วัดพระธาตุแช่แห้ง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดพระธาตุแช่แห้ง | |
---|---|
วัดพระธาตุแช่แห้ง | |
ที่ตั้ง | ตำบลภูเพียง กิ่งอำเภอภูเพียง |
ความสำคัญ | เป็นโบราณสถานสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองน่าน |
พระธาตุประจำปีเกิด | ปีเถาะ |
พระธาตุแช่แห้ง วัดพระธาตุแช่แห้ง หมู่ 3 บ้านหนองเต่า ตำบลม่วงตี๊ด กิ่งอำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน เดิมเป็นวัดราษฎร์ ปัจจุบันเป็นพระอารามหลวง ประดิษฐานอยู่ ณ กิ่งอำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน อยู่ห่างจากตัวเมืองออกไปประมาณ 3 กิโลเมตร องค์พระธาตุตั้งอยู่บนเนินเขาลูกเตี้ย ๆ เป็นสีทองสุกปลั่ง สามารถมองเห็นได้แต่ไกล เนื่องจากสูงถึง ๒ เส้น เป็นอนุสรณ์ของความรักและความสัมพันธ์ ระหว่างเมืองน่านกับเมืองสุโขทัยในอดีต
สารบัญ |
[แก้] รูปแบบสถาปัตยกรรม
ตัวพระธาตุตั้งอยู่บนเชิงเนินปูด้วยอิฐ ลาดขึ้นไปยังยอดเนิน กว้างประมาณ ๒๐ วา มีบันไดนาคขนาบทั้งสองข้าง องค์พระเจดีย์เป็นแบบล้านนาไทย ฐานเป็นสี่เหลี่ยมซ้อนกันขึ้นไปจนสูง ใช้แผ่นทองเหลืองบุรอบฐาน แล้วลงรักปิดทอง จากพงศาวดารเมืองน่านกล่าวว่า พระยาการเมือง เจ้านครน่านได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจาก กรุงสุโขทัย มาประดิษฐานไว้ที่ดอยภูเพียงแช่แห้ง และตามตำนานกล่าวว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาประทับสรงน้ำที่ริมฝั่ง แม่น้ำน่านทางทิศตะวันออก ที่บ้านห้วยไค้ และเสวยผลสมอแห้ง ซึ่งพระยามลราชนำมาถวาย แต่ผลสมอนั้นแห้งมาก พระพุทธเจ้าจึงทรงนำผลสมอนั้นไปแช่น้ำก่อนเสวย และทรงพยากรณ์ว่า ต่อไปที่นี่จะมีผู้นำพระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐาน จึงเรียกพระสถูปที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุแห่งนี้ว่า พระธาตุแช่แห้ง
[แก้] งานประจำปี
พระธาตุแช่แห้งได้จัดงานประจำปีฉลองพระธาตุประจำปี ราวกลางเดือนหกฝ่ายเหนือ ซึ่งตรงกับเดือนสี่ฝ่ายใต้
[แก้] น้ำบ่อแก้ว
พ.ศ.๒๓๗๓ เจ้าเมืองน่าน ได้ขุดบริเวณลอมเชียงของ พบว่ามี พลอยมีสีน้ำผึ้ง ขุดลึก ๔ เมตร มีน้ำพุขึ้นในบ่อ น้ำก็ขึ้นมาเต็มปากบ่อ ประชาชนเชื่อถือว่าน้ำในบ่อนี้เป็นน้ำวิเศษ เรียกว่า น้ำบ่อแก้ว
[แก้] ความสำคัญ
พระธาตุแช่แห้ง ใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีน้ำอภิเษก น้ำบ่อแก้ว จังหวัดน่าน ใช้ทำน้ำอภิเษก
วัตถุมงคลของ พระธาตุแช่แห้ง ใช้ทำพระสมเด็จจิตรลดา
[แก้] หนังสืออ้างอิง
ว่าที่ ร้อยตรี นันทเดช โชคถาวร หนังสือพระสมเด็จจิตรลดา พิมพ์ครั้งที่ 6 http://www.freewebtown.com/communit/dotvdi1.htm