ศึกแห่งดันเคิร์ก
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
|
|||||||||||||||||
ศึกแห่งดันเคิร์ก | |||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ชื่อของความขัดแย้ง | สงครามโลกครั้งที่สอง | ||||||||||||||||
วันที่การรบนี้เริ่มขึ้น | 26 พฤษภาคม, ค.ศ. 1940 | ||||||||||||||||
สถานที่ที่การรบนี้เริ่มขึ้น | เมืองดันเคิร์ก, ประเทศฝรั่งเศส | ||||||||||||||||
ผลการรบ | ฝ่ายเยอรมันเป็นผู้ชนะ, ฝ่ายสัมพันธมิตรดำเนินการอพยพก่อนการปะทะ | ||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||
ศึกแห่งดันเคิร์ก (อังกฤษ: Battle of Dunkirk) คือหนึ่งในศึกครั้งใหญ่ในสงครามโลกครั้งที่สอง ระหว่างวันที่ 26 พฤษภาคม จนถึงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2483 (ค.ศ. 1940) ในขณะนั้นกองกำลังขนาดใหญ่ของสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสถูกล้อมไว้โดยหมู่ยานเกราะเยอรมัน ซึ่งครอบครองอาณาบริเวณตลอดชายฝั่งช่องแคบที่เมืองคาเลส์ ทหารสัมพันธมิตรกว่า 330,000 นายสามารถอพยพผ่านทางทะเลมาได้
สารบัญ |
[แก้] ภูมิหลัง
หลังจากสงครามกำมะลอ (Phony War) ศึกแห่งฝรั่งเศสก็เริ่มขึ้นขึ้นวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1940 หมู่รถถังพานเซอร์เยอรมันผ่านแคว้นอาร์เดนส์และมุ่งหน้าไปทางเหนือซึ่งมีเส้นทางคดเคี้ยวคล้ายคลึงกับเคียว จึงทำให้ยุทธวิธีการเคลื่อนพลนี้ถูกเรียกว่า "การเคลื่อนพลแบบเคียวผ่า" ส่วนในทางฝั่งตะวันออกกองทัพเยอรมันได้เปิดฉากการบุกและทำการผนวกเนเธอร์แลนด์เข้าเป็นรัฐของตนเอง และมุ่งหน้าไปยังเบลเยียมอย่างรวดเร็ว
กองกำลังผสมของสหราชอาณาจักร, ฝรั่งเศส และเบลเยียมดำเนินการตั้งรับโดยการคุ้มกันอาณาบริเวณรอบ ๆ หมู่บ้านอาร์เมนติเยร์ ส่วนกองกำลังเยอรมันทางเหนือก็ยังมุ่งหน้าต่อไป โดยการยึดเมืองคาร์เลส์ ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่มีความสำคัญที่สุดทางตอนเหนือของฝรั่งเศส ทำให้กองกำลังเยอรมันสามารถตรึงกำลังทหารสัมพันธมิตรจำนวนมาก ให้ถูกปิดล้อมจากชายฝั่งทะเลในพรมแดนฝรั่งเศส-เบลเยียม เมื่อฝ่ายกองกำลังผสมจนมุมก็เท่ากับแพ้ศึกครั้งนี้
ปัญหาที่ตามมาของสัมพันธมิตร คือจะอพยพทหารสัมพันธมิตรให้กลับไปยังเขตปลอดภัยในประเทศอังกฤษได้ทั้งหมดอย่างไร ก่อนที่ประเทศฝรั่งเศสจะถูกยึดและพวกเขาจะถูกทำลาย
[แก้] ยุทธการไดนาโม
ในวันที่ 22 พฤษภาคม ปฏิบัติการเตรียมความพร้อมเพื่อการอพยพก็เริ่มขึ้น, ภายใต้รหัส ยุทธการไดนาโม ซึ่งถูกสั่งการมาจากเมืองโดเวอร์โดยพลเรือโทเบอร์แทรม แรมเซย์ ซึ่งมีจุดประสงค์แรกคือการระดมกองเรือให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยสั่งการให้เรือราชนาวีทุกลำที่สามารถบรรทุกทหารได้ลำละ 1,000 นายขึ้นไปภายในพิกัด มุ่งหน้าไปยังเมืองดันเคิร์กเพื่อขนถ่ายกองกำลังผสมแห่งเกาะบริเตนใหญ่ 45,000 นายกลับมายังประเทศอังกฤษให้ได้ภายในสองวัน ห้าวันต่อมากองเรือสามารถขนถ่ายกำลังพลกลับมาได้ 120,000 นาย ในวันที่ 27 พฤษภาคม รัฐบาลสหราชอาณาจักรได้ทำการขอความร่วมมือพลเรือนที่ครอบครองเรือและอยู่ในพิกัด ให้ช่วยปฏิบัติการอพยพโดยการสนับสนุนเรือกระบังแคบทุกลำที่มีปริมาตรตั้งแต่ 9.14-30.48 เมตร (30-100 ฟุต) ให้แก่ทางราชการเพื่อสนับสนุนปฏิบัติการครั้งนี้ ในคืนเดียวกันนั้นการดำเนินการอพยพอย่างเป็นทางการครั้งแรกก็เริ่มต้น เรือจำนวนมากรวมถึงเรือจับปลาและเรือเก่าที่ถูกซ่อมแซมใหม่, ร่วมด้วยเรือนาวิกพานิชย์และเรือรบราชนาวี, เดินเรือไประดมพลกันที่เมืองเชียร์เนสแล้วทุกลำจึงมุ่งหน้าไปยังดันเคิร์กและล้อมชายฝั่งใกล้ๆ เพื่อขนถ่ายกองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรกลับมา แต่เนื่องจากการระดมยิงด้วยปืนใหญ่อย่างหนักโดยฝ่ายเยอรมัน มีทหารเพียง 8,000 นายเท่านั้นที่รอดกลับมาได้
เรือพิฆาตอีกสิบลำได้ถูกเรียกระดมพลเพื่อปฏิบัติการอพยพครั้งที่สองในวันที่ 28 พฤษภาคมในช่วงเช้าตรู่ แต่ก็ไม่สามารถประชิดชายฝั่งได้มากพอเนื่องจากน้ำตื้นเกินไป อย่างไรก็ตามทหารหลายพันนายก็ได้รับการช่วยเหลือออกมาได้ และแสดงให้เห็นว่าเรือลำเล็กกว่ามีประโยชน์มากกว่าเรือลำใหญ่ในบางสถานการณ์ ทำให้อู่ต่อเรือก็เริ่มค้นหาเรือที่มีขนาดพอเหมาะ และให้พวกมันไปรวมกันที่เมืองเชียร์เนส, แชทแฮม และโดเวอร์ ด้วยเรือที่มีขนาดเล็กลงทำให้จุดรวมพลสัมพันธมิตรอยู่ใกล้ขึ้น 30 ตารางกิโลเมตรภายในวันที่เดียวกัน ยุทธการหลังจากได้เรือลำเล็กแล้วประสบความสำเร็จดีเยี่ยม, พร้อมกับทหารอีก 16,000 นายที่สามารถอพยพกลับมาได้ แต่ยุทธการทางอากาศของเยอรมันก็เพิ่มขึ้นเช่นกันและเรือหลายต่อหลายลำถูกอับปางลง และอีกหลายต่อหลายลำที่ได้รับความเสียหายอย่างหนัก, รวมทั้งเรือพิฆาตเก้าลำ
ในวันที่ 29 พฤษภาคม กองกำลังยานเกราะของเยอรมันหยุดการบุกเมืองดันเคิร์กแล้วปล่อยให้ทหารราบเป็นผู้บุกซึ่งกำลังเดินทางตามมา, และลุฟวาฟฟ์ (กองทัพอากาศเยอรมัน) ยุทธวิธีที่อดอล์ฟ ฮิตเลอร์นิยมนำมาใช้ กลับไร้ผลและขาดประสิทธิภาพเทียบจากการปฏิบัติการในศึกครั้งนี้กับศึกครั้งก่อน (ศึกแห่งโปแลนด์) แต่ถึงกระนั้นก็มีทหารเพียงแค่ 14,000 นายเท่านั้นที่อพยพกลับมาในวันนั้น และในตอนโพล้เพล้ของวันที่ 30 พฤษภาคม เรือลำเล็กจำนวนมากเข้าเทียบท่าพร้อมกับทหาร 30,000 นาย ในวันที่ 31 พฤษภาคม กองกำลังสัมพันธมิตรต้อนเข้ามาสู่เมืองลา ปานน์ และเบรย์-ดันย์ ซึ่งห่างจากเมืองดันเคิร์กอีก 5 กิโลเมตร ในวันเดียวกันนั้นทหารถึง 68,000 นายถูกอพยพกลับมา และอีก 10,000 นาย ภายในคืนเดียวกัน การอพยพครั้งใหญ่ครั้งสุดท้ายคือในในวันที่ 1 มิถุนายน ทหารอีก 65,000 นายเดินทางกลับมายังอังกฤษ แต่ปฏิบัติการย่อยๆ นั้นยังคงยังคงดำเนินต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ 4 มิถุนายน
[แก้] ผลจากการรบ
รวมแล้วมีทหาร 338,226 นายที่สามารถอพยพกลับมาได้ (เป็นทหารบริเตนประมาณ 220,000 นาย และทหารฝรั่งเศสประมาณ 120,000 นาย) โดยใช้เรือทั้งหมดอย่างน้อย 900 ลำในยุทธการนี้
กองกำลังทหารที่ถูกอพยพกลับมา ต่อมาได้รับใช้ชาติในการป้องกันเกาะอังกฤษ