคิดเห็นออกไป ข้อความที่เป็นประวัติศาสตร์ตรงตามหนังสือของศิลปวัฒนธรรมเรื่องหะยีสุหลง เคยอ่านเจอแต่จำบรรณานุกรมเต็มไม่ได้ Saeng Petchchai 05:33, 18 กันยายน 2006 (UTC)
สารบัญ |
[แก้] รวม?
ข้อความต่อไปนี้จะลบหรือรวมสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้??? Saeng Petchchai 14:50, 19 พฤศจิกายน 2006 (UTC) เหตุการณ์ปล้นอาวุธจากคลังแสงของกองทัพบก
[แก้] การปล้นอาวุธปืน
เมื่อเวลาประมาณ 02.00 น. ของคืนวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2547 กองกำลังติดอาวุธไม่ทราบฝ่ายจำนวนราว 60 คน บุกเข้าโจมตีคลังแสงเก็บอาวุธของกองทัพบกในค่ายนราธิวาสราชนครินทร์ พื้นที่อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส กองกำลังดังกล่าวได้สังหารทหารไป 4 นาย ก่อนหลบหนีไปพร้อมกับอาวุธปืนเอ็ม-16 และอาวุธปืนสั้นรวม 437 กระบอก ทั้งนี้ การบุกเข้าโจมตีค่ายทหารในทำนองเดียวกันเคยเกิดขึ้นมาแล้วในท้องที่อำเภอธารโต จังหวัดยะลา เมื่อช่วงปี พ.ศ. 2546ที่ผ่านมา
ภายหลังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นฝ่ายทหารออกมาระบุว่าค่ายทหารที่ถูกโจมตีเป็นเพียงกองพันทหารช่างไม่ใช่หน่วยสู้รบ โดยกองทัพภาคที่ 4 แถลงข่าวว่า "เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดจากความร่วมมือกันระหว่างขบวนการแบ่งแยกดินแดน 3 กลุ่มคือ PULO, BRN และกลุ่มมูจาฮีดินปาตานี" (The Nation, 5 January 2004) อย่างไรก็ตาม ควรเชื่อได้ว่าการปล้นอาวุธปืนในครั้งนี้ก็เพื่อนำไปใช้ในขบวนการแบ่งแยกดินแดนมากกว่าที่จะนำเอาไปขายอย่างที่ทางการไทยระบุไว้
ผลพวงจากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ออกมาระบุว่า การโจมตีที่เกิดขึ้นมีเป้าหมายอยู่ที่อาวุธปืนและให้ความเห็นว่า "ทหารภายในค่ายบางนายถูกสงสัยว่ามีส่วนรู้เห็นกับปฏิบัติการโจมตีในครั้งนี้ด้วย" (อ้างแล้ว) นายกรัฐมนตรีเองก็แสดงท่าทีไม่พอใจและกล่าวตำหนินายวัน มูฮัมหมัด นอร์ มะทา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอย่างรุนแรงว่า ไม่สามารถประเมินสถานการณ์ในพื้นที่ได้ดีพอที่จะหาทางป้องกันเหตุการณ์เอาไว้ได้
นายกรัฐมนตรียังได้ให้ความคิดเห็นว่าการโจมตีค่ายทหารอาจจะเชื่อมโยงกับกลุ่มก่อการร้ายข้ามชาติอย่างขบวนการเจไอ (Jamaah Islamiah) และสั่งการให้เจ้าหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการในส่วนของตนอย่างเคร่งครัด ทำให้ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี, พล.อ.ธรรมรักษ์ อิสรางกูร ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร ผู้บัญชาการทหารบก ต้องเดินทางโดยเครื่องบินสู่จังหวัดนราธิวาสเพื่อติดตามสถานการณ์ การที่ผู้บังคับบัญชาระดับสูงต้องลงมาแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง ไม่เพียงแต่แสดงถึงความรุนแรงของสถานการณ์เท่านั้น แต่ยังสะท้อนให้เห็นถึงความล้มเหลวของระดับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติการในพื้นที่ด้วยเช่นกัน
กองทัพบกได้ทำการสอบสวนทหารเกณฑ์สังกัดค่ายนราธิวาสราชนครินทร์ที่เป็นชาวมาเลย์มุสลิมจำนวน 65 นาย และประกาศตั้งสินบนเป็นเงิน 1 ล้านบาทแก่ผู้ที่ให้เบาะแสที่สามารถนำไปสู่การจับกุมตัวผู้บงการในครั้งนี้ได้ ช่วงเวลากว่า 1 เดือนภายหลังเหตุการณ์มีการจับกุมผู้ต้องสงสัยรวม 12 คน โดยหนึ่งในนั้นเป็นบุคคลสัญชาติมาเลเซีย แต่ก็ยังไม่มีการตั้งข้อหาร้ายแรงกับบุคคลเหล่านี้แต่อย่างใด
[แก้] เหตุการณ์ลอบเผาโรงเรียนของรัฐ
ช่วงเวลาไล่เลี่ยกันกับเหตุการณ์บุกเข้าโจมตีค่ายทหาร ก็เกิดการลอบเผาโรงเรียนของรัฐรวม 20 แห่ง นอกจากนี้ยังมีการลอบเผาป้อมของเจ้าหน้าที่ตำรวจอีก 2 แห่ง ในพื้นที่ 11 อำเภอจากจำนวน 13 อำเภอของจังหวัดนราธิวาส โดยทุกเหตุการณ์เกิดขึ้นในช่วงเวลาประมาณ 01.00 น. ทั้งสิ้น ซึ่งเหตุการณ์ทำนองเดียวกันได้เคยเกิดขึ้นมาแล้วเมื่อช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2536 ( โดยมีการลอบเผาโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของรัฐพร้อมๆ กัน รวมถึง 39 แห่งในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล จนนำไปสู่การจับกุมผู้ต้องสงสัยจำนวนหนึ่งแต่ทั้งหมดก็ถูกศาลตัดสินว่าไม่มีความผิด เหตุการณ์ล่าสุดส่งผลให้โรงเรียนของรัฐในพื้นที่จังหวัดมุสลิมมากกว่า 1,000 แห่ง ต้องประกาศปิดชั่วคราวในช่วงระหว่างสัปดาห์สุดท้ายของเดือนมกราคมถึงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 เนื่องจากเกรงว่าจะมีการทำร้ายครูและเด็กนักเรียนขึ้น
ต่อคำถามที่มีมาตลอดว่า ทำไมจึงต้องมีการเผาโรงเรียนของรัฐ ? คำตอบก็คือในสายตาของผู้ร่วมอุดมการณ์แบ่งแยกดินแดน โรงเรียนเหล่านี้ไม่ได้สร้างคุณูปการต่อชาวมาเลย์มุสลิมในพื้นที่ แต่ตรงกันข้ามกันนั้นโรงเรียนภายใต้ระบอบการศึกษาของไทย กลับเป็นตัวบ่อนทำลายอัตลักษณ์ทั้งศาสนา ภาษา และประวัติศาสตร์ของชนชาวมาเลย์มุสลิมให้ค่อยๆ เสื่อมสลายลงไป ทุกวันนี้บรรดาคนหนุ่มสาวมุสลิมในพื้นที่กำลังเข้าสู่ความเป็นไทยมากขึ้นเรื่อยๆ มีจำนวนไม่น้อยที่พูดและเขียนภาษามาเลย์ไม่ได้ ทั้งที่ในคนรุ่นปู่ย่าไม่สามารถพูดภาษาไทยได้เลยแม้เพียงถ้อยคำเดียว คนรุ่นใหม่ที่ยอมรับความเป็นไทยเหล่านี้อาจยังไม่รับรู้ว่าแท้จริงแล้ว คนไทยโดยทั่วไปหาได้ยอมรับพวกเขาในฐานะที่เป็นคนไทยด้วยกัน แต่ยังคงเห็นพวกเขาเป็นชาวไทยมุสลิมแห่งปาตานีหรือเป็นชาวมาเลย์อยู่เช่นเดิม แม้กระนั้นก็ยังมีชาวมาเลย์มุสลิมบางส่วนที่เล็งเห็นถึงผลตอบแทนจากระบบการศึกษาของไทย ในอันที่จะช่วยอำนวยโอกาสให้สามารถมีอาชีพและการงานที่ดีขึ้นได้นั่นเอง
[แก้] เหตุการณ์บุกโจมตีป้อมตำรวจ การลอบเผาวัดและมัสยิด
เวลาประมาณ 02.00 น. ของวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2547 กองกำลังของขบวนการแบ่งแยกไม่ทราบจำนวน เชื่อกันว่าเป็นกลุ่มของ มันโซร์ ตาผู้นำขบวนการ PULO บุกเข้าโจมตีป้อมตำรวจในอำเภอเบตง การยิงปะทะกินเวลานานกว่า 10 นาที มันโซร์ก็นำกองกำลังหลบหนีเข้าสู่แนวป่าใกล้เขตแดนประเทศมาเลเซีย
ผลของการโจมตีครั้งนี้ไม่ปรากฏรายงานความสูญเสียของฝ่ายเจ้าหน้าที่ ในช่วงเวลาเดียวกันก็เกิดเหตุการณ์เผายางรถยนต์บนถนนหลายสายในเขตจังหวัดยะลา และมีการขู่วางระเบิดทั้งจริงและปลอมในจังหวัดยะลาและปัตตานีอีกไม่น้อยกว่า 5 จุด จนกระทั่งวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2547 เจ้าหน้าที่ตำรวจ 2 นาย ต้องเสียชีวิตขณะพยายามกู้ระเบิดที่ถูกวางไว้ใต้เบาะรถจักรยานยนต์ ซึ่งจอดทิ้งไว้ด้านหน้าอาคารบริษัทแห่งหนึ่งในจังหวัดปัตตานี
วันที่ 23 และ 24 มกราคม พ.ศ. 2547 เกิดเหตุการณ์ลอบเผาวัดแห่งหนึ่งในจังหวัดปัตตานีและมัสยิดอีกแห่งในจังหวัดยะลา วันต่อมามีพระภิกษุ 2 รูป และสามเณรวัย 13 ปี ชาวพุทธอีก 2 ราย ถูกคนร้ายซึ่งขับขี่รถจักรยานยนต์ใช้อาวุธสังหารจนเสียชีวิต รายงานข่าวระบุว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเกี่ยวข้องกับขบวนการแบ่งแยกดินแดน (Bangkok Post, 25 มกราคม 2004) นอกจากนี้ยังมีการใช้โทรศัพท์ขู่ขวัญแจ้งว่ามีการวางระเบิดไว้ภายในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ แต่การตรวจสอบของเจ้าหน้าที่พบเพียงกล่องต้องสงสัยบรรจุยาเวชภัณฑ์วางอยู่บริเวณหน้าลิฟท์โดยสารของโรงพยาบาล (The Nation, 31 มกราคม 2004)