แคนซัสซิตี ชีฟส์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
|
|||||
คอนเฟอเรนซ์ | เอเอฟซี (AFC) | ||||
ดิวิชัน | ตะวันตก | ||||
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) | ||||
Home Field | สนามกีฬาแอร์โรว์เฮด | ||||
เมือง | แคนซัสซิตี รัฐมิสซูรี | ||||
สีประจำทีม | แดง ทอง ขาว | ||||
โค้ช | เฮอร์แมน เอ็ดเวิร์ด | ||||
ชนะเลิศในลีก (3) แชมป์เอเอฟแอล: 1962, 1966 แชมป์เอเอฟแอล & ซูเปอร์โบวล์: 1969 (Super Bowl IV) |
|||||
ชนะเลิศในคอนเฟอเรนซ์ (0) |
|||||
ชนะเลิศในดิวิชัน (8) เอเอฟแอลตะวันตก: 1962, 1965, 1966 เอเอฟซีตะวันตก: 1971, 1993, 1995, 1997, 2003 |
แคนซัสซิตี ชีฟส์ ทีมอเมริกันฟุตบอลในเอ็นเอฟแอลลีกอเมริกันฟุตบอลระดับชาติของ สหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ในเมืองแคนซัสซิตี รัฐมิสซูรี ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) ในส่วนของเอเอฟแอล และได้เข้าร่วมเอ็นเอฟแอล
[แก้] ประวัติ
เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) ลามาร์ ฮันต์เศรษฐีจากเมืองดัลลัสได้ก่อตั้งทีมดัลลัส เท็กซานส์ (ชื่อเดิมของแคนซัสซิตี ชีฟส์) ที่เมืองเกิดของตนเองในเมืองดัลลัส รัฐเท็กซัส โดยเล่นภายในการแข่งขันของเอเอฟแอล และได้ใช้สนามค็อตตอนโบวล์ร่วมกับทีมดัลลัส คาวบอย ต่อมาในปี 2506 (ค.ศ. 1963) ลามาร์ ฮันต์ ต้องการหาที่ตั้งใหม่ของทีมเพื่อขยายทีม หลังจากที่เดินทางไปทั่วสหรัฐอเมริกาจึงได้ตกลงย้ายมาที่เมืองแคนซัสซิตี โดยทางผู้ว่าการเมืองเสนอว่าจะซื้อตั๋วอย่างน้อย 3,000 ที่นั่งทุกการแข่งขัน และมากกว่านั้นชาวเมืองมากกว่า 1,000 คน พร้อมใจจะช่วยในการขายตั๋วเข้าชม และได้เปลี่ยนชื่อว่ามาเป็นแคนซัสซิตี ชีฟส์ โดยใช้สนามกีฬาของเมือง (Municipal Stadium)
หลังจากที่ได้เป็นแชมป์เอเอฟซี แคนซัสซิตี ชีฟส์ได้เข้าแข่งซูเปอร์โบวล์ครั้งที่ 1 กัีบทีมกรีนเบย์ แพ็คเกอร์ ในวันที่ 15 มกราคม 2510 (ค.ศ. 1967) ฤดูกาลต่อมาได้เป็นที่กล่าวขานหลังจากชนะทีมชิคาโก แบรส์ ด้วยคะแนนท้วมท้น 66-24 แต้ม และในซูเปอร์โบวล์ครั้งที่ 4 ได้เป็นแชมป์ซูเปอร์โบวล์โดยชนะมินเนโซตา ไวกิงส์ 23-7 เมื่อ2513 (ค.ศ. 1970) ในปี 2515 (ค.ศ. 1972) สนามกีฬาแอร์โรว์เฮดได้สร้างเสร็จสมบูรณ์ แคนซัสซิตี ชีฟส์ได้ย้ายมาเล่นที่สนามใหม่ แต่ในนัดเปิดสนามได้พ่ายแพ้ให้กับไมอามี ดอลฟินส์ 10-20 แต้ม ภายใต้คนดู 79,829 คน และในช่วงนี้เป็นช่วงตกต่ำของแคนซัสซิตี ชีฟส์ ภายหลังจากที่ได้ โจ มอนตานา มาเป็นควอเตอร์แบ็คและมาร์คัส แอลเลนเป็นรันนิงแบ็ค ในปี 2536 (ค.ศ. 1993) ทำให้ชีฟส์กลับคืนมาอีกครั้งหนึ่งและได้เป็นแชมป์เอเอฟซีตะวันตก โดยหลังจากนั้นได้เป้นแชมป์เอเอฟซีตะวันตกอีกหลายครรั้ง โดยครั้งล่าสุดในปี 2546 แคนซัสซิตี ชีฟส์ได้เป็นแชมป์เอเอซีตะวันตกเป็นครั้งที่ 8
[แก้] สถิติของทีม
- พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002): มอร์เทน แอนเดอร์สัน ทำสถิติเตะฟิลด์โกลด์ที่ระยะมากกว่า 50 หลา เกิน 40 ครั้ง
- พ.ศ. 2545: เทรนต์ กรีน ทำสถิติขว้างลูกระยะ 99 หลาเสมอกับสถิติเก่า
- 21 ตุลาคม พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005): ชีฟส์เป็นทีมเดียวในเอ็นเอฟแอลที่เล่มนอกบ้านทันทีภายหลังจากลงเครื่องบิน เนื่องจากการพยากรณ์ของพายุเฮอริเคนวิลมา ทำให้การแข่งขันต้องเลื่อนจากปกติแข่งวันอาทิตย์ มาเป็นแข่งวันศุกร์ ซึ่งเป็นวันเดินทาง อย่างไรก็ตามชีฟส์ชนะดอลฟินส์ 30-20
[แก้] เว็บไซต์
เอ็นเอฟแอล (NFL) (ฤดูกาลปัจจุบัน) | ||||||
AFC | East | บัฟฟาโล บิลส์ | ไมอามี ดอลฟินส์ | นิวอิงแลนด์ แพทริออตส์ | นิวยอร์ก เจ็ตส์ | |
North | บัลติมอร์ เรเวนส์ | ซินซินเนติ เบงกอลส์ | คลีฟแลนด์ บราวนส์ | พิตส์เบิร์ก สตีลเลอรส์ | ||
South | ฮิวสตัน เท็กซานส์ | อินดีอานาโปลิส โคลส์ | แจ๊คสันวิลล์ แจกัวส์ | เทนเนสซี ไตตันส์ | ||
West | เด็นเวอร์ บรองโกส์ | แคนซัสซิตี ชีฟส์ | โอคแลนด์ เรดเดอรส์ | ซานดีเอโก ชาร์จเจอรส์ | ||
|
||||||
NFC | East | ดัลลัส คาวบอยส์ | นิวยอร์ก ไจแอนตส์ | ฟิลาเดลเฟีย อีเกิลส์ | วอชิงตัน เรดสกินส์ | |
North | ชิคาโก แบรส์ | ดีทรอยต์ ไลออนส์ | กรีนเบย์ แพคเกอรส์ | มินเนโซตา ไวกิงส์ | ||
South | แอตแลนตา ฟัลคอนส์ | คาโรไลนา แพนเทอรส์ | นิวออลีนส์ เซนตส์ | แทมปาเบย์ บัคคาเนียส์ | ||
West | อริโซนา คาร์ดินัลส์ | เซนต์หลุยส์ แรมส์ | ซานฟรานซิสโก โฟร์ตีไนเนอรส์ | ซีแอตเติล ซีฮอกส์ | ||
ซูเปอร์โบวล์ |