วัดศรีโคมคำ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คุณสามารถช่วยตรวจสอบ และแก้ไขบทความนี้ได้ด้วยการกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน กรุณาเปลี่ยนไปใช้ป้ายข้อความอื่น เพื่อระบุสิ่งที่ต้องการตรวจสอบ หรือแก้ไข ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ วิธีการแก้ไขหน้าพื้นฐาน คู่มือการเขียน และ นโยบายวิกิพีเดีย และเมื่อแก้ไขตามนโยบายแล้ว สามารถนำป้ายนี้ออกได้ |
วัดศรีโคมคำ | |
---|---|
วัดศรีโคมคำ | |
ที่ตั้ง | ตำบลเวียง |
ความสำคัญ | เป็นวัดคู่เมืองพะเยา |
พระอารามหลวง | ชั้นตรี ชนิดสามัญ |
วัดศรีโคมคำ ตั้งอยู่ริมกว๊านพะเยา เลขที่ ๖๙๒ ถนนพหลโยธิน ต.เวียง อ.เมือง จ.พะเยา เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองพะเยา สร้างราวพุทธศตวรรษที่ 20 ประดิษฐานพระเจ้าตนหลวง พระพุทธรูปใหญ่ที่สุดในแผ่นดินล้านนา
[แก้] ประวัติความเป็นมา
วัดศรีโคมคำ ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองพะเยา ถนนโยธิน ห่างจากตัวเมืองไปทางเหนือประมาณ ๑,๐๐๐ เมตร ด้านทิศใต้ - ทิศตะวันตก ติดกับกว๊านพะเยา ทิศเหนือ – ตะวันออก ติดกับถนนพหลโยธิน เริ่มก่อสร้างองค์พระประธาน (พระเจ้าตนหลวง) เมื่อ พ.ศ. ๒๐๓๔ มาสำเร็จบริบูรณ์เมื่อ พ.ศ. ๒๐๖๗ ประมาณ ๓๓ ปี จัดเป็นวัดโดยสมบูรณ์
การก่อสร้างในสมัยนั้น พระเมืองตู้ เจ้าผู้ครองเมืองพะเยาผู้ทรงอุปถัมภ์ ในกาลต่อมาหัวเมืองต่าง ๆ ของล้านนาไทยหลายหัวเมืองถูกข้าศึกพม่าเข้ารุกราน ทำให้ประชาชนและทรัพย์สินแก่ข้าศึก แม้ทรัพย์สินของพระศาสนาก็ต้องทอดทิ้งปล่อยให้ปรักหักพัง บ้านเมืองรกร้างว่างเปล่าอยู่ประมาณ ๕๖ ปี ถึง พ.ศ. ๒๓๘๗ ทรงโปรดเกล้าแต่งตั้งนายพุทธวงศ์ เมืองลำปาง เป็นพระยาประเทศอุดรทิศ ขึ้นมาครองเมืองพะเยา ทรงตั้งนายมหายศ เป็นพระยาอุปราช ครั้นพระยาประเทศอุดรทิศถึงแก่อนิจกรรมไปทรงโปรดเกล้าฯ นายมหายศขึ้นครองเมืองพะเยาแทน ทรงตั้งเจ้าบุรีรัตน์ขั้นเป็นพระยาอุปราชแทน ท่านทั้งสองได้เริ่มบูรณะองค์พระประธาน และบูรณะวัดศรีโคมคำขึ้นใหม่ เริ่มก่อสร้างพระวิหารและเสนาสนะขึ้นมีสภาพเป็นวัดสมบูรณ์
ต่อจากนั้นเจ้าผู้ครองเมืองพะเยาอีกพะเยาอีกหลายองค์ เช่น เจ้าหลวงอินทะชมพู เจ้าหลวงขัตติยะ เจ้าหลวงชัยวงศ์ จนถึงองค์สุดท้าย คือ พระยาประเทศอุดรทิศ (มหาชัย ศีติสาร) ครองเมืองพะเยา ทุกองค์ได้บูรณะปฏิสังขรณ์วัดศรีโคมคำ พระวิหารหลังเก่าสร้างมานานชำรุดทรุดโทรม พระยาประเทศอุดรทิศทรงรื้อแล้วก่อสร้างใหม่ โดยนายพัฒน์เป็นช่างก่อสร้างก่อสร้างเป็นเวลานานไม่เสร็จนายช่างพัฒน์มาถึงแก่กรรมไป จึงทอดทิ้งไว้ ครั้นต่อมาการปกครองบ้านเมืองได้เปลี่ยนแปลงจากเจ้าผู้ครองเมืองมาเป็นระบบการปกครองเป็นมณฑล เรียก มณฑลพายัพ กระจายอำนาจการบริหารออกเป็นจังหวัด อำเภอ ตำบลหมู่บ้าน ตำแหน่งเจ้าผู้ครองก็เลิกร้างไป พระยาประเทศอุดรทิศกราบบังคมลาออกจากตำแหน่งทางการ จึงตั้งนายคลาย บุษยบรรณ มาเป็นนายอำเภอเมืองพะเยา
ในสมัยนั้นพระยาประเทศอุดรทิศแม้พ้นจากตำแหน่งแล้วก็ยังให้การอุปถัมภ์วัดศรีโคมคำเช่นเดิม มิได้ทรงทอดทิ้ง ขณะนั้นได้ทราบกิตติศัพท์ว่า ครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทยเกิดขึ้น ท่านสังกัดอยู่วัดบ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูนท่านมีบารมีธรรมสูง ทำการสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์โบราณวัตถุสถาน ในเขตท้องที่จังหวัดลำพูน - เชียงใหม่ มีประชาชนเลื่อมใสมาก ข่าวนี้ได้แพร่สะพัดทั่วไปในแถบล้านนาไทย จึงได้ประชุมปรึกษากัน ทางฝ่ายคณะสงฆ์มีพระครูศรีวิราชวชิรปัญญาเจ้าคณะแขวงเมืองพะเยาเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ทางฝ่ายบ้านเมืองมีพระยาประเทศอุดรทิศ อดีตเจ้าผู้ครองเมือง และนายคลาย บุษยบรรณ นายอำเภอเมืองพะเยา พร้อมด้วยพ่อค้า คหบดีประชาชนต่างก็มีความเห็นชอบพร้อมเพรียงกัน จังไปอาราธราครูบาศรีวิชัยมาเป็นประธานก่อสร้างพระวิหารวัดศรีโคมคำ โดยใช้ให้พระปัญญา วัดบ้านปิน และจ่าสิบตำรวจเอกอ้าย พูนชัยไปอาราธนานิมนต์ท่านมาสร้างพระวิหาร ท่านสอบถามถึงประวัติความเป็นมาของพระเจ้าตนหลวงว่าเป็นมาอย่างไร
เมื่อได้รับทราบตำนานว่าเป็นโบราณวัตถุอันเก่าแก่มีกลักฐานแน่นอน ท่านจึงรับว่าจะมานร้าง แต่มีเงื่อนไขว่า ให้คณะสงฆ์และประชาชนชาวพะเยาเตรียมวัสดุไว้ให้พร้อม อาทิ อิฐ ปูน ทราย หิน เหล็ก ไว้ให้พร้อม พระครูศรีวิราชวชิรปัญญา เจ้าคณะแขวงเมืองพะเยา จึงได้ประชุมปรึกษาคณะสงฆ์ เจ้าคณะหมวด เจ้าอาวาส ภิกษุสามเณรทุกวัดวาอาราม เข้ามาตั้งปางกระท่อม ปั้นอิฐก็ได้ประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ ก้อน ทราย กิน โดยขอความร่วมมือผู้มีกำลังต่างก็หามาไว้จนครบถ้วนแล้วไปอาราธนาท่านอีกครั้งหนึ่ง เมื่อวัสดุอุปกรณ์ครบถ้วยแล้ว ท่านอีกครั้งหนึ่ง
เมื่อวัสดุอุปกรณ์ครบถ้วนแล้ว ท่านรับนิมนต์ทันทีแล้วเตรียมเอาพระภิกษุผู้ชำนาญการกรอสร้างมาเป็นบริวาร ออกเดินทางมาจากจังหวัดลำพูนตามลำดับเส้นทานจนถึงเมืองพะเยา เมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๕ ตรงกับวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๔ เหนือ วันที่ ๒๘ ธันวาคมพ.ศ. ๒๔๖๕ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เริ่มลงมือรื้อพระวิหารหลังเก่าจนเสร็จเรียบร้อย วันเสาร์ที่ ๖ มกราคมพ.ศ. ๒๔๖๖ ตรงกับวัน ๗ ฯ ๒ ค่ำ ปี จอ จุลศักราช๑๒๔๘ วางศิลาฤกษ์ ลงเสาพระวิหารใหญ่ต่อจากนั้นก็เทเสราพระวิหารต้นอื่นต่อไป ขุดรายฝาผนัง ก่อฝาผนัง และก่อกำแพงล้อมรอบ สร้างศาลาบาตร(ศาลาราย)รอบกำแพงวัดสร้างพระอุโบสถ พระวิหาร พระพุทธบาทจำลอง สร้างพร้อมกันทั้งหมดทุก ๆ หลังในคราวเดียวกัน และก่อสร้างภายในปีเดียวเหมือนเนรมิต คิดค่าก่อสร้างเป็นจำนวน ๑๑๓,๐๐๐ รูปี (รูปีหนึ่งคิดราคา ๗๕ สตางค์)
ครั้นวันที่ - มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๗ ทำบุญฉลองพระวิหารพร้อมกับศาสนาวัตถุอื่น ๆ ที่ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงทำบุญฉลองพระวิหารนานประมาณ ๑ เดือน จึงแล้วเสร็จ หลังจากทำบุญฉลองแล้วครูบาพระศรีวิชัยก็กลับไปจังหวัดเชียงใหม่เริ่มสร้างวิหารวัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ จึงได้มอบหมายให้พระครูบาแก้ว คนฺธวํโส เป็นผู้รับภาระธุรการดูแลรักษาโบราณวัตถุและพระวิหารแทน
วัดศรีโคมคำ ได้สร้างมานานประมาณ พ.ศ. ๒๐๓๔ ตั้งแต่เริ่มสร้างพระเจ้าตนหลวงมาแล้ว เจ้าอาวาสองค์แรกที่ปรากฏในตำนานคือพระธรรมปาล ท่านผู้นี้ได้ทำประโยชน์อันยิ่งใหญ่ คือได้เขียนตำนานพระเจ้าตนหลวงออกเผยแพร่แก่ประชาชนที่หนีภัยสงครามแล้วกลับเข้ามาสู่เมืองพะเยา ภายหลังได้ทราบเรื่องราวตำนานนี้แล้วก็เกิดศรัทธาปสาทะยิ่งใหญ่ อยู่ต่อมาอีกประมาณ ๔๐๔ ปี จุลศักราช ๑๒๑๙ พ.ศ. ๒๔๐๐ พระกัปปินะเป็นเจ้าอาวาสอักครั้งหนึ่ง มีบันทึกในหนังสือสมุดข่อย บันทึกไว้ว่า แสนทักขิณะ เขียน ดวงชาตาพระเจ้าตนหลวง มีพระธรรมปาละ เขียนไว้ให้ท่านได้รับทราบ แสดงว่าวัดศรีโคมคำเป็นวัดมาแต่โบราณกาล แต่มาในยุคหลังบ้านเมืองตกอยู่โยกย้ายไปอยู่ตามหัวเมืองที่ปลอดภัยจากข้าศึก ทำให้บ้านเมือง วัดวาอารามรกร้างว่างเปล่าไป ต่อมาภายหลังได้สถาปนาเมืองพะเยาขึ้น บ้านเมือง วัดวาอารามก็ถูกบูรณะก่อสร้างขึ้นโดยลำดับ
วัดศรีโคมคำ เริ่มก่อสร้างขึ้นหลังสุดเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๕ พระครูศรีวิราชปัญญา เจ้าคณะแขวงเมืองพะเยาเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ทางฝ่ายบ้านเมือง อดีตเจ้าผู้ครองเมืองพะเยา พระยาประเทศอุดรทิศ และอดีตนายอำเภอเมือพะเยา คือ หลวงสิทธิประสาสน์ (นายคลาย บุษยบรรณ) นายอำเภอเมืองพะเยาคนแรก ได้ร่วมใจกันอาราธนานิมนต์พระครูบาศรีวิชัย จังหวัดลำพูน มาเป็นประธานนั่งหนักในการก่อสร้างเสนาสนะต่าง ๆ จนสำเร็จบริบูรณ์ดังได้กล่าวมาข้างต้นแล้ว ท่านก็มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดศรีโคมคำ ลำดับเจ้าอาวาสมีดังนี้
- พ.ศ. ๒๔๖๕ - ๒๔๖๗ พระครูศรีวิราชวชิรปัญญา เจ้าคณะแขวงเมืองพะเยาเป็นเจ้าอาวาส
- พ.ศ. ๒๔๘๘ - ๒๕๐๖ ครูบาปัญญา ปญฺโญ เป็นเจ้าอาวาส
- พ.ศ. ๒๕๐๖ – ๒๕๐๙ ครูบาแก้ว คนฺธวํโส เป็นเจ้าอาวาส
- พ.ศ. ๒๕๐๙ พระโสภณธรรมมุนี เจ้าคณะอำเภอเมืองพะเยา (พระธรรมวิมลโมลี)เป็นผู้รักษาการในตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดศรีโคมคำ และได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๑๑ จนถึงปัจจุบัน
วัดศรีโคมคำ เป็นบทความเกี่ยวกับ อาคาร หรือ สถานที่สำคัญ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น |