เรียลลิตี้โชว์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เรียลลิตี้โชว์ (reality show อ่านว่า รีอัลลิตี้) เป็นรายการโทรทัศน์รูปแบบหนึ่ง ซึ่งมักจะดำเนินไปโดยใช้สถานการณ์จริง และไม่มีการเขียนบท คัดเลือกผู้ร่วมรายการจากผู้ชมทางบ้าน ซึ่งจะต้องเผชิญกับสถานการณ์ต่างๆ ที่ทางทีมงานได้จัดเตรียมเอาไว้ ผู้เข้าร่วมรายการจะต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ รายการโทรทัศน์เช่นนี้ เริ่มมาช้านานแล้ว แต่เพิ่งจะนิยมอย่างแพร่หลายเมื่อราว พ.ศ. 2543 (โดยเฉพาะจากรายการ Expedition Robinson)
นักวิจารณ์บางท่านเห็นว่า การใช้คำว่าเรียลลิตี้โชว์นี้ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ทั้งนี้เพราะรายการโทรทัศน์แบบนี้จำนวนมากให้ผู้เข้าร่วมแข่งขันไปอยู่ในสถานที่หรือสถานการณ์ที่แปลกแตกต่างไปจากการใช้ชีวิตจริง จึงไม่น่าจะถือว่าเป็นชีวิตจริงของพวกเขา จากการวิจัยของ Nielsen Media Research พบว่ารายการเช่นนี้มีสัดส่วนถึงร้อยละ 56 ของรายการโชว์ทางโทรทัศน์ของอเมริกา (ทั้งรายการทางเคเบิ้ลทีวี และรายการจากสถานีโทรทัศน์ปกติ) และยังมีสัดส่วนเป็นร้อยละ 69 ของรายการโชว์ทางโทรทัศน์ทั่วโลก (ทั้งรายการทางเคเบิ้ลทีวี และรายการจากสถานีโทรทัศน์ปกติ)
สารบัญ |
[แก้] ประวัติรายการเรียลลิตี้โชว์
เกิดขึ้นประมาณปี ค.ศ. 1973 ชื่อรายการ An American Family เป็นรายการเก็บภาพชีวิตความเป็นอยู่ของครอบครัว William C. Loud มีผู้ชมถึง 10 ล้านคน จนเมื่อปี ค.ศ. 1994 เรียลลิตี้โชว์ก็ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก และได้รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ของเอ็มทีวี ที่ชื่อ “The Real World” นำคน 7 คนที่มีบุคลิกต่างกันมาอยู่ร่วมกัน ที่รายการซีซั่นที่ 3 ของรายการนี้ประสบความสำเร็จเพราะเกิดความขัดแย้งที่รุนแรงระหว่าง Pedro Zamora เกย์ผู้ติดเชื้อ HIV กับ Puck อาชีพ Messenger และ Pedro ได้เสียชีวิตในที่สุด และนี่คือจุดเริ่มต้นของเรียลลิตี้โชว์ในยุคต่อมา
[แก้] ประเภทของเรียลลิตี้โชว์
- เรียลลิตี้โชว์ประเภทกึ่งสารคดี
- จะมีลักษณะนำเสนอชีวิตส่วนต่างๆ ไม่มีบทพูด ไม่ใช่ลักษณะของเกม ตัวอย่างรายการดังเช่น MTV's Laguna Beach: The Real Orange County
- เรียลลิตี้โชว์ประเภทอยู่ในสภาพแวดล้อมพิเศษ
- จะมีลักษณะการสร้างสภาพแวดล้อมพิเศษให้คนมาอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบนั้นด้วยกัน เช่น Temptation Island ,The Real World
- เรียลลิตี้โชว์ของดารา คนดัง
- จะเผยชีวิตของดาราดัง ชีวิตประจำวันต่างๆ เช่น The Osbournes (ครอบครัวออสบอร์น), Newlyweds (เจสสิก้า ซิมพ์สัน และ นิค ลาเช่) ในที่นี่รวมถึงลักษณะรายการที่อยู่ในสภาพแวดล้อมเฉพาะ เช่น ไฮโซบ้านนอก เป็นต้น
- เรียลลิตี้โชว์ของผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
- จะเผยลักษณะการทำงานต่างๆ ของผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆเช่น COPS และ The Restaurant เป็นต้น
- เรียลลิตี้เกมโชว์
- เป็นการแข่งขันเพื่อชิงรางวัล โดยมีโจทย์ต่างๆ ตามคอนเซ็บต์ของรายการ เช่น บิ๊ก บราเธอร์,ยูบีซี อะคาเดมี แฟนเทเซีย,เซอร์ไวเวอร์,อัจฉริยะข้ามคืน และ Americal Idol เป็นต้น
- เรียลลิตี้โชว์ประเภทหางาน
- มีรางวัลเป็นงานที่ต้องการ เช่น The Apprentice, อเมริกาส์ เน็กซ์ ท็อป โมเดล
- เรียลลิตี้โชว์ประเภทกีฬา
- นำส่วนประกอบกีฬามาเป็นคอนเซ็บต์หลัก เช่น The Contender (รายการนี้ผู้เข้าแข่งขันที่ตกรอบคนนึงฆ่าตัวตายหลังถูกออก)
- เรียลลิตี้โชว์ประเภทปรับปรุงตัวเอง /แปลงโฉม
- มีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงตัวเอง เช่นการผ่าตัด การลดน้ำหนัก ให้ตัวเองดีขึ้น เช่น Extreme Makeover,Queer Eye For The Straight Guy,The Swan และ Celebrity Fit Club เป็นต้น
- เรียลลิตี้โชว์ประเภทนัดบอด
- จะนำผู้เข้าแข่งขันที่ไม่รู้จักกัน มานัดบอด ตามเงื่อนไขต่างๆ รายการประเภทนี้ได้รับความนิยมอย่างมากในช่องเอ็มทีวี เช่น Dis-missed และ Wanna Comein เป็นต้น
- เรียลลิตี้โชว์ประเภททอล์คโชว์
- อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของรายการ โดยนำผู้ร่วมรายการมาสัมภาษณ์ เช่น The Jerry Springer Show
- เรียลลิตี้โชว์ประเภทซ่อนกล้อง (Hidden Camera)
- จะซ่อนกล้องไม่ให้ผู้ร่วมรายการรู้ตัว โดยอาจสร้างสถานการณ์ต่างๆ เช่น Candid Camera หรือ อาจจะรวมถึง MTV Punk'd
- เรียลลิตี้โชว์ประเภทคนหาตัวจริง
- จะมีผู้เข้าแข่งขัน 1 คน และที่เหลือจะมีนักแสดงที่คัดเลือกมา ให้ผู้เข้าแข่งขันได้ใช้ชีวิตกับคนเหล่านั้นและหาตัวจริงตามลักษณะคอนเซ็บต์รายการ ตัวอย่างเช่น Boy Meets Boy และ Joe Millionaire เป็นต้น
[แก้] รายการเรียลลิตี้โชว์ในไทย
โดยมาก รายการเรียลลิตี้โชว์ มักจะออกอากาศในช่วงเวลาไพรม์ไทม์ ซึ่งเป้นเวลาทองของสถานีต่างๆ ทำให้มีความนิยมมาก โดยเฉพาะบุคคลที่อยู่ในวัยเรียนจนถึงวัยทำงานที่นอนดึก ให้ได้ติดตามกัน แต่ก็มีบางรายการที่ออกอากาศในช่วงกลางวันเช่นกัน
- เกมชีวิต ออกอากาศทางสถานีโทรสีกองทัพบกช่อง7 โดยการผลิตของ กันตนา เมื่อต้นปี ค.ศ.2000 (วันอาทิตย์ เวลา 17.00 น.)
-
- ซึ่งตอนนั้นได้ใช้รูปแบบรายการของเซอร์ไวเวอร์ (Survivor) แต่รูปแบบของของการเล่นเกมส์จะเปลี่ยนทุกseason ในseason ที่3จึงได้เสียงตอบรับที่ไม่ดีในด้านการดำเนินเกมส์ที่ใช้วิธีของทางทหาร สร้างความกดดันทั้งผู้เล่นเกมส์และคนดู จนคนดูไม่สามารถรับได้ จึงได้ยุติลงในที่สุด
- เกมคนจริง Survivor ในประเทศไทย ได้ออกอากาศทางฟรีทีวี และทางเคเบิ้ลทีวี โดยลิขสิทธิ์ทางฟรีทีวี เป็นลิขสิทธิ์ของ กันตนา(ฉาย season 1,2 ทางช่อง5 เวลา 19.30 น.- 20.00น. และseason 5 ทางช่อง9 เวลา 22.00 น. เมื่อต้นปี ค.ศ.2000) ส่วนลิขสิทธิ์ทางเคเบิ้ลทีวี คือ ยูบีซี (ฉาย season 1-ล่าสุด ทางช่อง UBC series และมีการออกอากาศซ้ำหลายรอบ)
- เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ออกอากาศทางสถานีโมเดิร์นไนน์ทีวี(ช่อง9) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 เป็นต้นมา
- รักแท้บทที่ 1 ออกอากาศทางสถานีกองทัพบกช่อง5 ในปี พ.ศ. 2548 (วันศุกร์ เวลา20.30 น.)ผลิตรายการโดย แกรมมี่ เทเลวิชั่น
-
- เป็นเรียลลิตี้ประเภทนัดบอด แต่เนื่องด้วยจากกระแสวิจารณ์ทางสังคม ที่ตีความเนื้อหาของรายการผิดเพี้ยนไปจากเดิม จึงทำให้เป็นเหยื่อของสังคมไทย(ที่ถูกหลงผิดเพราะคำวิจารณ์เพียงด้านลบ ด้านเดียว) จึงถูกยุติบทบาทลงไปในไม่กี่เดือน
- ยูบีซี อะคาเดมี แฟนเทเซีย ออกกาศทางเคเบิ้ลทีวี ทางUBC ช่อง16 ซึ่งทางUBC ได้ซื้อลิขสิทธิ์ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2547 และได้ออกอากาศทางฟรีทีวีตั้งแต่season 2 โดย season 2 ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ในทีพ.ศ.2548 และเมื่อขึ้นseason ที่3 ได้ออกกาศทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี ในปี พ.ศ.2549
- UBC Human Resource
- บิ๊ก บราเธอร์ ออกอากกาศทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวี และเคเบิ้ล ทางUBC ช่อง16 พร้อมกัน
- เดอะ วินเนอร์
- ไฮโซบ้านนอก ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เมื่อปี พ.ศ.2548
-
- เป็นที่กล่าวถึงกันอย่างมาก เนื่องจากพฤติกรรมของ คชาภา ตันเจริญ (มดดำ) ซึ่งเป็นคนเปิดเผยและค่อนข้างตรง ทำให้บางครั้งเรื่องราวเกิดขึ้นเพียงคนๆเดียวเช่น เกือบเผาบ้าน หรือแม้แต่วีนใส่ทีมงาน และอีกอย่าง เนื่องด้วยไฮโซบ้านนอก เป็นเรียลลิตี้โชว์แบบเฟค(ถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตจริง แต่ทีมงานกับผู้เข้าแข่งขัน ต่างรู้เรื่องราวกันเป็นอย่างดีโดยที่ผู้ชมทางบ้านไม่รู้ว่า นี่คือ การสมรู้ร่วมคิดกันของทีมงานกับผู้เข้าแข่งขัน)ทำให้ถูกวิจารณ์และทำให้ความหมายของคำว่า เรียลลิตี้โชว์ ในไทย แปลความหมายผิดเพี้ยนไปจากเดิม
- ตัวจริง ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ในปีพ.ศ.2549
- The Arsenal Dream ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง3 เมื่อปีพ.ศ.2549 (วันอาทิตย์ เวลา13.00น.โดยประมาณ)
-
- เนื่องจากได้เวลาในช่วงบ่าย ประกอบกับการขาดเรื่องประชาสัมพันธ์ ทำให้เรตติ้งรายการไม่กระเตื้องขึ้น
- Thailand Next Top Model ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง3 เมื่อปีพ.ศ.2548 ผู้ที่ซื้อลิขสิทธิ์ก็คือ ซอนญ่า คูลลิ่ง
-
- มีการกล่าวถึงเรื่องการดำเนินเกมส์ที่ขาดสีสัน ด้านอารมณ์ ทำให้ผู้เข้าแข่งขันมีลักษณะไปในทางเดียวกัน กล่าวคือ ไม่มีความริษยาหรือโกรธแค้นกลั่นแกล้งกัน ทำให้ความนิยมของรายการไม่กระเตื้องขึ้น
- ส่วนในด้านผลงานของผู้แข่งขันหลังจบเกมส์ ทางBEC Tero ไม่ได้ประชาสัมพันธ์หรือป้อนงาน ทำให้ไม่สามารถติดตามผลงานได้ว่าพวกเธอมีผลงานในวงการบันเทิงในด้านใดบ้าง
- M Thailand ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เมื่อปลายปีพ.ศ.2548 ถึง ต้นปีพ.ศ.2549(วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 22.00น. โดยประมาณ)
-
- มีการกล่าวถึงกันมาก เนื่องจากรูปแบบรายการได้ลอกเนื้อหามาจาก Thailand's Perfect Man และทางBEC Tero ได้ชิงตัดหน้าขโมยความคิด นำมาทำเป็นรูปแบบเกมส์เรียลลิตี้โชว์ ก่อนและอีกสาเหตุหนึ่งมาจาก การวิจารณ์ผู้เข้าแข่งขันในรอบคัดเลือก จนไปสร้างความกดดันให้คนดูและผู้เข้าแข่งขัน รวมไปถึง การใช้ไอเดียของรายการ Manhunt ในการซ่อนทีมงานไปปะปนในหมู่ผู้เข้าแข่งขัน(แต่ไม่เนียน) ทำให้ถูกพูดถึงในแง่การวิจารณ์เป็นอย่างมาก และด้วยการดำเนินรายการของBEC Tero ที่ไม่มีการโต้แย้งของผู้เข้าแข่งขัน ทำให้เรตติ้งรายการค่อนข้างทรงตัวจนจบการแข่งขัน
- ส่วนในด้านผลงานของผู้แข่งขันหลังจบเกมส์ เนื่องด้วยทางBEC Tero ไม่ได้ประชาสัมพันธ์หรือป้อนงานให้กับผู้เข้าแข่งขัน ทำให้ไม่สามารถติดตามผลงานของผู้เข้าแข่งขันได้เลยว่าใครไปมีอาชีพในวงการบันเทิงในด้านใดบ้าง
- Thailand's Perfect Man ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ในปีพ.ศ.2549 (ต้นเดือนกุมภาพันธ์-ปลายเดือนมิถุนายน ทุกวันอังคาร เวลา 23.00 น.)และทาง Chic Channel ของUBC
-
- หลังจากที่ M Thailand ได้ตัดหน้าและขโมยความคิดไปออกอากาศก่อน ทำให้ Thailand's Perfect Man (TPM) ที่ดำเนินบริหารงานโดย เมทินี กิ่งพโยม ได้นำรายการไปเสนอทางไอทีวี และได้ปรับเนื้อหาของเกมส์ให้มีความชัดเจนกว่าของลอกเลียนแบบ จนมีความลงตัวในหลายด้านๆ และไม่มีการสร้างความกดดันให้กับคนดูมากเกินไป แต่ถึงกระนั้นเรตติ้งของรายการก็ไม่ได้กระเตื้องขึ้น จนกระทั่งได้นำการเดินแบบในชุดว่ายน้ำมานำเสนอ จนทำให้เรตติ้งของรายการเพิ่มขึ้นประกอบกับความขัดแย้งของผู้เข้าแข่งขันในช่วงการแข่งขัน ทำให้เนื้อหามีความน่าติดตามมากยิ่งขึ้น
- ส่วนในด้านผลงานของผู้แข่งขันหลังจบเกมส์ ได้มีการประชาสัมพันธ์ติดต่อจากสปอนเซอร์หลัก(ธนาคารไทยพาณิชย์,ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ,กันตนา ฯลฯ) ทำให้มีงานป้อนเข้ามาเป็นระยะ ซึ่งเป็นการดำเนินงานของ เมทินี กิ่งพโยม
- อัจฉริยะข้ามคืน ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ในปีพ.ศ.2549
- Evo Challenge คนเก่ง เกมนักขับ ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ในปี พ.ศ.2549 ดำเนินการผลิตโดย กันตนา (ออกอากาศต่อจาก Thailand's Perfect Man ประมาณ 1เดือน ทุกวันอังคาร เวลา 23.00น. )
-
- รูปแบบของรายการได้ใช้รูปแบบของรายการSurvivor ผสมกับเทคนิคการขับรถยนต์ในสถานการณ์ทุกรูปแบบ แต่เนื่องจากรูปแบบรายการที่ไม่ชัดเจนและใช้รูปแบบของเซอร์ไวเวอร์ มากถึง 70% ทำให้เรตติ้งรายการไม่กระเตื้องขึ้น ซึ่งผู้ชนะได้รับรถยนต์มิซูบิชิ และเงินรางวัล 1 ล้านบาท