เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ เป็นเรือพระที่นั่งรอง ในกระบวนพยุหยาตราชลมารค ลักษณะเด่นคือมีโขนเรือเชิดเรียว ไม่ได้สร้างเป็นรูปสัตว์ในตำนาน แต่จำหลักและปิดทองเป็นรูปพญานาคจำนวนมาก จึงได้ชื่อว่า อเนกชาติภุชงค์ (อเนก หมายถึง จำนวนมาก, ชาติภุชงค์ หมายถึง พญานาค)
[แก้] ประวัติ
เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ สร้างขึ้นใหม่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ก่อนหน้านี้ไม่ปรากฏชื่อเรือพระที่นั่งลำนี้ จัดเป็นเรือพระที่นั่งศรี ในลำดับชั้นรอง ใช้ในการเสด็จพระราชดำเนินลำลอง ภายหลังนำเข้ากระบวนพยุหยาตราชลมารค เรียกว่า เรือพระที่นั่งรอง นับเป็นเรือพระที่นั่งลำเดียวที่สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๕
โขนเรือจำหลักปิดทองเป็นรูปพญานาคเล็ก ๆ จำนวนมาก ลำเรือภายนอกทางสีชมพู ท้องเรือภายในทาสีแดง ยาว ๔๕.๕๐ เมตร กว้าง ๓.๑๕ เมตร ลึก ๑.๑๑ เมตร กินน้ำลึก .๔๖ เมตร กำลัง ๓.๕๐ เมตร ใช้ฝีพาย ๖๑ คน นายท้าย ๒ คน นายเรือ ๒ คน คน ถือธงท้าย ๑ คน พลสัญญาณ ๑ คน คนเห่ ๑ คน
ปัจจุบันเก็บรักษาที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเรือพระราชพิธี ริมคลองบางกอกน้อย ใกล้สะพานอรุณอมรินทร์
ข้อมูลเกี่ยวกับ เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ ในภาษาอื่น สามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ๆ ด้านซ้ายมือ