รถไฟฟ้า บีทีเอส
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รถไฟฟ้าในกรุงเทพ และปริมณฑลสายต่าง ๆ |
|
สายสีลม | |
สายสุขุมวิท | |
สายเฉลิมรัชมงคล | |
สายสีม่วง (โครงการ) | |
สายสีส้ม (โครงการ) | |
สายสีแดงอ่อน (โครงการ) | |
สายสีแดง (โครงการ) | |
สายสีเหลือง (โครงการ) | |
สายสีน้ำตาล (โครงการ) | |
สายสีชมพู (โครงการ) | |
มักกะสัน-สุวรรณภูมิ (กำลังก่อสร้าง) | |
แก้ |
รถไฟฟ้า บีทีเอส เป็นระบบขนส่งมวลชนแบบรางของกรุงเทพมหานคร ดำเนินการโดยบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด มหาชน เริ่มเปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 เปิดบริการตั้งแต่ 6.00-24.00 น โดยอัตราค่าโดยสาร เริ่มต้นที่ 10 บาท สูงสุด 40 บาท บัตรโดยสารแบบเติมเงิน แบบสามสิบวัน สำหรับนักเรียนและนักศึกษา สามารถซื้อได้ที่ห้องจำหน่ายบัตรโดยสาร การซื้อบัตรโดยสารแบบเที่ยวเดียวจากตู้ขายบัตรโดยสาร รับเฉพาะเหรียญ 5 บาท และ 10 บาทเท่านั้น
รถโดยสาร 1 ขบวน มี 3 ตู้ สามารถเคลื่อนที่ได้ทั้งสองทิศ ตัวรถใช้รถของบริษัท ซีเมนส์ จำกัด
รถไฟฟ้าบีทีเอส เป็นระบบซึ่งดำเนินการแยกต่างหากจาก รถไฟฟ้ามหานคร
สารบัญ |
[แก้] สายที่เปิดให้บริการ
รถไฟฟ้าบีทีเอสแบ่งเป็น 2 สาย คือ สายสุขุมวิท (สีเขียวอ่อน) และสายสีลม (สีเขียวเข้ม) โดยมีสถานีเชื่อมต่อทั้งสองสาย ที่สถานีสยาม
- สายสุขุมวิท
ชื่อย่อ | ชื่อสถานี | ชานชาลา | จุดเปลี่ยนเส้นทาง | |
---|---|---|---|---|
N8 | สถานีหมอชิต | ข้าง | ไปยัง สถานีสวนจตุจักร (สายเฉลิมรัชมงคล) | |
N7 | สถานีสะพานควาย | ข้าง | ||
N5 | สถานีอารีย์ | ข้าง | ||
N4 | สถานีสนามเป้า | ข้าง | ||
N3 | สถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ | ข้าง | ||
N2 | สถานีพญาไท | ข้าง | ||
N1 | สถานีราชเทวี | ข้าง | ||
CS | สถานีสยาม | กลาง, สองชั้น | สถานีเชื่อมต่อไปยังสายสีลม | |
E1 | สถานีชิดลม | ข้าง | ||
E2 | สถานีเพลินจิต | ข้าง | ||
E3 | สถานีนานา | ข้าง | ||
E4 | สถานีอโศก | ข้าง | ไปยัง สถานีสุขุมวิท (สายเฉลิมรัชมงคล) | |
E5 | สถานีพร้อมพงศ์ | ข้าง | ||
E6 | สถานีทองหล่อ | ข้าง | ||
E7 | สถานีเอกมัย | ข้าง | ||
E8 | สถานีพระโขนง | ข้าง | ||
E9 | สถานีอ่อนนุช | ข้าง | ||
E10 | สถานีบางจาก (กำลังก่อสร้าง) | |||
E11 | สถานีปุณณวิถี (กำลังก่อสร้าง) | |||
E12 | สถานีอุดมสุข (กำลังก่อสร้าง) | |||
E13 | สถานีบางนา (กำลังก่อสร้าง) | |||
E14 | สถานีแบริ่ง (กำลังก่อสร้าง) |
- สายสีลม
ชื่อย่อ | ชื่อสถานี | ชานชาลา | จุดเปลี่ยนเส้นทาง | |
---|---|---|---|---|
W1 | สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ | ข้าง | ||
CS | สถานีสยาม | กลาง, สองชั้น | สถานีเชื่อมต่อไปยังสายสุขุมวิท | |
S1 | สถานีราชดำริ | ข้าง | ||
S2 | สถานีศาลาแดง | ข้าง | ไปยัง สถานีสีลม (สายเฉลิมรัชมงคล) | |
S3 | สถานีช่องนนทรี | ข้าง | ||
S5 | สถานีสุรศักดิ์ | ข้าง | ||
S6 | สถานีสะพานตากสิน | ข้าง | ||
S7 | สถานีเจริญนคร (กำลังก่อสร้าง) | |||
S8 | สถานีวงเวียนใหญ่ (กำลังก่อสร้าง) |
[แก้] การเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนอื่น
[แก้] รถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล
ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนไปใช้รถไฟฟ้ามหานครได้ที่
- สถานีหมอชิต ซึ่งตรงกับ สถานีสวนจตุจักร ของรถไฟฟ้ามหานคร
- สถานีอโศก ซึ่งตรงกับ สถานีสุขุมวิท ของรถไฟฟ้ามหานคร
- สถานีศาลาแดง ซึ่งตรงกับ สถานีสีลม ของรถไฟฟ้ามหานคร
[แก้] รถบริการรับส่ง
ทางรถไฟฟ้าบีทีเอส มีบริการรถโดยสารรับส่งในสถานที่สำคัญบางสถานี หรือที่เรียกว่ารถชัตเทิลบัส (Shuttle Bus) 6 สายดังนี้
- หมอชิต-ม.เกษตร
- สุรศักดิ์-วงเวียนใหญ่
- คลองตัน-เอกมัย
- ทองหล่อ-พร้อมพงษ์
- อ่อนนุช-เซ็นทรัลซิตี้บางนา
- เพลินจิต-ออลซีซั่นเพลส
ไม่คิดอัตราค่าโดยสาร แต่จำเป็นต้องใช้คูปองซึ่งขอรับได้จากเจ้าหน้าที่จำหน่ายบัตรโดยสารที่สถานี เวลาให้บริการคือ 6.30-22.30 น
---ปัจจุบันได้ยกเลิกบริการดังกล่าวทุกเส้นทางตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2549---
[แก้] ท่าเรือ
- สถานีสะพานตากสิน มีทางเชื่อมกับท่าเรือสาทร เพื่อใช้บริการเรือด่วนเจ้าพระยา และเรือโดยสารข้ามฟากไปยังท่าเรือสาทรฝั่งธนบุรี (ท่าเรือเป๊ปซี่) ออกสู่ ถนนเจริญนคร
[แก้] ทางเดินเข้าอาคาร
บางสถานีมีสะพานลอยจากตัวสถานีไปยังอาคารต่างๆ ในบริเวณใกล้เคียง
- สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ สามารถเดินไปยังห้างสรรพสินค้าสยามดิสคัฟเวอรี และเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ได้
- สถานีสยาม สามารถเดินไปยังห้างสรรพสินค้า สยามเซ็นเตอร์, สยามพารากอน ได้
- สถานีราชเทวี สามารถเดินเข้าออกโรงแรมเอเชียได้ตั้งแต่เวลา 07:00-23:00น.
- สถานีศาลาแดง สามารถเดินไปยังห้างสรรพสินค้าสีลมคอมเพลกซ์, ตึกธนิยะ
- สถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ สามารถเดินยังฝั่งต่างๆ ของวงเวียนอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิได้ อีกทั้ง ยังสามารถเชื่อมต่อกับโรงภาพยนตร์ เซนจูรี่อีกด้วย
- สถานีชิดลม สามารถเดินไปยังห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลสาขาชิดลม, เอราวัณบางกอก, อัมรินทร์, เกษรพลาซา
- สถานีพร้อมพงศ์ สามารถเดินไปยังห้างเอ็มโพเรี่ยมได้
นอกจากนี้ระหว่างสถานีสยาม และสถานีชิดลม ยังมีทางเดินเชื่อมกันใต้รางรถไฟฟ้าที่เรียกว่า Sky Walk ซึ่งเชื่อมต่อกับห้างเวิร์ลเทรด เซนเตอร์ เดิมหรือ เซ็นทรัลเวิลด์ ในปัจจุบัน
[แก้] ส่วนต่อขยาย
ปัจจุบัน รถไฟฟ้าบีทีเอส กำลังอยู่ในช่วงการสร้างส่วนต่อขยายเพิ่มเติม ดังนี้
- สายสีลม จากสถานีสะพานตากสินถึงแยกตากสิน จำนวน 2 สถานี ได้แก่ สถานีเจริญนคร และ สถานีวงเวียนใหญ่ กำหนดแล้วเสร็จปี พ.ศ. 2550
- สายสุขุมวิท จากสถานีอ่อนนุชถึงแบริ่ง จำนวน 5 สถานี ได้แก่ สถานีบางจาก, สถานีปุณณวิถี, สถานีอุดมสุข, สถานีบางนาและ สถานีแบริ่งกำหนดแล้วเสร็จปี พ.ศ. 2552
[แก้] บัตรโดยสาร
บัตรโดยสารรถไฟฟ้า บีทีเอส มีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท ได้แก่
- บัตรโดยสารประเภทบุคคลทั่วไป มี 2 แบบ ได้แก่
- เที่ยวเดียว
- 1 วัน
- บัตรโดยสารประเภท 30 วัน แบ่งได้ 2 ประเภท คือ ประเภทบุคคลทั่วไป และ ประเภทนักเรียน-นักศึกษา ทั้ง 2 ประเภทมี 2 แบบ ได้แก่
- 20 เที่ยว
- 30 เที่ยว
- บัตรโดยสารประเภทเติมเงิน จำหน่ายครั้งแรกขั้นต่ำ 100 บาท (รวมค่ามัดจำ 30 บาท) สามารถเติมเงินได้สูงสุด 2,000 บาท และมีอายุการใช้งาน 2 ปี
ซึ่งในบัตรโดยสารประเภท 30 วัน และประเภท เติมเงิน ยังมีการพิมพ์เป็นลวดลายต่างๆ ตามความเหมาะสม และการโฆษณา และยังมีคูปองโดยสารรถรับ-ส่งบีทีเอส อีกด้วย
- ปัจจุบันรถไฟฟ้าบีทีเอส จะมีบัตรรุ่นใหม่อีก 1 ประเภทเรียกว่า บีทีเอสสมาร์ทพาส (BTS Smart Pass) โดยเป็นบัตรติดตั้งไมโครชิฟ RFID เป็นเทคโนโลยีลักษณะเดียวกับ บัตรโดยสารของรถไฟฟ้ามหานคร บัตรจำหน่ายเหมือนบัตรโดยสารประเภท 30 วัน มีกำหนดเริ่มจำหน่ายครั้งแรกวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ที่สถานีพญาไท โดยสามารถเริ่มใช้เดินทางได้ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ทุกสถานีเป็นต้นไป
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- เว็บไซต์ของบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ
- โครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครส่วนต่อขยาย - รายงานความคืบหน้าของโครงการส่วนต่อขยาย
|
||||||||||
|
แก้ |
---|