ดัชนีมวลกาย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดัชนีมวลกาย (BMI : Body mass index) เป็นค่าดัชนีที่คำนวณจากน้ำหนักและส่วนสูง เพื่อใช้เปรียบเทียบความสมดุลระหว่างน้ำหนักตัว ต่อความสูงของมนุษย์ ซึ่งคิดค้นโดย Adolphe Quetelet ชาวเบลเยียม ค่าดัชนีมวลกายหาได้โดยนำน้ำหนักตัวหารด้วยกำลังสองของส่วนสูงตนเอง
โดยปกติ ให้ใช้น้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม และส่วนสูงเป็นเมตร จะได้หน่วยเป็น กก./ม.2 ซึ่งมักจะละทิ้ง
[แก้] การประเมินค่าดัชนีมวลกาย
เมื่อได้คำนวณค่าดัชนีมวลกายแล้ว ลองนำมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ดังนี้
- ผอมเกินไป: น้อยกว่า 18.5 (<18.5)
- เหมาะสม: มากกว่าหรือเท่ากับ 18.5 แต่น้อยกว่า 25 (≥18.5 แต่ <25)
- น้ำหนักเกิน: มากกว่าหรือเท่ากับ 25 แต่น้อยกว่า 30 (≥25 แต่ <30)
- อ้วน: มากกว่าหรือเท่ากับ 30 แต่น้อยกว่า 40 (≥30 แต่ <40)
- อันตรายมาก: มากกว่าหรือเท่ากับ 40 (≥40)
หมายเหตุ:
- ค่าปกตินี้ได้จากการวิจัยเชิงพรรณา หรือ เชิงบรรยาย โดยศึกษาหาข้อมูลในคนป่วย โรคต่างๆ ว่ามีดัชนีมวลกายอยู่ระหว่างค่าใด แล้วนำมาหาว่าดัชนีมวลกายในช่วงเท่าใดที่จะไม่พบว่า มีคนป่วยจะถือเป็นค่าเหมาะสม หรือ ค่าปกติ
- ค่าสำหรับชาวเอเชีย พบว่าประเทศอากาศร้อน ความอ้วนจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ดังนั้น ดัชนีมวลกายจะน้อยกว่าค่าข้างต้นซึ่งเป็นค่าของประเทศเมืองหนาว จะต้องมีไขมันเพื่อปกป้องร่างกายจากความหนาว ในชาวเอเชีย จึงถือค่าประมาณ 18-23 เป็นค่าที่เหมาะสมสำหรับชาวเมืองร้อน
- การประเมินค่าดัชนีมวลกายนั้น จะต้องคำนึงถึงตัวแปรต่าง ๆ ด้วย ดังเช่นมวลกล้ามเนื้อ มวลไขมัน เพราะฉะนั้นดัชนีมวลร่างกายข้างต้นจะไม่สามารถนำไปใช้ได้กับผู้ที่มีมวลกล้ามเนื้อมาก เช่น นักกีฬา นักเพาะกาย ที่อาจจะมีน้ำหนักมากเกิน 100 กิโลกรัมแต่ไม่จัดอยู่ในขั้นอ้วนหรืออันตรายมาก