ไตรรัตน์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ส่วนหนึ่งของ ประวัติพุทธศาสนา |
|
จุดมุ่งหมายของพุทธศาสนา | |
เพื่อความดับทุกข์ · นิพพาน |
|
ใจความสำคัญของพุทธศาสนา | |
สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น |
|
ไตรสรณะ | |
ความเชื่อและการปฏิบัติ | |
ศีล · ธรรม ศีลห้า · ศีลแปด บทสวดมนต์และพระคาถา |
|
คัมภีร์และหนังสือ | |
พระไตรปิฎก พระวินัยปิฎก · พระสุตตันตปิฎก · พระอภิธรรมปิฎก |
|
นิกาย | |
เถรวาท · อาจริยวาท (มหายาน) · วัชรยาน · เซน | |
สังคมพุทธศาสนา | |
เมือง · ปฏิทิน · บุคคล · วันสำคัญ · ศาสนสถาน · วัตถุมงคล | |
ดูเพิ่มเติม | |
ศัพท์เกี่ยวกับพุทธศาสนา หมวดหมู่พุทธศาสนา |
ไตรรัตน์ แปลว่า แก้ว ๓ ดวง, แก้ว ๓ อย่าง เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า รัตนตรัย เรียกด้วยความเคารพว่า พระไตรรัตน์ หรือ พระรัตนตรัย ที่เรียกว่า รัตนะ เพราะว่าเป็นสิ่งที่ประเสริฐ มีค่าสูง และหาได้ยาก เทียบด้วยดวงแก้วมณี
ไตรรัตน์ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ซึ่งเรียกเต็มว่าพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ซึ่งได้แก่
- พระพุทธ คือ ท่านผู้ตรัสรู้ธรรมแล้วสอนให้ประชุมชนให้ประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ ตาม พระวินัย ที่เรียกว่า พระพุทธเจ้า
- พระธรรม คือ พระธรรมวินัยอันเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
- พระสงฆ์ คือ หมู่ชนที่ฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัย
[แก้] อ้างอิง
- พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548