อัญประกาศ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อัญประกาศ | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
“ ” |
|||||||
เครื่องหมายวรรคตอน | |||||||
จุดไข่ปลา ( … ) ( ... ) |
|||||||
การแบ่งวรรคตอน | |||||||
เว้นวรรค ( ) ( ) ( ) |
|||||||
เครื่องหมายวรรคตอนไทย | |||||||
โคมูตร ( ๛ ) |
|||||||
เครื่องหมายอื่น ๆ | |||||||
ขีดตั้ง/ไพป์ ( | ) |
อัญประกาศ หรือ เครื่องหมายเลขใน เป็นเครื่องหมายวรรคตอนในภาษาไทย ใช้เขียนสกัดข้างหน้าและข้างหลังตอนส่วนเบื้องบนของตัวอักษร คำ และข้อความ ข้างหน้าเขียน หัวคว่ำ ข้างหลังเขียนหัวหงาย
[แก้] วิธีใช้
- ใช้เขียนสกัดตัวอักษร หรือ คำ เพื่อให้ผู้อ่านสังเกตเป็นพิเศษ เช่น :-
- ตัว "นอ" มี 2 ชนิด คือ ณ และ น
- หล่อนได้รับสมญาจากสังคมว่า "ผู้ดีแปดสาแหรก"
- "สามก๊ก" กล่าวถึงคนสำคัญ สามก๊ก
- ใช้สกัดข้อความที่เป็นความดำริตริคิด เช่น :-
- ฉันคิดว่า "เอ ! นี่เราก็เป็นลูกผู้ชาย เหตุไฉนจึงไม่พยายามทำสิ่งที่เป็นประโยชน์" คิดดังนี้แล้ว ฉันก็เริ่มเขียนตำราหลักภาษาไทย
- เขาดำริว่า "ฉันเป็นคนไทย , ฉันต้องสร้างชาติไทยให้เจริญ"
- ใช้สกัดข้อความที่เป็นคำสนทนาปราศรัย เช่น :-
- แดงถามว่า "แป๊ว, หนูรักอะไรมากที่สุด ? " "ผมรักชาติไทยมากที่สุด" แป๊วตอบ
- "นอกจากชาติไทยแล้ว หนูรักใครอีก" "รักพระพุทธเจ้า, คุณพ่อ, และคุณแม่"
- "หนูรักพี่ไหม" แดงถาม "รัก" แป๊วตอบ
- ใช้สกัดข้อความที่นำมาจากที่อื่น หรือ เป็นคำพูดของผู้อื่น เช่น :-
- ในบาลีไวยากรณ์ ตอนอักขรวิธี มีข้อความอยู่ตอนหนึ่งว่า "เนื้อความของถ้อยคำ ทั้งปวง ต้องหมายรู้กันด้วยอักขระ ถ้าอักขรวิบัติแล้ว ก็เข้าใจเนื้อความยาก"
- ฉันชอบพระพุทธโอวาทที่ว่า "ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย"
ถ้ามีเลขในซ้อนกันหลายตอน ตอนนอกที่สุดให้ใช้อัญประกาศสองชั้น คือ "........", ส่วนเลข ในที่ ซ้อนเข้ามา ให้ใช้อัญประกาศชั้นเดียว คือ '..........' ตัวอย่าง เช่น:- นักเรียนคนหนึ่งเล่าให้ครูฟังว่า "ผมมีน้องชาย 2 คน เป็นเด็กช่างพูดทั้งคู่ พอเห็นผม กลับไปบ้าน น้องคนเล็ก มักพูดกับคุณแม่ว่า 'คุณแม่ครับ, พี่แป๊วกลับจากโรงเรียนแล้วครับ' แล้วแก ก็วิ่งมารับผม และขอให้ผมเปิดรูปภาพในหนังสือให้แกดู"
คุณสามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้! โดยการกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน จากนั้นแก้ไขภาษาให้สละสลวย และแก้ตัวสะกดให้ถูกต้อง ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คู่มือ และ นโยบายวิกิพีเดีย |
อัญประกาศ เป็นบทความเกี่ยวกับ ภาษา หรือ ตัวอักษร ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น |