ราชวงศ์หมิง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราชวงศ์หมิง เป็นราชวงศ์ที่ปกครองประเทศจีน ระหว่าง ค.ศ. 1368 ถึง ค.ศ. 1644 เป็นเวลารวม 276 ปี โดยปกครองต่อจากราชวงศ์หยวนหรือพวกมองโกล และพ่ายแพ้ให้กับราชวงศ์ชิงของพวกแมนจูในภายหลัง
ราชวงศ์หมิงเป็นราชวงศ์ที่รุ่งเรืองในด้านวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก ในยุคนี้มีการสำรวจทางทะเลอย่างกว้างขวาง ราชวงศ์หมิงในตอนต้นถือเป็นอาณาจักรที่ก้าวหน้าที่สุดในโลก ณ ช่วงเวลานั้น
คุณสามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้! โดยการกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน จากนั้นจัดหน้าให้เหมาะสม แบ่งหัวข้อ ทำลิงก์ภายในสำหรับคำสำคัญ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ การแก้ไขหน้า การแก้ไขหน้าพื้นฐาน และ นโยบายวิกิพีเดีย |
สารบัญ |
[แก้] จักรพรรดิพระองค์ที่ 2
หมิงฮุ่ยตี้ เมื่อหมิงไท่จู่สวรรคต องค์ชายจูหยุนเหวิน( 朱 允 炆 ) ขึ้นครองราชสมบัติ ทรงพระนามว่าฮุ่ยตี้ ( 恵 帝 ) ใ ช้ศักราชประจำพระองค์ว่าเจี้ยนเหวิน ( 建 文 )ทรงดำเนินนโยบายลดทอนอำนาจของบรรดาหวางต่างๆ อย่างเข้มงวด หวาง 5 องค์ถูกย้ายออกจากเมืองที่ประทับ บางองค์ถูกปลด บางองค์ต้องฆ่าตัวตาย เยี่ยนหวางจูตี้เองก็ถูกแพ่งเล็งเนื่องจากเป็นผู้ที่มีบทบาทมากในการศึกในคราวก่อนๆ
อนึ่งก่อนที่หมิงไท่จู่จะสวรรคตทรงมีราชโองการห้ามหวางองค์ต่างๆ เข้ามาถวายบังคมพระศพเพราะเกรงจะก่อรัฐประหาร แต่เยี่ยนหวางไม่ยอมทำตามราชโองการนี้นำทหารราชองครักษ์เดินทางมาหนานจิง แต่มีราชโองการของจักรพรรดิส่งมาห้าม พระองค์จึงจำเป็นต้องกลับไปที่เป่ยผิง หลังจากสะสมอาวุธและฝึกซ้อมทหารใช้ชำนาญพระองค์จึงตัดสินพระทัยชิงลงมือยกทัพจากเป่ยผิงลงใต้เผชิญหน้ากับหลานชาย โดยอ้างว่าเพื่อกำจัดเหล่าขุนนางกังฉินสอพลอที่อยู่รอบข้างองค์จักรพรรดิ มีบันทึกว่าก่อนที่พระองค์จะนำกองทัพยกออกจากเมืองเกิดพายุพัดแรงจนกระทั่งหลังคาวังจนหักพังเสียหายซึ่งพระองค์กล่าวว่าเป็นเพราะได้เวลาที่พระองค์จะได้เสด็จเข้าไปประทับที่พระราชวังหลังคาเหลืองแล้ว
การต่อสู้เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ ค.ศ. 1399 นานถึง 3 ปี ในระยะแรกพระองค์เป็นฝ่ายเสียเปรียบเนื่องจากฝ่ายจักรพรรดิมีกองทหารปืนไฟ ซึ่งมีอานุภาพสงทำให้ต้องทรงถอยทัพกลับไปทางเหนือแต่ทหารทางใต้ไม่คุ้นเคยกับอากาศหนาวทางภาคเหนือจึงล้มป่วยเสียชีวิตไปเป็นจำนวนมาก จนกระทั่ง ค.ศ. 1402 กองทัพของพระองค์ยกมาถึงชานกรุงหนานจิงกองทัพฝ่ายวังหลวงไม่สามารถต้านทานได้อีกเนื่องจากไม่มีแม่ทัพที่ชำนาญศึกเพราะถูกประหารไปตั้งแต่ปลายรัชกาลของหมิงไท่จู่ เหล่าขุนนางต่างพากันมาสวามิภักดิ์มากขึ้น ในวันที่พระองค์สามารถเข้าสู่ภายในเมืองได้ ปรากฏว่าเกิดเพลิงไหม้ภายในวังหลวงมีผู้พบพระศพของ ฮองเฮากับพระราชโอรสของหมิงฮุ่ยตี้ถูกเพลิงครอกภายในวังชั้นในแต่ไม่มีใครพบพระศพของหมิงฮุ่ยตี้ ( มีผู้สันนิษฐานว่าพระองค์ลอบหนีออกไปได้และผนวชก่อนที่จะเสียเมือง ) ต่อมาอีก 39 ปี ในรัชศกจ้งถ่ง มีผู้พบพระภิกษุชรารูปหนึ่งที่มีคนจำได้ว่าคือจักรพรรดิฮุ่ยตี้ หมิงอิงจงจึงมีราชโองการให้เชิญพระองค์มาประทับที่กรุงเป่ยจิง ที่ประทับของพระองค์ถูกปิดเงียบและสวรรคตอย่างสงบในกรุงเป่ยจิงนั่นเอง
[แก้] จักรพรรดิพระองค์ที่ 3
หมิงเฉิงจู่ หลังจากปราบดาภิเษกขึ้นเป็นจักรพรรดิองค์ที่สามของราชวงศ์หมิงแล้ว องค์ชายจูตี้ (朱 棣) ) เฉลิมพระนามว่าหมิงเฉิงจู่ ( 成 祖 )ในศักราชว่า หย่งเล่อ ( 永 乐 ) มีราชโองการให้ประหารขุนนาง พระองค์ทรงระแวงว่าเป็นจงรักภักดีต่อพระนัดดาของพระองค์กว่า 870 คน นอกจากนี้ยังดำเนินนโยบายลดทอนอำนาจเจ้าองค์อื่นๆ อย่างเข้มงวด เช่น ห้ามมีกองทหารประจำเมืองให้มีได้แต่ทหารรักษาพระองค์จำนวนหนึ่ง ห้ามเจ้าแต่ละเมืองติดต่อกันเองโดยไม่ได้รับพระราชานุญาต ภาระกิจแรกที่พระองค์ทำคือดำริย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่เป่ยผิงอันเป็นฐานที่มั่นของพระองค์ด้วยเหตุผลว่าป้องการรุกรานของชนกลุ่มน้อยทางเหนือ ค.ศ. 1404 มีราชโองการให้อพยพคนมากมายหลายแสนคนจาก เมืองหนานจิง มณฑลซานซี และมณฑลเจ้อเจียง แบ่งเป็น 5 สายเข้ามายังปักกิ่ง พร้อมกับเป็นการหาแรงงานเพื่อสร้างพระราชวังที่ประทับของจักรพรรดิในเมืองหลวง ซึ่งก็คือ "พระราชวังต้องห้าม"
ในการนี้ต้องเกณฑ์คนหนึ่งแสนพร้อมกับช่างฝีมืออีกหลายพันคน การก่อสร้างพระราชวังต้องห้ามนี้กินระยะเวลานานถึง 15 ปี พระองค์ให้ความสำคัญกับการก่อสร้างพระราชวังต้องห้าม แห่งนี้ เป็นอย่างมากโดยในปี ค.ศ. 1406 ได้เสด็จมาตรวจตราการก่อสร้างด้วยพระองค์เอง ในปี ค.ศ. 1413 พระองค์จึงทรงย้ายจากหนานจิงมาประทับที่เป่ยจิง เป็นการถาวร แต่ดูเหมือนสวรรค์จะไม่ยินดีกับพระราชวังแห่งนี้เท่าใดนัก เพราะเพียงไม่กี่เดือนหลังเฉลิมพระมณเฑียรก็มีฟ้าผ่าลงพระที่นั่งและเกิดเพลิงไหม้อาคารต่างๆ หลายหลัง ซ้ำยังเกิดแผ่นดินไหวในปี ค.ศ. 1416 จนต้องซ่อมแซมกว่าจะสำเร็จก็นานถึง 4 ปี แต่พระองค์กลับมีโอกาสได้ประทับอยู่ในพระราชวังที่ยิ่งใหญ่ที่สุดนี้ไม่เกิน 4 ปี เพราะต้องนำทัพออกไปรบกับพวกมองโกล 5 ครั้ง คือ ในปี ค.ศ. 1410, 1422 1423 และ 1424
ในปี ค.ศ. 1403 พระองค์มีราชโองการโปรดให้ราชบัณฑิตกว่าสองพันคน พร้อมด้วยผู้อำนวยการใหญ่ 5 คน รองผู้อำนวยการอีก 20 คน จัดทำ “หย่งเล่อต้าเตี่ยน” สารานุกรมรวบรวมความรู้ทางวิชาการสาขาต่างๆ ทั้งหมด ใช้เวลาจัดทำ 4 ปี เป็นหนังสือกว่า22,937 บรรพ มหาสารานุกรมชุดนี้มีต้นฉบับ 1 ชุดและสำเนาอีก 2 ชุดเก็บรักษาไว้แต่หายสาบสูญไปจนปัจจุบันเหลือเพียง 370 บรรพ
พระราชภารกิจที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือโปรดให้จัดสร้างกองเรือ “เป่าฉวน” ที่มีความยิ่งใหญ่ที่สุดในขณะนั้นมีทั้งสิ้น 62 ลำ ลำที่ยาวที่สุดวัดได้ 140 เมตร กว้าง 60 เมตร แต่ละลำประกอบด้วย ทหาร นายแพทย์ ล่าม นายกองเรือคือ เจิ้งเหอ ( 郑 和) )ขันทีคนสนิทของพระองค์ที่เดินทางออกทะเลล่องไปทั่วโลก 7 ครั้งในรอบ 28 ปี ไปไกลถึง อินเดีย แอฟริกา นำสินค้าไปแลกเปลี่ยนกับชาติต่างๆ รวมทั้งเข้ามาถึงกรุงศรีอยุธยาตรงกับรัชกาลของสมเด็จเจ้านครอินทร์ และนำของหายากกลับมาถวายองค์จักรพรรดิ เจิ้งเหอนำกองทัพเรือจีนออกทะเลครั้งแรกเมื่อศักราชหย่งเล่อปีที่ 3 เดือน 7 ตรงกับ ค.ศ. 1405 โดยออกเดินทางจากท่าเรือหลิวเจียก่าง มณฑลซูโจว หมิงเฉิงจู่สวรรคตขณะยกทัพกลับจากไปรบพวกมงโกลเมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1424 พระศพถูกเชิญไปบรรจุที่สุสาน ฉานหลิง
[แก้] จักรพรรดิพระองค์ที่ 4
หมิงเหยินจง จูเกาจื้อ ราชโอรสของหมิงเฉิงจู่ องค์ชายจูเกาจื้อ( 朱 高 熾 )ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระบิดา ทรงมีพระนามว่าหมิงเหยินจง ( 仁 宗 )ใช้ศักราชหงซี ( 洪 熙 )พระองค์เลื่อมใสในลัทธิขงจื้อ จึงยกเลิกกองเรือมหาสมบัติของพระบิดาและมีพระราชดำริที่จะย้ายเมืองหลวงลงไปอยู่ที่หนานกิง ตามเดิม แต่เนื่องจากทรงครองราชย์เพียงสิบเดือนก็ประชวรสวรรคตไปก่อน แผนการต่างๆ จึงยุติไปโดยปริยาย พระศพถูกเชิญไปบรรจุที่สุสาน เสียนหลิง
[แก้] จักรพรรดิพระองค์ที่ 5
หมิงซวนจง จูเจียนจี องค์ชายจู( 朱 瞻 基 )( ค.ศ. 1426-1435 ) ครองราชย์ทรงพระนามว่าหมิงซวนจง ( 宣 宗 )รัชศกซวนเต๋อ ( 宣 徳 ) ทรงเป็นจักรพรรดิที่พระทัยอ่อน ในตอนต้นรัชกาลมีพระญาติก่อกบฏเมื่อปราบปรามได้สำเร็จพระองค์ก็มิได้ลงโทษ ในปี ค.ศ. 1431 มีราชโองการให้เจิ้งเหอเป็นแม่ทัพนำกองเรือออกเดินทางอีกเป็นครั้งที่ 7 ( ครั้งสุดท้าย ) กลับเข้ามาถึงปักกิ่งเมื่อ 1433 ทรงครองราชย์นาน 10 ปี สวรรคตเมื่อพระชนม์ได้ 36 พรรษา พระศพถูกเชิญไปบรรจุที่สุสาน จิ่นหลิง
[แก้] จักรพรรดิพระองค์ที่ 6
หมิงไท่จง ( ค.ศ. 1449 - 1457 )องค์ชายจู ( 朱 祁 鈺 )เป็นพระอนุชาของจักพรรดิอิงจง ครองตำแหน่งเฉิงหวาง หลังจากที่รู้ว่าอิงจงถูกมงโกลจับไปเป็นเชลย วันที่ 18 เดือน 8 ฮองไทเฮาจึงมีพระราชโองการตั้งเฉิงหวางเป็นผู้สำเร็จราชการ ค.ศ. 1450 จึงได้ยกขึ้นเป็นฮ่องเต้พระนามหมิงไท่จง( 代 宗 ) รัชศกจิ่งไท่ ( 景 泰 ) เดือน 10 กองทัพมงโกลยกมาถึงชานกรุงปักกิ่ง หยูเซียนเสนอให้ตั้งค่ายนอกเมืองรายไปตามประตูเมือง เหย่เซียนทำอุบายว่าจะส่งตัวหมิงอิงจงกลับขอให้ขุนนางผู้ใหญ่ออกมารับแต่หมิงไท่จงทรงรู้ทันให้ขุนนางชั้นผู้น้อยสองคนมาแทน
วันที่ 11 เดือน 10 กองทัพมงโกลบุกตีค่ายต่างๆ แต่ถูกทหารหมิงต่อต้านจนพ่ายแพ้ไปหลายครั้งทำให้ทหารเสียกำลังใจ และเริ่มขาดเสบียง กอปรกับเห็นว่าราชวงศ์หมิงมีฮ่องเต้องค์ใหม่แล้วก็ไม่สามารถใช้อิงจงเป็นเครื่องต่อรองได้ จึงทำให้ต้องถอนทัพกลับไปเมื่อวันที่ 15 เดือน 10
หมิงอิงจงถูกปล่อยให้เป็นอิสระ หมิงไท่จงจึงสถาปนาให้เป็น ไท่ซ่างหวาง ( พระเจ้าหลวง ) และจัดวังให้เป็นที่ประทับส่วนพระองค์แต่ไม่อนุญาตให้เสด็จไปมาได้ตามพระทัย
ค.ศ. 1456 หมิงไท่จงประชวรสวรรคต ขันทีเฉาจื้อเสียนรวบรวมพลพรรคก่อรัฐประหารเชิญ อิงจงกลับมาครองราชย์อีกครั้ง ครั้งนี้เปลี่ยนไปใช้รัชศกเทียนซุ่น ( 天 順 ) นาน 8 ปี จึงเสด็จสวรรคต พระศพบรรจุอยู่ที่ยู่ หลิง
[แก้] จักรพรรดิพระองค์ที่ 7
หมิงอิงจง ( ค.ศ. 1457 – 1464 )องค์ชายจูจิเจิ้น (朱 祁 鎮 ) ครองราชย์เมื่อพระชนม์ได้ 8 พรรษา ทรงพระนามว่าหมิงอิงจง ( 明 英 宗 )ใช้รัชศกว่าเจิ้งถง ( 正 統 ) เนื่องจากยังทรงพระเยาว์ราชการต่างๆ จึงตกอยู่ในมือของหวางเจิน ( 王 振 )ขันทีที่เป็นพระพี่เลี้ยง นับวันอำนาจบารมีของหวางเจินก็เพิ่มพูนมากขึ้น มีขุนนางจำนวนไม่น้อยที่ต่อต้านหวางเจินก็ถูกสมัครพรรคพวกของหวางเจินจับกุมกำจัดไป แม้ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ยังต้องเรียกหวางเจินด้วยความนอบน้อมว่า วังฝู่ แปลว่า พ่อใหญ่ เมื่อครองราชย์มาได้ 13 ปี ใน ค.ศ. 1449 เหย่เซียนซึ่งเป็นข่านของเผ่าออยเร็ต ( มงโกลเผ่าหนึ่ง ) มีความเข้มแข็งขึ้น วันที่ 1 เดือน 7 ได้ยกทัพมาตีเมืองต้าถ่ง กองทัพหมิงไม่อาจต้านทานได้ต้องเสียแม่ทัพนายกองไปหลายคน ข่าวศึกมาถึงปักกิ่งขุนนางเกิดความหวาดวิตกมาก หวางเจินซึ่งไม่มีประสบการณ์ในการทำศึกแต่อยากจะมีชื่อเสียงให้ปรากฏก็ทูลยุยงให้หมิงอิงจงนำทัพยกไปรบกับเหย่เซียนด้วยพระองค์เอง ขุนนางต่างพากันคัดค้านความคิดนี้แต่หมิงอิงจงทรงปลงใจเชื่อตามที่หวางเจินทูลทุกอย่าง ดังนั้นในวันที่ 16 เดือน 7 กองทัพหมิงที่มีพลกว่าหนึ่งแสนคนยกออกไปจากเมืองหลวงแต่ต้องเผชิญกับพายุฝนอยู่ที่ซวนฝู่ทหารล้มป่วยเป็นจำนวนมาก วันที่ 1 เดือน 8 กองทัพหมิงเดินทางไปถึงต้าถง แต่เมื่อทราบสถานการณ์ที่ไม่สู้ดีนัก หวางเจินไม่มีทางเลือกจึงทูลขอให้ยกทัพกลับทันที
วันที่ 3 เดือน 8 เมื่อถอนทัพมาถึงที่เมืองไหวไหล ขุนนางต่างมีความคิดสองแนวคือเข้าไปตั้งรับกองทัพมงโกลภายในเมืองกับรีบยกทัพกลับปักกิ่งไปให้เร็วที่สุด แต่หวางเจินเห็นว่าขบวนสัมภาระส่วนตัวยังมาไม่ถึงจึงให้ตั้งค่ายอยู่ที่นอกเมือง กองทัพมงโกลตามมาทันก็ตั้งค่ายล้อมอย่างแน่นหนาทำให้ทหารขาดเสบียงและน้ำดื่ม
วันที่ 15 เดือน 8 เหย่เซียนแกล้งแต่งคนมาเจรจาขอหย่าศึก หมิงอิงจงหลงเชื่อขณะที่กำลังถอนทัพ ทหารมงโกลก็บุกโจมตีทั้งสี่ทิศจนกองทัพหมิงพินาศ หวางเจินและแม่ทัพหลายคนตายในที่รบ อิงจงถูกจับไปเป็นตัวเชลย
หยูเซียนรองเจ้ากรมกลาโหมเรียกระดมกองทัพหัวเมืองใกล้ๆ กรุงปักกิ่งเข้ามาต้านทานกองทัพมงโกลอย่างเข้มแข็งจนต้องถอยกลับออกไป
ราชวงศ์จีน |
ราชวงศ์เซี่ย - ราชวงศ์ซาง - ราชวงศ์โจว - ราชวงศ์ฉิน - ราชวงศ์ฮั่น - ราชวงศ์จิ้น ราชวงศ์สุย - ราชวงศ์ถัง - ราชวงศ์ซ้อง - ราชวงศ์เหลียว - ราชวงศ์หยวน - ราชวงศ์หมิง - ราชวงศ์ชิง |