ปอมเปอี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
[แก้] ข้อมูลคร่าวๆของเมืองปอมเปอี
เมืองปอมเปอีก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณ550 ปีก่อนคริสต์ศักราช แต่ยังเป็นเพียงเมืองของชนเผ่าเร่ร่อน จนกระทั่ง80 ปีก่อนคริสต์ศักราช ปอมเปอีจึงได้เป็นเมืองของอาณาจักรโรมัน และชาวปอมเปอีจึงได้รับการยอมรับเป็นพลเมืองโรมัน หลังจากนั้นไม่นาน ชาวโรมันที่มั่งคั่งพากันสร้างบ้านพักตากอากาศตามชายฝั่งทะเลของปอมเปอี และบริเวณลาดเขาของภูเขาไฟวิสุเวียส และผู้คนเหล่านี้ได้ลงทุนทำอุตสาหกรรมผลิดสิ่งหรูหราฟุ่มเฟือยขึ้นในเมืองนี้ และไม่นานปอมเปอีก็กลายเป็นศูนย์กลางการค้าอันมั่งคั่ง เต็มไปด้วยผูคนที่มีความสามารถสูง ภายในเมืองมีทั้งสถาปัตยกรรมต่างๆที่ไม่เหมือนใครอยู่มากมาย แต่ที่เด่นๆก็คือ หลังคาเหนือห้องโถงจะมีช่องโหว่ใหญ่ด้านกว้าง และหลังคาเอียงลาดลงไปทางรูโหว่นั้น เมื่อฝนตก น้ำฝนจะไหลลงไปตามหลังคา ลงไปตามรูโหว่ และไหลลงสู่อ่างกระเบื้องที่อยู่ใต้รูโหว่ และไหลสู่ถังเก็บน้ำ และนอกจากนี้ ยังสะพานส่งน้ำและน้ำพุสาธารณะ ซึ่งน้ำสะอาดมาก แต่ชาวปอมเปอีจะสะดวกสะบายมากต่อเมื่อมีฐานะดี แต่ครอบครัวที่ยากจนลงมาจะต้องเริ่มทำงานหาเลี้ยงตนตั้งแต่อายุยังน้อย แต่ผู้ที่ร่ำรวยส่วนมากก็เป็นทาสที่เป็นอิสระแล้ว ซึ่งคนรวยประเภทนี้ไม่มีอำนาจทางการเมือง คนที่จะมีอำนาจทางการเมืองได้นั้นจะต้องไม่เคยเป็นทาส
อุตสาหกรรมหลักของเมืองปอมเปอี คือ ผลิตเหล้าองุ่นและผ้าขนสัตว์
[แก้] หายนะของเมืองปอมเปอี
วันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 79 เวลา 13นาฬิกา 30 นาที ภูเขาไฟวิสุเวียสได้ระเบิดขึ้น ฝุ่นควัน หินพัมมิซ และก๊าซพิษจำนวนมากถูกพ่นออกมา กระแสลมในวันนั้นได้พัดพามันไปที่เมืองปอมเปอี และสตาเบีย ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของวิสุเวียส แต่เมืองปอมเปอีใกล้กว่า จึงได้รับผลกระทบมากกว่า ในช่วงเวลาไม่กี่นาที ท้องฟ้าเหนือเมืองปอมเปอีก็ถูกปกคลุมด้วยฝุ่นควันจากภูเขาไฟจนแสงอาทิตย์ไม่อาจส่องลอดมาได้ จึงตกอยู่ในความมืดคล้ายยามราตรี หลังจากนั้นไม่นาน หินพัมมิซในฝุ่นควันก็เริ่มจับตัวกันเป็นก้อนใหญ่ที่หนักขึ้น เย็นลง และเริ่มร่วงลงมาสู่เมืองปอมเปอี ชาวเมืองเริ่มวิตก บางคนรีบหนีไป บางคนไปหลบในบ้านหรือในสถานที่ส่วนรวม
ต่อมาไม่นานนัก ชาวปอมเปอีก็เริ่มหายใจไม่ออก เพราะก๊าซพิษที่ภูเขาไฟพ่นออกมาทำให้อากาศไม่สะอาด ผู้ที่พยายามจะหนีส่วนใหญ่ตาย สาเหตุการส่วนใหญ่เพราะหินพัมมิซขนาดใหญ่หล่นใส่หัว แล้วก็ล้มลงหมดสติ แล้วก็ขาดอากาศหายใจจนตายในที่สุด ตกเย็นวันเดียวกันนั้นเอง ชาวปอมเปอีที่หลบภัยในบ้านเริ่มตาย เพราะหินพัมมิซทับถมกันหนาจนบ้านถูกฝังและขาดอากาศหายใจจนตาย ต่อมาไม่นาน หลังคาบ้านก็เริ่มถล่ม เพราะรับน้ำหนักหินไม่ไหว ทำให้ผู้คนถูกฝัง
วันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 79 ช่วงเช้า วิสุเวียสระเบิดแรงขึ้น ทำให้ท้องทะเลปั่นป่วนเพราะแรงสั่นสะเทือน คลื่นชายหาดแรงมากจนบ้านพักตากอากาศริมทะเลถูกคลื่นซัดพังไปหลายหลัง ช่วงบ่าย กระแสลมเปลี่ยนทิศไปทางทิศตะวันตก(เยื้องใต้เล็กน้อย) นำพาฝุ่นควันสู่เมืองมิเซนัมและเฮอร์คิวเลเนียม แต่เฮอร์คิวเลเนียมอยู่ใกล้กว่ามาก จึงได้รับหายนะมากกว่า
วันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 79 ภูเขาไฟระเบิดเบาลง แต่ก็เกิดฝนตกลงมาบริเวณลาดเขาของภูเขาไฟวิสุเวียส ซึ่งเต็มไปด้วยเถ้าถ่านที่ร้อนจัด
วันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 79 น้ำฝนละลายผสมกับเถ้าถ่านกลายเป็นโคลนเดือดไหลทะลักลงมากลบเมืองเฮอร์คิวเลเนียม ชาวเมืองหลายร้อยคนเสียชีวิต แต่เป็นเพียงส่วนน้อย เพราะส่วนใหญ่ได้ล่องรืออพยพออกไปแล้ว ไม่นาน ปอมเปอีก็หยุดอาละวาด
ผู้รอดตายได้กลับไปยังเมืองของตน แล้วได้นำซากอาคารที่โผล่พ้นเถ้าถ่านฝุ่นควันไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น
[แก้] การขุดค้นพบเมืองปอมเปอี
ใน ค.ศ. 1534 ได้มีการขุดค้นพบซากเมืองปอมเปอีเป็นครั้งแรก แต่ก็ไม่ได้รับความสนใจ ต่อมาใน ค.ศ. 1689 คนงานขุดคลองส่งน้ำคณะหนึ่ง ได้ขุดไปเจอซากสิ่งก่อสร้างแบบโรมัน และพบเหรียญเงินและรูปปั้น ซึ่งพวกเขาได้เคลื่อนย้ายออกไป และขุดคลองต่อ
ค.ศ. 1748 ตระกูลบูร์บง ซึ่งเป็นเชื้อสายกับราชวงศ์บูร์บง ซึ่งเป็นผู้ปกครองรัฐเนเปิลส์ในอิตาลีระหว่าง ค.ศ. 1734-ค.ศ. 1861 ได้สนใจที่จะค้นหาเมืองปอมเปอี พวกเขาจึงใช้เงินจ้างคนงานไปขุดเมืองโดยกยการขุดเป็นอุโมงค์เข้าไปจนพบเมือง พวกเขาจึงสั่งให้นำสิ่งของมีค่าออกมาและเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ส่วนตัวของตระกูลบูร์บง
ค.ศ. 1861 รัฐต่างๆในอิตาลีได้รวมกันเข้าเป็นประเทศเดียวกัน ส่งผลให้ตะกูลบูร์บงล่มสลาย ชาวอิตาลีจึงให้ความสนใจกับการขุดปอมเปอีมากขึ้น จิอูเซปเป ฟีออเรลลี ได้เป็นหัวหน้าคณะนักโบราณคดี เขาได้คิดวิธีอันน่าทึ่งในการขุดปอมเปอี เช่น ร่างกายชาวปอมเปอีนั้น ได้ถูกความร้อนและกาลเวลาเปี่ยนสภาพเป็นโพรงขี้เถ้าขนาดเล็ก เขาได้เจาะรูลงไปเป็นรูเล็กๆ และเทปูนปลาสเตอร์ลงไป รอให้แห้งแล้วจึงขุดขึ้นมา ทำให้เห็นถึงท่าทางสุดท้ายของชาวเมืองหลายคนก่อนที่จะตาย
ค.ศ. 1924-ค.ศ. 1961หัวหน้าคณะนักโบราณคดีได้เปลี่ยนคนเป็น อเมดีโอ มายอูรี เขาบูรณะซ่อมแซมฝาผนังและเพดาน ข้าวของเครี่องใช้ที่นำมาศึกษาจะถูกวางไว้ที่เดิมหลังศึกษาเสร็จ และเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งผู้มาท่องเที่ยวจะสัมผัสได้ถึงชีวิตที่หรูหราในปอมเปอีและพลังอำนาจของธรรมชาติ
ปอมเปอี เป็นบทความเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น |