เอดา ไบรอน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอดา ไบรอน เลิฟเลซ ([Lady Augusta Ada Byron], Coutress of Lovelace) เป็นบุตรสาวของ ลอร์ด ไบรอน (Lord Byron) เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2358 (ค.ศ. 1815) หลังจากเธอเกิดไม่นาน พ่อแม่ของเธอก็แยกทางกัน แม่ของเอดา จึงตัดสินใจเลี้ยงดูเธอให้เป็นผู้หญิงสมัยใหม่ และให้ศึกษาด้านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ต่างไปจากกุลสตรีในตระกูลใหญ่ๆ ของอังกฤษทั่วไป
พออายุ 17 ปี ก็มีผู้แนะนำให้เอดารู้จัก Mrs. Somerville แห่งเคมบริดจ์ ผู้หญิงเก่งแห่งยุค ที่เคยแปลงานของ Laplace มาเป็นภาษาอังกฤษ เอดาจึงเข้ามาคลุกคลีกับเพื่อนกลุ่มนี้ จนได้รู้จักกับ ชาร์ลส แบบเบจ ในงานสังสรรค์แห่งหนึ่ง ในที่สุด ในงานวันนั้น ตอนที่แบบเบจกล่าวว่า "what if a calculating engine could not only foresee but could act on that foresight" (จะเป็นอย่างไร ถ้าหากเครื่องคำนวณไม่เพียงสามารถหยั่งรู้ได้ หากแต่สามารถตอบสนองต่อการหยั่งรู้นั้นได้ด้วย) ไม่มีใครสนใจแนวคิดนี้ของแบบเบจเลย ยกเว้นเอดา ซึ่งเธอรู้สึกสนใจในงานนี้เป็นอย่างมาก จนอาสาที่จะช่วยพัฒนา โดยสิ่งที่เธอทำคือ การสร้างภาษาสำหรับเครื่องวิเคราะห์ (analytical engine) ของแบบเบจ
หลังจากนั้นไม่นาน เอดาได้แต่งงานกับท่านเอิร์ลแห่ง เลิฟเลซ และมีบุตรด้วยกันสามคน
ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา ทั้งเอดาและแบบเบจ ยังเป็นเพื่อนกันทางจดหมาย และแลกเปลี่ยนความเห็นเรื่องเครื่องวิเคราะห์อย่างสม่ำเสมอ โดยจดหมายของทั้งสองถูกเก็บไว้อย่างดีในยุคนี้ เพราะมีข้อมูลน่าสนใจมากมาย (ทั้งเรื่องจริง และจินตนาการ) เช่น เอดาบอกว่า เธอเชื่อว่าต่อไปเครื่องมืออันนี้ จะมีความสามารถที่จะแต่งเพลงที่ซับซ้อน สร้างภาพกราฟิก นำมาใช้เพื่อการคำนวณขั้นสูง และพัฒนาวงการวิทยาศาสตร์ได้ ในจดหมายฉบับหนึ่ง เอดาแนะนำแบบเบจว่า ให้ลองเขียนแผนการทำงานของเครื่องมืออันนี้ ให้สามารถคำนวน Bernoulli numbers ขึ้นมา
ต่อมา แผนการทำงานที่แบบเบจเขียนขึ้นมาชิ้นนั้น ก็ถูกยกย่องว่าเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตัวแรกของโลก และเอดาก็ช่วยเขียนบรรยาย รายละเอียดการทำงานของเครื่องวิเคราะห์ แต่สุขภาพของเธอก็เริ่มมีปัญหา และสุดท้ายก็เสียชีวิตด้วยวัยเพียง 37 ปี
อีกร้อยกว่าปีต่อมา ในปี พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ สร้างภาษาคอมพิวเตอร์มาตรฐาน ISO ขึ้นมาตัวแรก พร้อมตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ เลดี้ เอดา ว่า ภาษา "ADA"
ในช่วงที่ยังมีชีวิตอยู่ เอดาได้รู้จัก และอาสาช่วยงาน พร้อมทั้งอุปการะ นักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ รวมทั้งนักเขียนหลายคน เช่น Sir David Brewster คนคิดคาไลโดสโคป, ชาร์ลส วีทสโตน, ชาร์ลส ดิกเก้นส์, และ ไมเคิล ฟาราเดย์