การเชื่อมเชิงตรรกศาสตร์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การเชื่อมเชิงตรรกศาสตร์ (logical conjunction) หรือที่มักเรียกว่า และ (and) คือตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์ที่ให้ผลลัพธ์เป็นจริง ถ้าตัวถูกดำเนินการทั้งสองตัวมีค่าเป็นจริง
[แก้] นิยาม
ในตรรกศาสตร์และในสาขาทางเทคนิคที่ใช้คำนี้ การเชื่อม หรือ และ คือตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์ในแคลคูลัสเชิงประพจน์ และกฎการอนุมานในระบบนิรนัย ผลของการเชื่อมสองประพจน์เข้าด้วยกันถูกเรียกว่า ประพจน์เชื่อม ซึ่งจะมีค่าเป็นจริง ก็ต่อเมื่อ ประพจน์ที่ถูกนำมารวมกันนั้นมีค่าจริงทั้งคู่ ในกรณีอื่นๆ ผลลัพท์จะมีค่าเป็นเท็จ
ในกรณีสองตัวแปรป้อนเข้า A และ B ตารางค่าความจริงของตัวดำเนินการเป็นดังนี้
A | B | A and B |
---|---|---|
F | F | F |
F | T | F |
T | F | F |
T | T | T |
โดยสามัญสำนึกแล้ว ตัวดำเนินการดังกล่าว ทำหน้าที่เหมือนกับคำว่า "และ" ประโยคที่ว่า "ฝนตก และฉันอยู่ในบ้าน" ยืนยันว่าทั้งสองประโยคเป็นจริงทั้งคู่ นั่นคือ "ฝนตก" และ "ฉันอยู่ในบ้าน" ในทางตรรกศาสตร์ เราจะกล่าวได้ว่า ให้ A แทน "ฝนตก", B แทน "ฉันอยู่ในบ้าน" ซึ่งรวมกันแล้วจะได้ A และ B
การเชื่อมเชิงตรรกศาสตร์ เป็นบทความเกี่ยวกับ คณิตศาสตร์ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น |
[แก้] ดูเพิ่มเติม
- พีชคณิตแบบบูล
- การเลือกเชิงตรรกศาสตร์
- การเลือกเฉพาะ
- ขีดคั่นของเชฟเฟอร์ (or NAND)