กองทัพอากาศไทย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กองทัพอากาศ คือกองกำลังติดอาวุธที่ปฏิบัติการในอากาศหรือเกี่ยวข้องกับอากาศ โดยใช้อากาศยานเป็นส่วนใหญ่ มีหน้าที่ปกป้องน่านฟ้าของประเทศนั้น ๆ
สารบัญ |
[แก้] ประวัติความเป็นมา
กองทัพอากาศไทย (Royal Thai Air Force : RTAF) เกิดขึ้นจากแรงบันดาลใจในเหตุการณ์ที่ชาวต่างชาตินำเครื่องบินร่อนลง ณ สนามม้าสระปทุม เพื่อเป็นการแสดงการบินสู่สายตาประชาชนชาวไทยในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2454 จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ขณะนั้นทรงดำรงตำแหน่งเสนาธิการทหารบกทรงเห็นความจำเป็นที่ประเทศไทยจะต้องจัดหาอากาศยานไว้ป้องกันประเทศ จึงทรงดำริจัดตั้งกิจการการบินขึ้นเป็นแผนกหนึ่งของกองทัพบก อยู่ที่สนามราชกรีฑาสโมสร (สนามม้าสระปทุม) อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของนายพลโท พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมขุนกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน จเรทหารช่าง และส่งนายทหารไปเรียนวิชาการบินที่ประเทศฝรั่งเศส จำนวน 3 นายประกอบด้วย
- นายพันตรี หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ (สุณี สุวรรณประทีป) ต่อมาเป็น พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ
- นายร้อยเอก หลวงอาวุธสิขิกร (หลง สินศุข) ต่อมาเป็น นาวาอากาศเอก พระยาเวหาสยานศิลปสิทธิ์
- นายร้อยโท ทิพย์ เกตุทัต ต่อมาเป็น นาวาอากาศเอก พระยาทะยานพิฆาต
ทั้งสามท่านได้เข้าเรียนที่บริษัทนีออร์บอร์ต (Nieuport Company) ในเดือนมกราคมปี พ.ศ. 2454
หลังจากท่านทั้งสามสำเร็จวิชาการบิน ก็ได้ซื้อเครื่องบิน 2 แบบ 8 ลำ คือ Nieuport และ Breguet แบบละ 4 ลำ โดยระยะแรกได้ใช้สนามม้าสระปทุมเป็นสนามบิน แต่ด้วยปัญหาบางประการทำให้สนามม้าสระปทุมไม่สามารถรองรับกิจการการบินที่เติบโตขึ้นได้ จอมพลสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ ทรงย้ายที่ตั้งแผนกการบิน มาที่ตำบลดอนเมืองตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2457 และทรงยกฐานะแผนกการบิน เป็น"กองบินทหารบก" ในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2457 ต่อมากระทรวงกลาโหมได้ยึดถือวันนี้เป็น "วันที่ระลึกกองทัพอากาศ"
หลังจากนั้นกิจการการบินได้เติบโตเรื่อยมา โดยกองบินทหารบกได้เข้าร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ 1 กับฝ่ายสัมพันธมิตร กองบินทหารบกจึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น "กรมอากาศยานทหารบก" หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2464 ด้วยการเติบโตของกำลังทางอากาศ จึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น "กรมทหารอากาศ" และวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2480 จึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น "กองทัพอากาศ" มียศและเครื่องแต่งกายเป็นของตนเอง โดยนาวาอากาศเอก พระเวชยันต์รังสฤษฎ์ เป็นผู้บัญชาการทหารอากาศคนแรก จึงถือเอาวันนี้เป็น "วันกองทัพอากาศ" และยกย่องถวายพระเกียรติจอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ว่าเป็น "พระบิดาแห่งกองทัพอากาศไทย" และยกย่องนายทหาร 3 ท่าน ที่ไปเรียนวิชาการบินรุ่นแรกว่าเป็น "บุพการีทหารอากาศ"
กองทัพอากาศได้สร้างวีรกรรมและยุทธเวหาไว้มากมาย โดยเข้าร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามอินโดจีน สามารถสร้างความพรั่นพรึงให้กับอริราชศัตรูของชาติได้อย่างมาก
ปัจจุบัน กองทัพอากาศมีกำลังทางอากาศทั้งสิ้น 4 กองพลบิน 11 กองบิน โดยมีอากาศยานรวมเกือบ 200 ลำ
[แก้] อากาศยานที่ประจำการ
[แก้] เครื่องบินขับไล่/โจมตี
- F-16 A/B/ADF 61 ลำ ณ กองบิน 1 โคราช ฝูงบิน 103,102 และกองบิน 4 ตาคลี ฝูงบิน 403
- F-5 A/B/E/F 46 ลำ ณ กองบิน 21 อุบล ฝูงบิน 211 และกองบิน 7 สุราษฏร์ ฝูงบิน 701 (F-5Aปลดแล้ว
- L-39 ZA/ART 34 ลำ ณ กองบิน 4 ตาคลี ฝูงบิน 401 และกองบิน 41 เชียงใหม่ ฝูงบิน 411
- Alpha Jet 25 ลำ ณ กองบิน 23 อุดร ฝูงบิน 231
- AU-23 A 21 ลำ ณ กองบิน 53 ประจวบ ฝูงบิน 531
[แก้] เครื่องบินลำเลียง
- C-130 H/H-30 12 ลำ ณ กองบิน 6 ดอนเมือง ฝูงบิน 601
- BT-67 9 ลำ ณ กองบิน 46 พิษณุโลก ฝูงบิน 461
- N22B 19 ลำ ณ กองบิน 46 พิษณุโลก ฝูงบิน 461
- G222 6 ลำ ณ กองบิน 6 ดอนเมือง ฝูงบิน 603
- BAE 748 6 ลำ ณ กองบิน 6 ดอนเมือง ฝูงบิน 603
- Boeing B737-2Z6/4Z6 1 ลำ ณ กองบิน 6 ดอนเมือง ฝูงบิน 602 (เครื่องบินพระที่นั่ง)
- Airbus A310-324 1 ลำ ณ กองบิน 6 ดอนเมือง ฝูงบิน 602 (เครื่องบินพระที่นั่ง)
- Airbus A319-115X CJ 1 ลำ ณ กองบิน 6 ดอนเมือง ฝูงบิน 602 (เดิมเป็นเครื่องบินประจำสำนักนายกรัฐมนตรี หลังทักษิณโดนยึดอํานาจแล้วไม่นาน ก็ถูกโอนไปประจํากองทัพอากาศ)
[แก้] เครื่องบินตรวจการณ์
- Learjet 35A 2 ลำ ณ กองบิน 4 ตาคลี ฝูงบิน 402
- IAI201 3 ลำ ณ กองบิน 4 ตาคลี ฝูงบิน 402
[แก้] เฮลิคอปเตอร์
- UH-1H 20 ลำ ณ กองบิน 2 ลพบุรี ฝูงบิน 203
[แก้] เครื่องบินฝึก
- CT-4 20 ลำ ณ โรงเรียนการบินกำแพงแสน
- PC-9 23 ลำ ณ โรงเรียนการบินกำแพงแสน
[แก้] การจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ฝูงใหม่
โครงการจัดหาเครื่องบินรบฝูงใหม่เกิดจากการที่กองทัพอากาศต้องปลดประจำการเครื่อง F-5 ฝูง 701 กองบิน 7 สุราษฏร์ธานี ซึ่งใช้งานมานานเกือบ 30 ปี และประสบอุบัติเหตุบ่อย ทำให้กองทัพอากาศและประเทศชาติสูญเสียบุคลากรและทรัพยากรไปเป็นจำนวนมาก กองทัพอากาศ (ทอ.) จึงตั้งคณะกรรมการจัดหา โดยในชั้นแรกได้คัดเลือกเครื่องบินรบในตลาดโลกปัจจุบันคือ
- Eurofighter Typhoon (EF2000)จาก 4 ชาติในยุโรป
- Rafale จากฝรั่งเศส
- Su-30MK จากรัสเซีย
- F-16C/D จากอเมริกา (ปัจจุบันเปลี่ยนตัวเลือกจากF-16C/D เป็น F/A-18Super HornetE/F)
- JAS 39 จากสวีเดน
ในรอบแรกทอ.ตัดตัวเลือกที่ 1 กับ 2 ออกไป เนื่องจากราคาสูง คงเหลือตัวเลือก 3 - 5 ทางรัฐบาลได้เจรจากับประเทศผู้ผลิต โดยแสดงจุดยืนว่าไทยไม่สามารถจ่ายค่าเครื่องเป็นเงินสดทั้งหมดได้ ขอให้ทางผู้ผลิตรับซื้อสินค้าเกษตรของไทยแทน ทั้ง 3 ประเทศมีการตอบรับดังนี้
- สวีเดนยินดีแลกเปลี่ยนสินค้าเกษตรกับไทยเต็มจำนวน โดยยืนยันว่าไม่มีข้อจำกัดด้านการกีดกันทางการค้าของ EU เพราะทางสวีเดนจะเป็นนายหน้าขายโดยไม่ผ่าน EU สวีเดนยินดีมอบระบบเรดาร์ ERIEYE 2 ระบบ ซึ่งสามารถติดตั้งบนเครื่องบินE-2และSaab-340ได้ มอบเครื่อง Saab 340 1 เครื่อง ทุนการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ 200 ทุน และอนุญาตให้ไทยเข้าถึง source code ของ Gripen ได้อย่างไม่จำกัดเพื่อการพัฒนาในอนาคต
- รัสเซียยินดีแลกเปลี่ยนสินค้าทางการเกษตรกับไทยเต็มจำนวน พร้อมทั้งยินดีถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ ยินดีมอบเฮลิคอปเตอร์ Mi-17 6 เครื่อง ให้ทุนเรียนทางด้านอวกาศปีละ 20 ทุน
- สหรัฐอเมริกายินดีแลกเปลี่ยนสินค้าเกษตรกับไทยเต็มจำนวน ไม่มีของแถม
[แก้] บทวิพากษ์วิจารณ์
[แก้] การจัดซื้อเครื่องบินรัสเซีย
การจัดซื้อเครื่องบินรบ SU 30 MK จากรัสเซียมูลค่าทั้งหมด 35,000 ล้านบาท โดยมีข่าวออกมาเรื่องการทุจริตว่าอาจมีคนได้รับค่าคอมมิสชั่นถึง 3,500 ล้านบาท ซึ่งในระหว่างการประชุมเอเปก เมื่อปีพ.ศ. 2546 ได้มีการหารือระหว่างทักษิณ และประธานาธิบดีรัสเซียเรื่องการขายเครื่องบินกับไทยโดยมีข้อตกลงพิเศษ โดยได้มีคำสั่งจากด้านบนถึงผู้บัญชาการทหารอากาศ พล.อ.อ.คงศักดิ์ ณ. ขณะนี้ เพื่อให้สั่งซื้อเครื่องบิน SU 30 MK ของรัสเซีย แม้ว่าคณะกรรมการคัดเลือกไม่เห็นด้วย[1] โดยได้มีหลักฐานเป็นรายละเอียดหนังสือของประธานบริษัท อีเกิ้ลไทย จำกัด ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายจากบริษัท ROSOBON EXPORT[2]
[แก้] ดูเพิ่ม
- อากาศโยธิน
- รายนามผู้บัญชาการทหารอากาศ
- สโมสรฟุตบอลทหารอากาศ
[แก้] อ้างอิง
- ↑ “สนธิ” แฉงาบซื้อเครื่องบินรัสเซีย 3,500 ล้าน - จี้สอบ “คงศักดิ์” รวยผิดปกติ
- ↑ เปิดหนังสือชิงเป็นตัวแทนเครื่องบินรบรัสเซีย
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- กองทัพอากาศไทย
- อากาศยานานุสรณ์ รวบรวมอากาศยานที่เคยและกำลังประจำการในกองทัพอากาศไทย
- Royal Thai Air Force Overview ((อังกฤษ))
- Information of Royal Thai Air Force ที่ GlobalSecurity.org ((อังกฤษ))