ปฏิกิริยาแตกตัว
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปฏิกิริยาแตกตัว (อังกฤษ:Chemical decomposition) หรือการวิเคราะห์ คือปฏิกิริยาการแตกสะลายของสารเคมีไปเป็นธาตุหรือสารประกอบที่เล็กกว่าปฏิกิริยาประเภทนี้จะเขียนสมการเคมีได้ดังนี้
- กข → ก + ข
ตัวอย่างปฏิกิริยาทางเคมีแบบวิเคราะห์คือ ปฏิกิริยาอิเล็กโตรไลสีส(electrolysis) ของน้ำดังตัวอย่างข้างล่างนี้
- 2H2O → 2H2 + O2
สมการวิเคราะห์และสังเคราะห์ทางเคมีอาจสามารถใช้อธิบายปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นได้ทั้งหมด แต่ในชีวิตประจำวันปฏิกิริยาแตกสะลายมักจะเป็นสิ่งที่เราไม่ต้องการ ความเสถียรภาพของสารประกอบเคมีจะขึ้นกับสภาพแวดล้อมเป็นสำคัญซึ่งได้แก่
- ความร้อน (heat)
- รังสี (radiation)
- ความชื้น (humidity)
- ความเป็นกรด (acidity)
[แก้] ดูเพิ่ม
ปฏิกิริยาเคมีในสารอนินทรีย์มีด้วยกัน 4 ชนิดคือ:
- ปฏิกิริยารวมตัว (combination reaction)
- ปฏิกิริยาแตกตัว (decomposition reaction)
- ปฏิกิริยาแทนที่ตำแหน่งเดียว (single displacement reaction)
- ปฏิกิริยาแทนที่คู่ซึ่งกันและกัน (double displacement reaction)
ปฏิกิริยาแตกตัว เป็นบทความเกี่ยวกับ เคมี ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น |