คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เภสัชศรีนครินทรวิโรฒ
ชื่อไทย | คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ |
ชื่ออังกฤษ | Faculty of Pharmacy, Srinakharinwirot University |
คำขวัญ | "คุณค่าของยาอยู่ที่การพัฒนาความรู้คู่เภสัชกร" |
ผู้ก่อตั้ง | เภสัชกรหญิงผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชวนี ทองโรจน์ |
วันที่ก่อตั้ง | 25 มกราคม พ.ศ. 2539 |
ความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น | องค์การเภสัชกรรม มหาวิทยาลัยแห่งนอตติงแฮม |
คณบดี | ผศ.ดร.อรลักษณา แพรัตกุล |
วารสารคณะ | ศรีนครินทรวิโรฒเภสัชสาร |
หน่วยงานที่มีชื่อเสียง | โครงงานวิจัยทางเภสัชศาสตร์ |
ชื่อสถานปฏิบัติการชุมชน | รพ.องครักษ์ |
ที่อยู่ | เลขที่ 63 หมู่ที่ 7 ถนน รังสิต-นครนายก อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก 26120 |
โทรศัพท์ | 0-3739-5094-5 |
โทรสาร | 0-3739-5096 |
เว็บไซต์ | pharm.swu.ac.th |
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (อังกฤษ: Faculty of Pharmacy, Srinakharinwirot University) เป็นสถาบันการศึกษาเภสัชศาสตร์ลำดับที่ 9 และเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ จังหวัดนครนายก ได้รับอนุมัติให้ดำเนินการจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535
สารบัญ |
[แก้] สาขาวิชา
- ชีวเภสัชศาสตร์เป็นการศึกษาพื้นฐานสำหรับวิชาชีพเภสัชกกรมและวิทยาศาสตร์การแพทย์ เช่น
- ชีวเคมี
- กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา
- เภสัชวิทยา
- พิษวิทยา
- จุลชีววิทยา
- พยาธิวิทยา
เป็นการศึกษาวิทยาการและเทคโนโลยีการผลิตยาในรูปแบบต่างๆ ซึ่งสำคัญต่ออุตสาหกรรมการผลิตยาในประเทศไทย เตรียมความพร้อมเพื่อการทำงานในอุตสาหกรรมยา นอกจากนี้นิสิตยังมีโอกาสได้เรียนรู้ศาสตร์แห่งเครื่องสำอางซึ่งกำลังเป็นที่นิยมในขณะนี้ด้วย
เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างทางเคมีของยากับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและพิษวิทยาของยา การวิเคราะห์และควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ยา การศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับสมุนไพรซึ่งกำลังเป็นที่นิยม ทั้งที่นำมาใช้ทางการแพทย์และผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
- เภสัชกรรมคลินิกและเภสัชกรรมสังคม
นิสิตจะได้เรียนรู้การใช้ยาที่เหมาะสมในโรคต่าง ๆ ทั้งยังได้ฝึกทักษะการประเมินปัญหาที่เกิดจากการใช้ยา แนวทางการแก้ไขและป้องกันปัญหานั้น ๆ รวมถึงการศึกษาเกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบยา การคุ้มครองผู้บริโภค และระบบธุรกิจทางยาด้วย
[แก้] หลักสูตร
[แก้] ปรญญาตรี
เป็นหลักสูตร 5 ปี ซึ่งเตรียมนิสิตให้มีความรู้และทักษะที่สามารถปฏิบัติงานในฐานะเภสัชกรได้ในทุกสาขา เช่น
- การจ่ายยาและการดูแลผู้ป่วยในการใช้ยาอย่างเหมาะสมทั้งในสถานพยาบาลและร้านยา
- งานการผลิตและควบคุมคุณภาพยาในโรงงานยา
- งานการให้ข้อมูลทางยาแก่บุคลากรทางการแพทย์
- งานคุ้มครองผู้บริโภค เช่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เป็นต้น
ปัจจุบันคณะเภสัชศาสตร์รับนิสิตเข้าศึกษาประมาณ 80 คนต่อปี
[แก้] เภสัชบริบาลศาสตรบัณฑิต (Doctor of Pharmacy)
- เหตุผลในการจัดตั้งหลักสูตร
- ในปัจจุบันงานการบริบาลทางเภสัชกรรมมีความสำคัญต่อการเพิ่มบทบาทและความรับผิดชอบของเภสัชกรในการให้การดูแลผู้ป่วยในด้านการใช้ยาให้ได้ประสิทธิภาพ มีความปลอดภัยและสะดวก ซึ่งถือเป็นความต้องการของผู้ป่วยและสังคมโดยรวม
- ดังนั้นคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒจึงได้จัดตั้งหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต (บริบาลทางเภสัชกรรม) ระยะเวลาศึกษา 6 ปีขึ้น โดยมีฐานการสร้างหลักสูตรมาจากหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต พ.ศ. 2539 สาขาเภสัชกรรมคลินิก เพื่อเน้นการผลิตเภสัชกรที่มีความรู้และความสามารถพร้อมแก่การปฏิบัติงานบริบาลทางเภสัชกรรม
- โดยมีการเพิ่มความรู้ทางคลินิก การวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการใช้ยาอย่างเป็นระบบ และกระบวนการคิดตัดสินใจและการปฏิบัติงานร่วมกับสหสาขาวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพ
- โดยในหลักสูตรได้เน้นกระบวนการศึกษาด้วยตนเองเพื่อสร้างแนวคิดการศึกษาตลอดชีวิต อีกทั้งยังเน้นการฝึกปฏิบัติงานบริบาลทางเภสัชกรรมซึ่งมีตั้งแต่การศึกษาในชั้นปีที่ 5 และการฝึกปฏิบัติงานอย่างเข้มในปีการศึกษาที่ 6 อันจะเป็นการเพิ่มศักยภาพและความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยของนิสิตก่อนจบการศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ป่วยและสังคม
- ปรัชญา
- เภสัชกรผู้มีคุณธรรมความรู้
- ควบคู่ยาดีมีคุณภาพมาตรฐาน
- เพื่อการบริบาลทางเภสัชกรรม
- นำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน
- ปณิธาน
ผู้ที่สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต (บริบาลทางเภสัชกรรม) จะเป็นเภสัชกรที่ดีมีความเพียบพร้อมทั้งด้านองค์ความรู้ทางยา การบริบาลผู้ป่วยด้วยการใช้ยา และจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพเภสัชกรรม เป็นบุคลากรที่สามารถปฏิบัติงานด้านเภสัชกรรมพื้นฐาน โดยมุ่งเน้นการดูแลการใช้ยาของผู้ป่วยทั้งในสถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชนและสถานพยาบาล เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยสูงสุด สามารถเป็นที่พึ่งพาของประชาชนในการรักษาพยาบาล ป้องกันโรค และส่งเสริมสุขภาพอนามัย
- ระบบการศึกษา
- การศึกษาในสองปีหลังของหลักสูตร (ปีที่ 5 และ 6)
- สำหรับรายวิชาทั่วไป ระบบการศึกษาจะเป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2543
- สำหรับรายวิชาการฝึกปฏิบัติงานบริบาลทางเภสัชกรรมจะแบ่งนิสิตออกเป็นกลุ่มหมุนเวียนกันเพื่อฝึกปฏิบัติงานในแต่ละรายวิชาในแหล่งฝึกที่ทางคณะจัดให้
|
คณะเภสัชศาสตร์ในประเทศไทย แก้ | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
|
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นบทความเกี่ยวกับ โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย หรือ สถานศึกษา ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น |