ทะเลบอลติก
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทะเลบอลติก (Baltic Sea) ตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปเหนือ ห้อมล้อมด้วยคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย แผ่นดินใหญ่ของภูมิภาคยุโรปเหนือ ภูมิภาคยุโรปตะวันออก ภูมิภาคยุโรปกลาง และหมู่เกาะของประเทศเดนมาร์ก ทะเลนี้เชื่อมเข้าสู่ช่องแคบแคทีแกต (Kattegat) ผ่านทางช่องแคบเออเรซุนด์ (Öresund) ช่องแคบเกรตเบลต์ (Great Belt) และช่องแคบลิตเทิลเบลต์ (Little Belt) ซึ่งหากผ่านช่องแคบแคทีแกตต่อไปก็จะพบช่องแคบสแกเกอร์แรก (Skagerrak) ที่จะเข้าสู่ทะเลเหนือและมหาสมุทรแอตแลนติก ทะเลบอลติกยังเชื่อมต่อกับทะเลขาวด้วยคลองไวต์ซี (White Sea) และเชื่อมต่อกับทะเลเหนือโดยผ่านทางคลองคีล (Kiel)
สารบัญ |
[แก้] พื้นน้ำส่วนย่อยของทะเลบอลติก
- ส่วนเหนือของทะเลบอลติกเป็นที่รู้จักกันในชื่อ อ่าวบอทเนีย
- ส่วนที่ถัดลงมาทางใต้นั้นเป็นส่วนของ ทะเลโอลันด์
- อ่าวฟินแลนด์ เชื่อมต่อทะเลบอลติกกับเมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กของรัสเซีย
- ทะเลบอลติกเหนือ ตั้งอยู่ระหว่างบริเวณกรุงสตอกโฮล์มของสวีเดน ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของฟินแลนด์ และเอสโตเนีย
- ทางตะวันออกและตะวันตกของแอ่งกอตลันด์เป็นพื้นที่หลักของ ทะเลบอลติกกลาง
- อ่าวริกา ตั้งอยู่ระหว่างกรุงริกา เมืองหลวงของลัตเวีย กับเกาะซาเรมาของเอสโตเนีย
- อ่าวกดานสก์ อยู่ระหว่างทางด้านตะวันออกของคาบสมุทรเฮลบนชายฝั่งโปแลนด์กับทางตะวันตกของคาบสมุทรแซมเบีย ในแคว้นคาลีนินกราดของรัสเซีย
- อ่าวพอเมอราเนีย ตั้งอยู่ทางด้านเหนือของเกาะอูเซดอมและเกาะโวลิน และทางด้านตะวันออกของเกาะรือเงินของเยอรมนี
- แอ่งบอร์นโฮล์ม เป็นพื้นที่ทางด้านตะวันออกของเกาะบอร์นโฮล์ม และ แอ่งอาร์โกนา มีอาณาเขตจากเกาะบอร์นโฮล์มไปจนถึงเกาะฟัลสเตอร์และเกาะซีแลนด์ของเดนมาร์ก
- ระหว่างเกาะฟัลสเตอร์และชายฝั่งของเยอรมนี เป็นพื้นที่ของ อ่าวเมคเลนบูร์ก และ อ่าวลือเบค
- ส่วนที่อยู่ตะวันตกสุดของทะเลบอลติกคือ อ่าวคีล
- ช่องแคบเดนมาร์กทั้ง 3 แห่ง คือ เกรตเบลต์ ลิตเทิลเบลต์ และเออเรซุนด์ เชื่อมต่อทะเลบอลติกเข้ากับช่องแคบสแกเกอร์แรกในทะเลเหนือด้วยอ่าวแคทีแกต จุดบรรจบของทะเล 2 แห่งนี้ที่เมืองสกาเกิน บนจุดเหนือสุดของเดนมาร์กเป็นทัศนียภาพที่ได้รับการเยี่ยมชมจากนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมากในแต่ละปี
เมื่อรวมพื้นน้ำส่วนย่อยทั้งหมดแล้ว ทะเลบอลติกจะมีพื้นที่ทั้งหมด 370,000 ตารางกิโลเมตร และมีปริมาตรน้ำทะเลประมาณ 21,000 ลูกบาศก์กิโลเมตร
[แก้] ประเทศที่ติดกับทะเลบอลติก (Baltic Sea countries)
[แก้] เกาะ หมู่เกาะ และกลุ่มเกาะสำคัญในทะเลบอลติก
- หมู่เกาะโอลันด์ (ฟินแลนด์)
- เกาะบอร์นโฮล์ม (เดนมาร์ก)
- เกาะกอตลันด์ (สวีเดน)
- เกาะไฮลูโอโต (ฟินแลนด์)
- เกาะฮีอูมา (เอสโตเนีย)
- เกาะเออลันด์ (สวีเดน)
- เกาะรือเงิน (เยอรมนี)
- เกาะซาเรมา (เอสโตเนีย)
- กลุ่มเกาะสตอกโฮล์ม (สวีเดน)
- เกาะอูเซดอมหรืออุซนัม แบ่งเป็น 2 ส่วน คือส่วนของเยอรมนีและส่วนของโปแลนด์)
- เกาะวาลาซาเรต (ฟินแลนด์)
- เกาะโวลิน (โปแลนด์)
[แก้] เมืองใหญ่
นครใหญ่ที่สุดริมฝั่งทะเลบอลติก :
- เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก (รัสเซีย) 4,700,000
- สตอกโฮล์ม (สวีเดน) 743,703 (เขตมหานคร 1,823,210)
- โคเปนเฮเกน (เดนมาร์ก) 502,204 (เขตมหานคร 1,823,109)
- กดานสก์ (โปแลนด์) 462,700
- กดีเนีย (โปแลนด์) 255,600
- เฮลซิงกิ (ฟินแลนด์) 559,716 (เขตมหานคร 980,000)
- ริกา (ลัตเวีย) 760,000
- ชเชตชีน (โปแลนด์) 413,600
- ทาลลินน์ (เอสโตเนีย) 401,774
- คาลีนินกราด (รัสเซีย) 400,000
- มาลเมอ (สวีเดน) 259,579
- คีล (เยอรมนี) 250,000
- ลือเบค (เยอรมนี) 216,100
- รอสทอค (เยอรมนี) 212,700
- ไคลเปดา (ลิทัวเนีย) 194,400
- ทุร์กู (ฟินแลนด์) 175,000
เมืองท่าสำคัญริมฝั่งทะเลบอลติก (ไม่เป็นนครใหญ่):
- ชวีโนอูยเชีย (โปแลนด์) 50,000
- เวนต์สปิลส์ (ลัตเวีย) 44,000
- บัลตียสค์ (รัสเซีย) 20,000
- ฮังกอ (ฟินแลนด์) 10,000