งบดุล
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
งบดุล เป็นงบการเงินที่แสดงฐานะของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่ง เช่น วันสิ้นรอบปีบัญชี โดยจะแสดงยอดคงเหลือของสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของผู้ถือหุ้น โดย ผลต่างระหว่าง สินทรัพย์ และ หนี้สิน เรียกว่า "สินทรัพย์สุทธิ" ของกิจการ ซึ่งก็คือ ส่วนของผู้ถือหุ้น นั่นเอง ดังนั้น
สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของผู้ถือหุ้น
เรียกสมการข้างบนว่า "สมการบัญชี" (Accounting Equation)
งบดุลเปรียบเสมือน "ภาพถ่าย" ฐานะของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่งเท่านั้น เนื่องจากสินทรัพย์และหนี้สินคงเหลือของกิจการมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งหากเปรียบเทียบกับงบการเงินพื้นฐานทั้งสี่แบบแล้ว มีเพียงงบดุลเท่านั้นที่แสดง ณ จุดใดจุดหนึ่งของเวลา แทนที่จะแสดงเป็นช่วงเวลา
[แก้] โครงสร้างของงบดุล
โครงสร้างของงบดุลโดยทั่วไปจะแยกแสดงรายการต่าง ๆ ดังนี้
- สินทรัพย์ จะแสดงรายการเรียงลำดับจากสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงสุดไปยังสภาพคล่องต่ำสุด
- หนี้สิน จะแสดงรายการเรียงลำดับจากหนี้สินที่ครบกำหนดชำระคืนก่อนไปยังหนี้สินระยะยาว
- ส่วนของผู้ถือหุ้น จะแสดงรายการเรียงลำดับจากทุนเรือนหุ้น ส่วนเกินมูลค่าหุ้น และ กำไรสะสม
ตัวอย่างงบดุลของบริษัทมหาชนโดยทั่วไป
สินทรัพย์
- สินทรัพย์หมุนเวียน
- เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
- ลูกหนี้การค้า - สุทธิ
- สินค้าคงเหลือ - สุทธิ
- สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น ๆ
- เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
- สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
- เงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน
- เงินลงทุนในบริษัทย่อย และบริษัทร่วม
- ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ - สุทธิ
- ค่าความนิยม
- สินทรัพย์ไม่มีตัวตน
- สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น ๆ
- เงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน
รวมสินทรัพย์
หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
- หนี้สินหมุนเวียน
- หนี้สินไม่หมุนเวียน
- เงินกู้ยืมระยะยาวจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน
- เงินกู้ยืมระยะยาว - สุทธิ
- หนี้สินไม่หมุนเวียนอื่น ๆ
- เงินกู้ยืมระยะยาวจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน
- รวมหนี้สิน
- ส่วนของผู้ถือหุ้น
- ทุนเรือนหุ้น
- ส่วนเกินมูลค่าหุ้น
- กำไรสะสม
- ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย
- ทุนเรือนหุ้น
- รวมส่วนของผู้ถือหุ้น
รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
[แก้] ตัวอย่างวิธีการสร้างงบดุล
1.1 นายนัท ลงทุนเปิดบริษัทใหม่โดยใช้ชื่อว่า บริษัท ซื่อตรง จำกัด เพื่อทำธุรกิจร้านกาแฟและเบเกอรี่ โดยนำเงินสด 2,000,000 บาท ไปเปิดบัญชีธนาคารเพื่อใช้เป็นเงินทุนเริ่มแรก รายการนี้มีผลกระทบกับงบดุลดังนี้
สินทรัพย์ เงินในบัญชีธนาคาร 2,000,000
ส่วนของผู้ถือหุ้น เงินทุน 2,000,000
1.2 จากนั้นได้ซื้ออาคารพานิชย์ราคา 1,000,000 บาท โดยวางเงินดาวน์ 20% ที่เหลือผ่อนกับธนาคารเป็นเวลา 10 ปี
สินทรัพย์ เงินในบัญชีธนาคาร 1,800,000 อาคาร 1,000,000
หนี้สิน เงินกู้ธนาคาร 800,000
ส่วนของผู้ถือหุ้น เงินทุน 2,000,000
1.3 ซื้อ เครื่องต้มกาแฟ เครื่องอบขนมปัง และอุปกรณ์ตกแต่งร้าน เป็นเงิน 500,000 บาท
สินทรัพย์ เงินในบัญชีธนาคาร 1,300,000 อาคาร 1,000,000 อุปกรณ์ 500,000
หนี้สิน เงินกู้ธนาคาร 800,000
ส่วนของผู้ถือหุ้น เงินทุน 2,000,000
1.4 ซื้อวัตถุดิบ เช่น เมล็ดกาแฟ นมสด แป้งขนมปัง น้ำตาล เป็นเงิน 100,000 บาท โดยได้รับเครดิต 30 วัน
สินทรัพย์ เงินในบัญชีธนาคาร 1,300,000 อาคาร 1,000,000 อุปกรณ์ 500,000 สินค้าคงเหลือ 100,000
หนี้สิน เงินกู้ธนาคาร 800,000 เจ้าหนี้การค้า 100,000
ส่วนของผู้ถือหุ้น เงินทุน 2,000,000
1.5 นำรายการทั้งหมดมาจัดเรียงใหม่จะได้งบดุลดังนี้
บริษัท ซื่อตรง จำกัด งบดุล ณ วันที่ .....
สินทรัพย์ สินทรัพย์หมุนเวียน เงินในบัญชีธนาคาร 1,300,000 สินค้าคงเหลือ 100,000 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ 1,500,000 ----------------------------------- รวมสินทรัพย์ 2,900,000 ===================================
หนี้สิน หนี้สินหมุนเวียน เจ้าหนี้การค้า 100,000 หนี้สินไม่หมุนเวียน เงินกู้ธนาคาร 800,000
ส่วนของผู้ถือหุ้น เงินทุน 2,000,000 ----------------------------------- รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 2,900,000 ===================================
[แก้] ดูเพิ่ม
- งบกำไรขาดทุน
- งบกระแสเงินสด
- งบแสดงส่วนของผู้ถือหุ้น
งบดุล เป็นบทความเกี่ยวกับ เศรษฐศาสตร์ การเงิน ธุรกิจ หรือ การค้า ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น |