ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา | |||
---|---|---|---|
IATA: UTP - ICAO: VTBU | |||
รายละเอียด | |||
ชนิด | สนามบินพาณิชย์ | ||
เมืองใกล้เคียง | ระยอง | ||
สูงจาก ระดับน้ำทะเล |
13 ม (42 ฟุต) | ||
พิกัด | |||
รันเวย์ | |||
ทิศทาง | ความยาว | พื้นผิว | |
เมตร | ฟุต | ||
18/36 | 3,505 | 11,500 | ลาดยาง |
ท่าอากาศยานอู่ตะเภา หรือสนามบินนานาชาติอู่ตะเภาตั้งอยู่ ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงเทพมหานคร อยู่เหนือระดับน้ำทะเล 18 เมตร ในพื้นที่ ตำบลพลา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง ห่างจากจังหวัดประมาณ 30 กม. และอยู่ห่าง จากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 190 กิโลเมตร ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ กองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ และ กองการท่าอากาศยาน อู่ตะเภา
โดยแรกเริ่มกองทัพเรือได้ทำการสำรวจพื้นที่เพื่อก่อสร้าง สนามบินทหารเรือบริเวณจังหวัดชลบุรีถึง จังหวัดระยองในปี พ.ศ. 2504 ในระหว่างนี้กระทรวงกลาโหม ได้อนุมัติให้ตั้งฝูงบินทหารเรือเป็นหน่วยขึ้นตรงต่อกองเรือยุทธการและใช้สนามบิน ของกองทัพอากาศที่ดอนเมืองเป็นการชั่วคราว ต่อมากองบัญชาการทหารสูงสุดได้ให้ความเห็นชอบและอนุมัติงบประมาณ การสร้างสนามบินของกองทัพเรือที่หมู่บ้านอู่ตะเภา จังหวัดระยองโดยสร้างทางวิ่งลาดยางยาวประมาณ 1,200 เมตร การก่อสร้างสนามบินของกองทัพเรือที่อู่ตะเภาดำเนินการไปได้ด้วยความเรียบร้อยแต่เนื่องจากในเวลานั้นวิกฤตการในเวียดนามได้ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น และรัฐบาลสหรัฐอเมริกาเห็นความจำเป็นที่จะต้อง มีฐานบินขนาดใหญ่ในประเทศไทยอีกแห่งหนึ่ง จึงได้มีการเจรจาระหว่างรัฐบาลขึ้น ผลสุดท้ายคณะรัฐมนตรีได้อนุญาตให้รัฐบาลสหรัฐอเมริกาสร้างสนามบินถาวรที่ทันสมัย รวมทั้งปรับปรุงสิ่ง อำนวยความสะดวกด้านการส่งกำลังบำรุงและ ได้เลือกสถานที่ก่อสร้าง ณ บริเวณสนามบินของกองทัพเรือ หมู่บ้านอู่ตะเภา จังหวัดระยอง ในปี พ.ศ. 2508 โดยใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างประมาณ 1 ปี จึงแล้วเสร็จ จอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดในขณะนั้น ได้มีคำสั่งมอบสนามบินให้กองทัพเรือใช้ราชการและ ให้เป็นผู้ดูแลรักษาโดยใช้ชื่อสนามบินว่า "สนามบินอู่ตะเภา"จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2519 สหรัฐอเมริกา ได้ถอนทหารออกจากสนามบินอู่ตะเภาและ ประเทศไทยทั้งหมดคณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้สนามบิน อู่ตะเภาเป็นสนามบินพาณิชย์ระหว่างประเทศและ ใช้เป็นสนามบินสำรองของท่าอากาศยานดอนเมือง
สารบัญ |
[แก้] รายชื่อสายการบิน
[แก้] สายการบินระหว่างประเทศ
[แก้] สายการบินภายในประเทศ
- บางกอกแอร์เวย์ (PG) (เกาะสมุย)