แสงซินโครตรอน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แสงซินโครตรอน คือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ปลดปล่อยออกมา เมื่ออนุภาคพลังงานสูงที่มีประจุ เช่น อิเล็กตรอน ถูกบังคับให้เปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ด้วยสนามแม่เหล็ก แสงซินโครตรอนเป็นแสงที่มีคุณลักษณะพิเศษที่โดดเด่นหลายประการ เช่น มีความสว่างจ้ามาก ความเข้มแสงสูง มีโพลาไรเซชัน มีความเป็นพัลล์ที่สั้นมาก (very short pulsed) และมีสเปคตรัมต่อเนื่อง โดยจะครอบคลุมช่วงพลังงานตั้งแต่ย่านรังสีใต้แดงจนถึงรังสีเอ็กซ์ จึงทำให้แหล่งกำเนิดแสงซินโครตรอนนี้เป็นแหล่งกำเนิดแสงเพียงชนิดเดียวที่สามารถเลือกช่วงความยาวคลื่น หรือพลังงานที่ต้องการใช้ประโยชน์ได้ มีประโยชน์อย่างยิ่งต่องานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีหลายสาขา เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา เภสัชวิทยา แพทยศาสตร์ และธรณีวิทยา เป็นต้น
แสงซินโครตรอน เป็นบทความเกี่ยวกับ ฟิสิกส์ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น |