จุลศักราช
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จุลศักราช (จ.ศ.) เป็นศักราชที่เริ่มเมื่อ พ.ศ. 1181 (ค.ศ. 638) เดิมเข้าใจกันว่าเป็นศักราชของพม่า ทว่าปีที่ตั้งนั้นอาณาจักรพุกามยังไม่เกิด ปัจจุบันสันนิษฐานว่าน่าจะตั้งในปีที่พระเจ้าอนุรุทธราชาธิราช กษัตริย์ศรีเกษตรขึ้นครองราชย์ เมื่อพม่าอพยพจากทิเบตเข้าไปในดินแดนนี้ จึงรับศักราชนี้ไปใช้ เลยเกิดความเชื่อกันว่าเป็นศักราชของชาวพม่า จุลศักราชถูกนำมาใช้แพร่หลายทั้งในอาณาจักรล้านนา อาณาจักรสุโขทัย และอาณาจักรอยุธยา และตกทอดมาถึงปัจจุบัน
การคำนวณปี พ.ศ. จาก จ.ศ. ปฏิทินไทยให้ใช้ปี จ.ศ. บวก 1181 ก็จะได้ปี พ.ศ.
ในเอกสารโบราณของไทยจำนวนไม่น้อย นิยมอ้างเวลา โดยใช้จุลศักราช โดยใช้ควบคู่กับปีนักษัตร หรือ ระบุเฉพาะเลขตัวท้ายของจุลศักราช และปีนักษัตร ทำให้สามารถระบุปี ได้ในช่วงกว้างถึงรอบละ 60 ปีเลยทีเดียว
[แก้] การเรียกศกตามเลขท้ายปี
ในระบบการเรียกศกตามเลขท้ายปีจุลศักราช นิยมเรียกด้วยศัพท์บาลี ดังนี้
- ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 1 เรียก "เอกศก"
- ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 2 เรียก "โทศก"
- ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 3 เรียก "ตรีศก"
- ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 4 เรียก "จัตวาศก"
- ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 5 เรียก "เบญจศก"
- ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 6 เรียก "ฉศก"
- ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 7 เรียก "สัปตศก"
- ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 8 เรียก "อัฐศก"
- ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 9 เรียก "นพศก"
- ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 0 เรียก "สัมฤทธิศก"
จุลศักราช เป็นบทความเกี่ยวกับ ปี เดือน วัน ศตวรรษ หรือช่วงเวลาต่าง ๆ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น |
[แก้] อ้างอิง
- ตำนานพระแก้วมรกต ฉบับภาษาไทย ท้ายพระราชพงศาวดารเหนือ
- ชำนาญ สัจจะโชติ, ศรีวิชัย กับพระแก้วมรกต, บริษัท งานดี จำกัด (ในเครือมติชน) , กรุงเทพมหานคร , กันยายน 2548
- ยุทธพร นาคสุข, ศักราชและความเข้าใจคลาดเคลื่อนเรื่องมหาศักราชและจุลศักราชในพื้นเมืองเชียงใหม่ [1]
- วันวาร กาลเวลา แลนานาศักราช, กรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ, พ.ศ. 2546, หน้า 67-69