ศิลาโรเซตตา
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศิลาโรเซตตา เป็นหินแกรนิตสีเทาเข้มแกมชมพู (เดิมคิดว่ามีส่วนประกอบของหินบะซอลต์) เป็นจารึก 2 ภาษา คือภาษาอียิปต์ และภาษากรีก โดยใช้อักษร 3 แบบ คือ อักษรภาพอียิปต์ หรืออักษรที่พัฒนามาจากอักษรภาพอียิปต์ก่อนคริตสกาล, อักษรเดโมติกของกรีก(ก่อนคริตสกาล 520 ปี) และอักษรกรีก นับเป็นจารึกที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการศึกษาประวัติศาสตร์และภาษาอียิปต์โบราณ เนื่องจากนักโบราณคดีรู้จักภาษากรีก ทำให้สามารถไขความหมายจากอักษรอื่นๆ ซึ่งจารึกไว้โดยมีเนื้อความอย่างเดียวกันได้
หินโรเซตตานี้ถูกนำไปจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์บริติชมิวเซียม ในประเทศอังกฤษ นับตั้งแต่ ค.ศ. 1802 โดยเว้นอยู่ช่วงหนึ่งเท่านั้น ครั้นปลายสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อ ค.ศ. 1917 ทางพิพิธภัณฑ์กังวลว่าจะมีการระเบิดอย่างหนักในกรุงลอนดอน จึงได้ย้ายจารึกนี้ไปยังสถานที่ปลอดภัย พร้อมกับวัตถุสำคัญอื่นๆ ที่สามารถจะเคลื่อนย้ายได้สะดวก อีกสองปีต่อมา จารึกนี้ได้อยู่ในสถานีรถไฟใต้ดินโพสทัลบูบ ซึ่งลึกลงไป 50 ฟุต ที่เมืองโฮลบอร์น
จารึกแท่งนี้มีความสูง 114.4 เซนติเมตร ปลายยอดแหลม มีความกว้าง 72.3 เซนติเมตร และหนา 27.3 เซนติเมตร
ศิลาโรเซตตา เป็นบทความเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น |