เรตของภาพยนตร์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การจัด เรตของภาพยนตร์ (Film Ratings) เป็นการจัดระดับตามตามเนื้อหาและฉากของ ภาพยนตร์ จุดประสงค์เพื่อกำหนดความเหมาะสม ของการเข้าชมภาพยนตร์สำหรับ เด็กและเยาวชน
แต่ละประเทศมีลักษณะมาตรฐานวิธีจัดแบ่งแตกต่างกันไป ในปัจจุบัน ที่เป็นสากลและได้รับการยอมรับมากที่สุดคือ มาตรฐานของ สหรัฐอเมริกา
ตาม ระบบการจัดระดับภาพยนตร์เอ็มพีเอเอ (MPAA film rating system) โดย สมาคมภาพยนตร์อเมริกัน (Motion Picture Association of America)
ดังจะสามารถพบเห็น การกำหนดเรตได้ตามเว็บไซต์ภาพยนตร์ อย่างเห็นได้ชัด
ระดับภาพยนตร์ หรือเรตภาพยนตร์ ได้แก่
สารบัญ |
[แก้] เรต จี ( G = General )
อนุญาตให้ทุกคนเข้าชมได้
ตัวอย่าง.. Finding Nemo, The Lion King, Madagasgar, A bug's Life, The Prince of Egypt
ตัวอย่างภาพยนตร์ไทยและเอเชีย (ถ้ามีการจัดเรต) คาดว่า เช่น.. ก้านกล้วย, โหมโรง
[แก้] เรต พีจี ( PG = Parental Guidance )
อนุญาตให้ทุกคนเข้าชมได้ แต่แนะนำให้ เด็กและเยาวชน มีผู้ใหญ่ร่วมชมและคอยให้คำแนะนำ เพราะเนื้อหาบางส่วน อาจ ไม่เหมาะสมสำหรับเด็ก
ตัวอย่าง.. Shrek, Harry Potter,
ตัวอย่างภาพยนตร์ไทยและเอเชีย (ถ้ามีการจัดเรต) คาดว่า เช่น.. เพื่อนสนิท, แฟนฉัน
[แก้] เรต พีจี-13 ( PG-13 = Parental Guidance-13 )
อนุญาตให้ทุกคนเข้าชมได้ แต่ เด็กต่ำกว่า 13 ปี ต้องมีผู้ใหญ่ร่วมชมและคอยให้แนะนำ เพราะเนื้อหาบางส่วน ไม่เหมาะสำหรับเด็กเล็ก
ตัวอย่าง.. Batman Begins, Star Wars, Titanic, Spiderman, James Bond 007, Rasie Your Voice, Finding Neverland, What A Girl Want, A Walk To Remember, Mean Girls, Monster In Laws, Laws Of Attraction
ตัวอย่างภาพยนตร์ไทยและเอเชีย (ถ้ามีการจัดเรต) คาดว่า เช่น.. มนุษย์เหล็กไหล, องค์บาก, บางระจัน, แก๊งชะนีกับอีแอบ, รักจัง, เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย, มหาลัยเหมืองแร่, นางนาก, 15 ค่ำเดือน 11
[แก้] เรต อาร์ ( R = Restricted )
เด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 17 ปี จะเข้าชมได้ ต่อเมื่อมีผู้ปกครองหรือผู้ใหญ่ไปด้วยเท่านั้น ห้ามเข้าชมเพียงลำพัง เนื่องจากเนื้อหาประกอบไปด้วย ความรุนแรง ภาพสยดสยอง ภาษาไม่เหมาะสม หรือเกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ
ตัวอย่าง.. Kill Bill, The Matrix, Troy, Resident Evil, Hannibal, The Passion Of Christ, Man On Fire, Sin City, The Davinci Code, Kung Fu Hustle, American Pie
ตัวอย่างภาพยนตร์ไทยและเอเชีย (ถ้ามีการจัดเรต) คาดว่า เช่น.. เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ เดอะมูฟวี่, สองคน สองคม, วิ่งสู้ฟัด, เดชคัมภีร์เทวดา, โหน่ง เท่ง นักเลงภูเขาทอง, ต้มยำกุ้ง, เดอะกิ๊ก, ลองของ, ศพ, เด็กหอ, ไฉไล
[แก้] เรต เอ็นซี-17 ( NC-17 = No one 17 and under admitted )
ไม่อนุญาตให้ เด็กอายุต่ำกว่า 17 ปี เข้าชม โดยเด็ดขาด เพราะภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาสำหรับผู้ใหญ่เท่านั้น
ตัวอย่าง.. The Dreamer, The Brow Bunny, Last Tango In Paris, The Rule Of Attraction
ตัวอย่างภาพยนตร์ไทยและเอเชีย (ถ้ามีการจัดเรต) คาดว่า เช่น.. 13 เกมสยอง, รับน้องสยองขวัญ
[แก้] ภาพยนตร์ที่ยังไม่ได้กำหนดเรต
จัดให้เป็น เอ็นอาร์ (NR = Not Rated) หรือข้อความว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังไม่ได้กำหนดเรต (This film is not yet rated) อย่างไรก็ตาม ระัดับนี้ ไม่นับเป็นระดับเรตอย่างเป็นทางการของสมาคมภาพยนตร์อเมริกัน
[แก้] หมายเหตุ
แม้ไม่มีกำหนดตายตัวด้านเนื้อหา เพื่อแบ่งระดับเรตภาพยนตร์ แต่มีข้อสังเกตโดยย่อดังนี้
- เรต PG-13 ถือเป็นระดับกลาง บรรดาผู้จัดจำหน่ายฯ จึงต้องการให้ภาพยนตร์รักษาไม่ให้เกินจากระดับนี้
ด้วยเหตุผลทางการตลาด ให้ภาพยนตร์เข้าถึงกลุ่มคนวงกว้างที่สุด หากผู้จัดฯ เสนอต่อองค์กรฯ เพื่อจัดแบ่งเรต (ก่อนนำภาพยนตร์ออกฉาย) แล้วได้เรตสูงกว่านี้ ทางผู้จัดฯ อาจถึงกับดำเนินการตัดต่อ เพื่อขอจัดเรตใหม่ ก็ได้
- คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่า เรต R หมายถึง โป๊
แต่แท้จริง ยังรวมถึงฉาก น่ากลัวสยองขวัญ , การต่อสู้หรือทำร้ายรุนแรง (ทำร้ายกันง่ายๆ หน้าเบี้ยว เลือดสาด อวัยวะกระจาย), การใช้คำแสลงคำหยาบคาย, การใช้ยาเสพติด, การลักพาตัว, เนื้อหาที่อาจก่อความเข้าใจผิดทางศาสนา ความเชื่อ เชื้อชาติ การเมือง, เนื้อหาที่ขัดต่อศีลธรรม แต่มีบทสรุปถึงความถูกต้อง
- ถ้ามีคำหยาบคายคายไม่เกินสามคำ และไม่มีบทโป๊หรือเปลือย มักถูกจัดอยู่ใน เรต PG-13 ,
ถ้ามีคำหยาบคายเกินสามคำ มักถูกจัดอยู่ใน เรต R
- ถ้ามีเนื้อหาอ้างอิงเกี่ยวกับยาเสพติด มักถูกจัดอยู่ใน เรต PG-13 ,
ถ้ามีฉากในการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนยาเสพติด มักถูกจัดอยู่ใน เรต R
- ถ้ามีฉากโป๊เปลือยของผู้หญิง มักถูกจัดอยู่ใน เรต R ,
ถ้ามีฉากโป๊เปลือยของผู้ชาย อาจถูกจัดอยู่ใน เรต R หรือ เรต NC-17
- เรต NC-17 จัดเป็นเรตต้องห้าม ถ้าไม่โป๊หรือโหดร้ายที่สุดก็ไม่ถึงกับถูกจัดเข้าเรตนี้ ส่วนใหญ่เน้นหนักภาพยนตร์โป๊เสียมาก
เนื้อหาคล้าย เรต R แต่รุนแรงกว่าหลายเท่า สังเกตว่าโครงเรื่องโดยตรง หรือมีเนื้อหาเข้าข่ายเกินครึ่งเรื่อง เช่นเนื้อหาที่ขัดต่อศีลธรรม ซึ่งไม่มีบทสรุปถึงความถูกต้อง
[แก้] อ้างอิง
en:MPAA film rating system ru:Система рейтингов Американской киноассоциации