ยานเจมินี 5
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยานเจมินี 5 (Gemini 5 ชื่อทางการ Gemini V) ยานอวกาศมีนักบินในโครงการเจมินี ของนาซา เมื่อ พ.ศ. 2508 นับเป็นเที่ยวบินที่มีนักบินของโครงการเจมินีลำที่ 3 และของโครงการยานอวกาศทั้งหมดที่มีมนุษย์ขับขี่ลำดับที่ 11 ของสหรัฐอเมริกา (รวมทั้งการบินโดยเครื่องบินทดลองเอกซ์ 15 ที่บินสูงกว่า 100 กิโลเมตร)
สารบัญ |
[แก้] นักบิน
- กอร์ดอน คูเปอร์ หัวหน้านักบิน(นักบินอวกาศยานเมอร์คิวรี 9 และเจมินี 5)
- พีท คอนราด นักบิน (นักบินอวกาศยานเจมินี 5 อะพอลโล 12 และสกายแลบ 2)
นักบินสำรอง
- นีล อาร์มสตรอง หัวหน้านักบิน
- เอลเลียต เอ็ม ซี จูเนียร์ นักบิน
[แก้] วัตถุประสงค์ของเที่ยวบิน
ยานเจมินี 5 เพิ่มสถิติการอยู่ในวงโครจรเป็นสองเท่าของยานเจมินี 4 คือ 8 วันเท่ากับเวลาการเดินทางถึงดวงจันทร์ ปัจจัยที่เอื้อให้ทำได้ได้แก่ เซลล์เชื้อเพลิง (Fuel cell) ที่สามารถให้พลังงานไฟฟ้าได้มากขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นจุดหมุนของสิ่งประดิษฐ์ที่ทำให้โครงการอะพอลโลที่ต่อเนื่องมามีความเป็นไปได้
คูเปอร์และคอนราดจะต้องฝึกการนัดหมายกับ "ฝัก" หรือ "Pod" ที่ปล่อยออกไปจากยาน แต่เนื่องจากปัญหากำลังไฟฟ้าไม่พอจึงเปลี่ยนเป็นการนัดหมายกับจุดสมมุติที่กำหนดตำแหน่งไว้แล้วในอวกาศ กอร์ดอน คูเปอร์เป็นนักบินอวกาศที่ช่ำชองมาจากโครงการเมอร์คิวรี เป็นนักบินอวกาศคนแรกที่บินในวงโคจรมาแล้ว 2 ครั้ง ทั้งคูเปอร์และคอนราดจะต้องถ่ายภาพความละเอียดสูงให้กระทรวงกลาโหม แต่ปัญหาพลังงานไฟ้ฟ้าก็ทำให้ต้องล้มเลิกเช่นกัน ทั้งสองเลยทำได้แต่เพียงนับรอบ วงโคจร ซึ่งคอนราดได้ปรารภภายหลังว่าเสียดายที่ไม่ได้นำหนังสือขึ้นไปอ่านด้วย อย่างไรก็ดี บึนทึกทางการแพทย์บนยานได้แสดงให้เห็นว่าการบินในอวกาศเป็นเวลานานๆ มีความเป็นไปได้
คอนราดผู้ได้ชื่อว่าเป็นนักพูดตลกเมื่อมีโอกาสได้กล่าวว่า ภารกิจการบินเที่ยวนี้คือ "แปดวันในถังขยะ" (ถังขยะหมายถึงยานเจมินีที่มีขนาดเล็กประมาณรถยนต์โฟล์กสวาเกน)
[แก้] ปฏิบัติการเที่ยวบิน
การปล่อยยานออกจากฐานเป็นไปด้วยดี มีเพียงปัญหาเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับการเฉทางนอนที่เกินกำหนดในช่วง 13 วินาทีแรกซึ่งต่อมาแก้ได้ในเที่ยวบินหลังๆ วงโคจรช่วงแรกเป็นวงรีขนาดกว้าง 163 กิโลเมตร ยาว 349 กิโลเมตร
กิจกรรมแรกได้แก่การปล่อย "ฝักนัดพบ" ณ เวลา 2 ชั่วโมง 13 นาทีหลังออกจากฐานปล่อย เรดาร์ได้ตรวจสอบพบว่าฝักนัดพบเคลื่อนตัวสัมพันธ์กับยานในอัตรา 2 เมตรต่อวินาที่และในระหว่างที่ยานขาดสัญญานกับศูนย์ปฏิบัติการภาคพื้นดิน นักบินพบว่าแรงดันในเซลล์เชื้อเพลิงลดลงมากแต่ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำสุด คูเปอร์จึงตัดสินใจปิดด้วยเกรงว่าหากพลังงานไฟฟ้าไม่พออาจต้องยกเลิกปฏิบัติการบินก่อนกำหนด แต่จากการตรวจสอบพบว่าพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์เชื้อเพลิงเพียงพอต่อการอยู่ในวงโคจรต่อไป ไม่ต้องล้มเลิก
บัซ อัลดริล นักบินอวกาศที่ปฏิบัติหน้าที่ภาคพื้นดินผู้มีปริญญาเอกด้านกลไกการโคจรได้เสนอให้ใช้วิธีนัดพบกับ "จุดในอวกาศ" โดยไม่ต้องใช้ฝักนัดพบ
นักบินรู้สึกหนาวแม้จะปิดระบบความเย็นในชุดอวกาศแล้วก็ตาม นอกจากนี้ยังรู้สึกว่าดวงดาวต่างๆ นอกหน้าต่างเคลื่อนไหวทำให้เกิดความรู้สึกหลงเลยแก้ด้วยวิธีปิดหน้าต่าง การแก้ปัญหาหลับยากจากการผลัดเวรกันนอนที่เคยปฏิบัติในยานเจมินี 4 โดยให้นอนได้พร้อมกันก็ยังพบว่าหลับยากอยู่
การนัดพบที่จุดจำลองเกิดขึ้นในวันที่ 3 ซึ่งเป็นผลสำเร็จดียิ่งทั้งที่เป็นการทดลองครั้งแรก มีการทดลองบรรจบกับจุดนัดในท่าต่างๆ ทุกท่าด้วย "ระบบขับเคลื่อนและคุมระดับวงโคจร" (OAMS)
ปัญหาที่ภาคพื้นดินพบคือน้ำที่เป้น "ของเสีย" จากเซลล์เชื้อเพลิงมีมากกว่าที่คาดถึงร้อยละ 20 ปัญหาก็คือน้ำมีความเป็นกรดพอควรและต้องเก็บในถังน้ำดื่มที่มีแยกกันโดยถุง แต่จากการทดสอบต่อมาพบว่าถุงมีความจุพอรับน้ำได้ตลอดเที่ยวบิน ในวันที่ 5 แต่ก็มีปัญหาใหญ่เกิดขึ้นอีกโดยหัวจรวดเล็กปรับทิศทางไม่ทำงานไปหนึ่งหัว เป็นเหตุให้ต้องยกเลิกการทดลองบางรายการ
รายการทดลองที่กำหนดมี 17 รายการ ซึ่งได้ทดลองแล้วเสร็จทั้งหมดยกเว้นการถ่ายรูป "ฝักนัดพบ" และถ่ายภาพความละเอียดสูงพื้นโลกของกระทรวงกลาโหม รายการอื่นๆ ที่ได้ทดลองไปได้แก่การวัดความจ้าของพื้นโลกกับพื้นหลังอวกาศเพื่อการแลเห็นของนักบินว่าจะเปลี่ยนแปลงหรือไม่ในระหว่างปฏิบัติการ การทดลองอื่นๆ ได้แก่การวัดเกี่ยวกับความร้อน การเต้นของหัวใจ การกะระยะทางราบ การถ่ายภาพดวงดาวในอวกาศ การอ่านความสูงของเมฆจากยานอวกาศ
การจุดจรวดลดความเร็วเริ่ม ณ เวลา 190 ชั่วโมง 27 นาที 43 วินาทีเหนือฮาวาย แม้จะมีการควบคุมยานระหว่างการเข้าสู่บรรยากาศด้วยการหันเหยานแล้วก็ตาม ยังปรากฏว่ายานตกถึงพื้นน้ำสั้นไปถึง 130 กิโลเมตรจากจุดนัดพบ การการตรวจสอบพบว่าคอมพิวเตอร์ทำงานได้สมบูรณ์แบบ ความผิดพลาดที่การเขียนโปรแกรมเนื่องจากการป้อนอัตราการหมุนของโลกไว้ที่ 360 องศาต่อรอบแทน 360.38 องศา
ปฏิบัติการยานเจมินี 5 สนับสนุนโดยกระทรวงกลาโหม ใช้บุคลากร 10,265 คน เครื่องบิน 114 ลำ เรือ 19 ลำ
[แก้] อ้างอิง
- Wikipedia หน้าภาษาอังกฤษ
[แก้] ลิงก์ภายนอก
- Gemini 5 Mission Report (PDF) October 1965
- On The Shoulders of Titans: A History of Project Gemini: http://www.hq.nasa.gov/office/pao/History/SP-4203/cover.htm
- Spaceflight Mission Patches: http://www.genedorr.com/patches/Intro.html
- NASA data sheet: http://nssdc.gsfc.nasa.gov/database/MasterCatalog?sc=1965-068A
- U.S. Space Objects Registry http://usspaceobjectsregistry.state.gov/search/index.cfm
แม่แบบ:Project Gemini