กบ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กบ | ||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
กบพันธุ์พอบเบิลบองค์ (อีสเทิร์นแบนโจ) (Limnodynastes dumerilii) |
||||||||||
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | ||||||||||
|
กบ เป็นสัตว์สี่เท้าสะเทินน้ำสะเทินบกในอันดับ Anura ซึ่งมีทั้งกบและคางคก กบเป็นสัตว์ที่คล้ายคางคกแต่มีรูปร่างผอมกว่า ผิวหนังขรุขระน้อยกว่า กบอยู่ในวงศ์ Ranidae แต่คางคกอยู่ในวงศ์ Bufonidae กบเป็นสัตว์ไม่มีหาง ตีนแบนมีหนังติดเป็นพืด กระโดดได้ไกล ว่ายน้ำ ดำน้ำได้เร็ว มักวางไข่ในน้ำ เมื่อยังเป็นตัวอ่อนจะมีหาง อยู่ในน้ำเรียกว่าลูกอ๊อด ภายหลังจึงงอกขา หางหดหายไป แล้วขึ้นอาศัยบนบก หน้าแล้งอยู่แต่ในรู ไม่ออกหาอาหารชั่วคราว เรียกว่า กบจำศีล มีหลายชนิด เช่น กบนา
กบเป็นสัตว์ครึ่งบก ครึ่งน้ำ ที่ชาวไทยรู้จักกันดี และนิยมบริโภคกันมาช้านาน เมื่อก่อนในธรรมชาติยังมีกบให้จับมาใช้บริโภคอย่างไม่ขาดแคลนนัก ดังจะเห็นได้ชัดในช่วงของฤดูฝน ปริมาณของกบที่จับมาวางขายในท้องตลาดมีจำนวนมากเพียงพอกับความต้องการ ปัจจุบันนี้ คนนิยมบริโภคกบเป็นอาหารกันมากขึ้นตามบ้าน ร้านอาหารและภัตตาคาร มีการส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ เช่น ฮ่องกง ญี่ปุ่น มาเลเซีย สิงคโปร์ เยอรมัน ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะเห็นได้จากรายการอาหารของภัตตาคารชั้นนำในต่างประเทศ ขณะที่ความต้องการของตลาดในประเทศและต่างประเทศขยายตัวสูงขึ้น ปัจจุบันปริมาณของกบมีจำนวนน้อย ไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาดดังกล่าว และไม่สามารถสนองความต้องการของตลาด ในปริมาณที่สม่ำเสมอได้เนื่องจากปริมาณของกบที่จำหน่ายส่วนใหญ่ยังได้จากการจับตามธรรมชาติ ซึ่งนับวันก็จะยิ่งลดน้อยลงเรื่อยๆ เพราะว่าการจับกบมาบริโภคโดยไม่คำนึงถึงฤดูกาล และสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ ที่เอื้ออำนวยต่อการขยายพันธุ์ของกบได้ถูกบุกรุกหรือทำลายโดยมนุษย์เพิ่มขึ้นทุกปี จึงนับว่ามีโอกาสลงทุนที่ดีในการเลี้ยงกบสนองความต้องการของตลาดในประเทศ และเพื่อการส่งออกไปจำหน่ายยังภัตตาคารในต่างประเทศ ซึ่งมีความต้องการเพิ่มขึ้นทุกปี แทนการจับกบตามธรรมชาติมาส่งตลาดซึ่งหายากและขาดแคลน
สารบัญ |
[แก้] ตลาดในประเทศ
กบเป็นอาหารที่นิยมบริโภคกันมาก เพราะเนื้อกบเป็นอาหารโปรตีนที่มีคุณค่าสูง สามารถนำมาปรุงอาหารได้หลายอย่าง ถ้ากบมีขนาดใหญ่ จะนำมาแยกเอาส่วนขาหลัง ซึ่งมีน้ำหนักประมาณ 1 ใน 3 ของน้ำหนักตัวแล้วส่งไปจำหน่ายตามร้านอาหาร และภัตตาคาร สำหรับหนังกบนิยมนำมาตากแห้งและ ทอดกรอบ และยังสามารถนำหนังกบไปทำกระเป๋า รองเท้า เครื่องดนตรี และของชำร่วยต่างๆ ส่วนหัว อวัยวะระบบทางเดินอาหาร และกระดูกที่ตัดชำแหละแล้ว นำไปใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ได้ ( ทั้งสดและป่นแห้ง ) ปริมาณการบริโภคในประเทศไม่สามารถประมาณการได้ ราคาจำหน่ายในฤดูฝนจะราคาถูกกว่า ในฤดูแล้ง
[แก้] ตลาดต่างประเทศ
ได้มีบริษัทเอกชนรวบรวมซื้อกบจากแหล่งต่างๆเพื่อส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ ตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย คือ ฮ่องกง นำเข้ากบประมาณร้อยละ 99.6 ของมูลค่าส่งออกกบของไทย ส่วนประเทศที่นำเข้าเนื้อกบที่สำคัญของโลกในปัจจุบัน ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม สหรัฐอาหรับเอมิเรต และเยอรมันตะวันตก การส่งออกจะทำทั้งในสภาพกบที่ยังมีชีวิตที่มีขนาดน้ำหนักตัวประมาณ 200 - 300 กรัม และในรูปของขาหลังกบแช่แข็งที่มีขนาดน้ำหนัก 25 - 30 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัวทั้งหมด ส่วนหนังกบก็มีการส่งออกด้วยเช่นกัน ประโยชน์ทางตรงของการเลี้ยงกบ
- เป็นอุปกรณ์ทางการศึกษาทางการแพทย์ การวิจัย ทางชีววิทยา และการทดลองทางวิทยาศาสตร์
- ให้ความเพลิดเพลิน
- เป็นอาหารและเพิ่มพูนรายได้ให้กับครอบครัวและประเทศชาติ
- ใช้ประโยชน์จากหนังและอวัยวะอื่น ๆ
[แก้] ประโยชน์ทางอ้อม
- ได้ประโยชน์จากระบบนิเวศวิทยา โดยช่วยทำลายแมลง ศัตรูพืช ยุง บุ้ง ฯลฯ
- ใช้กระดูกทำปุ๋ย
[แก้] กบในประเทศไทย
กบที่พบในประเทศไทยมี 38 ชนิด แต่ที่พบทั่วๆไป มีดังนี้ คือ
- กบบัว มีขนาดเล็กสีน้ำตาลอ่อน ขนาดโตเต็มที่ยาวประมาณ 2 นิ้ว น้ำหนัก ตัวประมาณ 30 ตัว ต่อหนึ่งกิโลกรัม
- กบนา มีขนาดกลาง สีน้ำตาลปนดำ ขนาดโตเต็มที่ยาวประมาณ 4 นิ้ว น้ำหนักประมาณ 6 ตัว ต่อหนึ่งกิโลกรัม
- กบจาน มีขนาดใหญ่ สีน้ำตาลปนเขียว ขนาดโตเต็มที่ยาวประมาณ 5 นิ้ว น้ำหนักประมาณ 4 ตัว ต่อหนึ่งกิโลกรัม
- กบภูเขา หรือ เขียดแลว เป็นกบที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ชาวบ้านนิยมจับมาบริโภคกันมาก โดยเฉพาะที่แม่ฮ่องสอน กบภูเขาอยู่ใน สภาพธรรมชาติมีปริมาณลดน้อยลงทุกที
(Rana tigerina)
กบ เป็นบทความเกี่ยวกับ สัตว์ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น |