จิตสวนศาสตร์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จิตสวนศาสตร์ (จิด-ตะ-สะ-วะ-นะ-สาด; ภาษาอังกฤษ: Psychoacoustics) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับประสาทสัมผัสของมนุษย์ด้านการได้ยิน
[แก้] พื้นฐาน
การประยุกต์ใช้งานด้านการประมวลสัญญาณเสียงจำเป็นต้องทราบถึงลักษณะการได้ยินของมนุษย์ เสียงเป็นคลื่นที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงความดันของอากาศ เมื่อกระทบกับอวัยวะภายในหูจะส่งสัญญาณประสาทไปยังสมองเพื่อประมวลเสียงที่ได้มา
[แก้] ขีดจำกัดของประสาทสัมผัส
อวัยวะของมนุษย์ที่ใช้รับฟังเสียง คือ หู สามารถรับรู้ได้ในช่วงตั้งแต่ความถี่ 20 Hz ถึง 22 kHz เมื่ออายุเพิ่มขึ้นช่วงการได้ยินนี้จะลดลง โดยเฉพาะช่วงความถี่สูงๆ ความถี่ที่ต่ำมากๆ นั้นมนุษย์ไม่สามารถได้ยินแต่สามารถรู้สึกได้ผ่านทางผิวหนัง
การแยกแยะความถี่เสียง 2 ความถี่ของมนุษย์มีลักษณะไม่เชิงเส้นตลอดย่านความถี่ที่มนุษย์สามารถรับรู้ได้ โดยในย่านความถี่เสียงต่ำๆ นั้นสามารถแยกแยะความแตกต่างเมื่อความถี่ทั้งคู่แตกต่างกันเพียงไม่กี่ Hz ในขณะที่ในย่านความถี่เสียงสูงๆ สามารถแยกแยะความแตกต่างของเสียงทั้งสองเมื่อความแตกต่างของความถี่มีค่า เช่น 1 kHz ในย่านความถี่ 4 kHz เป็นต้น
[แก้] ปรากฏการณ์การบดบัง
- (รอการเพิ่มเติมเนื้อหา)
จิตสวนศาสตร์ เป็นบทความเกี่ยวกับ วิชา ความรู้ และศาสตร์ต่างๆ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น |