บัญชี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บัญชี หรือ การบัญชี เป็นการวัดผลการดำเนินงาน การเปิดเผยสิ่งที่สำรองไว้ เพื่อประกันเกี่ยวกับข้อมูลทางการเงิน ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับผู้ใช้ข้อมูลเหล่านี้ เช่น ผู้บริหาร นักลงทุน เจ้าหน้าที่สรรพากร รวมถึงผู้ที่กำลังตัดสินใจในการลงทุนอื่นๆ
การบัญชีการเงิน เป็นส่วนหนึ่งของการบัญชี ซึ่งรวมถึงวิธีการดำเนินงานทางด้านการบันทึก, แยกประภทหมวดหมู่, การสรุปผลการดำเนินงาน, การจัดทำรายงานหรืองบการเงิน รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย
การตรวจสอบบัญชี เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบความถูกต้อง เชื่อถือได้ ของรายงานทางบัญชี ระบบบัญชี และส่วนที่เกี่ยวข้องกับการทำให้เกิดข้อมูลทางบัญชี ซึ่งจะแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ ผู้ตรวจสอบภายใน และผู้ตรวจสอบภายนอกหรือผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
- ผู้ตรวจสอบภายใน จะเป็นพนักงานของกิจการนั้น ซึ่งจะขึ้นตรงกับคณะกรรมการสูงสุดของกิจการ เนื่องจากไม่ต้องการให้อยู่ภายในอำนาจการควบคุมของระดับล่างๆ ซึ่งจะมีผลให้มีการตกแต่งรายงานได้ รวมถึงยังเป็นอิสระกับการรายงานเรื่องทุจริตในกิจการได้ด้วย
- ผู้สอบบัญชีภายนอก จะไม่เป็นพนักงานของกิจการ มีความเป็นอิสระจากการควบคุมของกิจการเพื่อให้มีผลต่อการตกแต่งรายงาน และยังช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถืออีกด้วย ตามกฏหมายของไทยบังคับให้แต่ละกิจการต้องมีผู้สอบบัญชีภายนอกรับรองความถูกต้องของรายงาน หรืองบการเงินด้วย
ผู้จัดทำบัญชีต้องจัดทำข้อมูลทางบัญชีตามมาตรฐานการบัญชี ส่วนผู้ตรวจสอบบัญชีจะต้องตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชี ซึ่งมาตรฐานเหล่านี้จะจัดทำโดย สภานักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
[แก้] ประวัติการบัญชี
การบัญชีเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยสุเมเรียนในดินแดนเมโสโปเตเมีย ในช่วงแรกๆก็เป็นแค่การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณผลผลิตทางการเกษตร กับมูลค่าเหล่านั้น ส่วนวิชาการบัญชีที่มีพื้นฐานเหมือนกับระบบคณิตศาสตร์ (ระบบบัญชีคู่ ซึ่งหมายถึงการบันทึกข้อมูลทางด้านการเงินโดยมีการบันทึกทั้งด้านบวก (เดบิท หรืออาจเรียกว่าด้านลูกหนี้) กับ ด้านลบ (เครดิท หรืออาจเรียกว่าด้านเจ้าหนี้)โดยที่การบันทึกแต่ละครั้งจะต้องมียอดรวมด้านบวกรวมกับด้านลบเป็นศูนย์) เกิดขึ้นในประเทศอิตาลีก่อนปี ค.ศ.1543 โดย Luca Pacioli ได้พิมพ์หนังสือชื่อว่า Vennice ซึ่งเป็นหนังสือเกี่ยวกับการบันทึกบัญชี
[แก้] กฎหมายการบัญชี
กฏหมายการบัญชี จะกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบในการจัดทำบัญชีแก่บุคคล หรือนิติบุคคลเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจการค้า และเพื่อให้สอดคล้องกับระบบภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร เดิมมีการใช้ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 285 เป็นกฏหมายการบัญชี แต่ต่อมากฏหมายดังกล่าวล้าสมัยมาก ไม่เหมาะกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน จึงมีการตราพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543 ขึ้นใช้เป็นกฏหมายการบัญชี
ข้อมูลเกี่ยวกับ บัญชี ในภาษาอื่น สามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ๆ ด้านซ้ายมือ