อักษรอาหรับ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อักษรอาหรับและการทับศัพท์
สารบัญ |
[แก้] พยัญชนะ
ข้อ | อักษร | ชื่ออักษร | ภาษาไทย | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
1 | ﺀ/ ا | ฮัมซะหฺ/อะลิฟ | อ, สระ อา | *ถ้าฮัมซะหฺเป็นซุกูน จะเขียนเป็น <อ์> ในภาษาไทย เช่น <มะอ์มูร> |
2 | ﺏ | บาอุ | บ | |
3 | ﺕ | ตาอุ | ต | |
4 | ﺙ | ษาอุ | ษ | |
5 | ﺝ | ญีม | ญ, จญ์ | ญะวาด, ฮัจญ์, ฮิจญ์เราะหฺ, ฮิญิร |
6 | ﺡ | ฮาอุ | ฮ | |
7 | ﺥ | คออุ | ค | |
8 | ﺩ | ดาล | ด | |
9 | ﺫ | ซาล | ซ | |
10 | ﺭ | รออุ | ร | *ถ้าสะกดด้วย ฟัตฮะหฺ ในภาษาไทยเป็น <ร่อ>
|
11 | ﺯ | ซาย | ซ |
|
12 | ﺱ | ซีน | ซ, ส |
|
13 | ﺵ | ชีน | ช | |
14 | ﺹ | ศอด | ศ |
|
15 | ﺽ | ฎอด | ฎ | ถ้าสะกดด้วยฎ็อมมะหฺ หรือฎ็อมมะหฺ+วาว ใช้ ด เป็น <ดุ> และ <ดู> เนื่องจากถ้าเขียนด้วย ฎ และ สระอุหรือสระอูแล้ว สระทั้งสอง จะไม่ปรากฏออกมา
|
16 | ﻁ | ฏออุ | ฏ |
|
17 | ﻅ | ซออุ | ซ |
|
18 | ﻉ | อัยนฺ | อ |
<มะอฺมูร> |
19 | ﻍ | ฆีน | ฆ |
|
20 | ﻑ | ฟาอุ | ฟ | |
21 | ﻕ | กอฟ | ก | |
22 | ﻙ | กาฟ | ก |
ฏ
|
23 | ﻝ | ลาม | ล | |
24 | ﻡ | มีม | ม | |
25 | ﻥ | นูน | น | |
26 | ﻭ | วาว | ว | |
27 | ﻩ | หาอุ | ฮ, ห |
|
28 | ﻯ | ยาอุ | ย |
|
[แก้] สระ
ข้อ | คำอ่าน ? | เสียงสระ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
1 | ฟัตฮะหฺ | สระอะ | |
2 | กัสเราะหฺ | สระิอิ | |
3 | ฎ็อมมะหฺ | สระอุ | |
4 | ฟัตฮะหฺ + อะลิฟ | สระอา | |
5 | กัสเราะหฺ + ยาอุ | สระอี | |
6 | ฎ็อมมะหฺ + วาว | สระอู | |
7 | ฟัตฮะหฺ + ยาอุ | อัย,เอ | ถ้าพยางค์นั้น ลงท้ายด้วยพยัญชนะ ที่เป็นซุกูน จะเป็น สระเอ เช่น <ฮุเซน> |
8 | ฟัตฮะหฺ + วาว | เอา เช่น <เลา> |
[แก้] หมายเหตุ
- ไม้ไต่คู้และสระออ <-็อ> ใช้กับ <ฎ>, <ฏ>, <ศ> เมื่อถอดรูป ฟัตฮะห เช่น <ฎ็อ>, <ฏ็อ> <ศ็อ> และ <ก็อ> แต่อาจจะไม้ไต่คู้ละไว้ในฐานที่เข้าใจ เช่น <ฎอ>, <ฏอ> และ <ศอ>
- ไม้เอกและสระออ< -่อ> ใช้กับ <ร> เมื่อถอดรูปฟัตฮะหฺ เช่น <ร่อซูล> แต่อาจจะละไว้ในฐานเข้าใจ เช่น <รอซูล>
- จะไม่มีการใช้ <ห> นำหน้าพยัญชนะเสียงต่ำ หรือ วรรณยุกต์ เช่น <อิหม่าม>, <อะมีรุ้ลมุมินีน> หรือ <อ๊าด> ที่ถูกต้องคือ <อิมาม>, <อะมีรุลมุมินีน> และ <อาด>
- ไม่มีการตัดสระอะเมื่อถอดรูปฟัตฮะหฺ นอกจากคำว่า นบี เท่านั้น เช่น <อบูบักรฺ> จะต้องเป็น <อะบูบักรฺ>
- จะไม่ใช้ การันต์ ในการถอดรูปซุกูน นอกจากกับ <ย> และ <อ> เท่านั้น เช่น <อัลบุคอรีย์>, <มะอ์มูน>