Ebooks, Audobooks and Classical Music from Liber Liber
a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z





Web - Amazon

We provide Linux to the World


We support WINRAR [What is this] - [Download .exe file(s) for Windows]

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
SITEMAP
Audiobooks by Valerio Di Stefano: Single Download - Complete Download [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Alphabetical Download  [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Download Instructions

Make a donation: IBAN: IT36M0708677020000000008016 - BIC/SWIFT:  ICRAITRRU60 - VALERIO DI STEFANO or
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ - วิกิพีเดีย

วิศวกรรมคอมพิวเตอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Engineering) เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและสร้างเครื่องหรือระบบคอมพิวเตอร์ และ ระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ ศาสตร์นี้เกี่ยวข้องกับการศึกษาทางด้าน ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ การสื่อสาร และความเกี่ยวเนื่องระหว่างเรื่องทั้งสาม หลักสูตรการเรียนมุ่งเน้นทางด้าน ทฤษฎี กฎ และ การฝึกฝนปฏิบัติของทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า และ คณิตศาสตร์ รวมถึงการประยุกต์เข้ากับปัญหาทางด้านการออกแบบคอมพิวเตอร์ และ อุปกรณ์ที่ใช้คอมพิวเตอร์

วิศวกรคอมพิวเตอร์จะต้องเคยศึกษาการออกแบบระบบฮาร์ดแวร์ดิจิทัล ซึ่งรวมถึงระบบการสื่อสาร องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ที่ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ วิศวกรคอมพิวเตอร์จะเรียนการพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยมุ่งเน้นเกี่ยวกับซอฟต์แวร์สำหรับอุปกรณ์ดิจิทัล และ การสร้างส่วนต่อประสานระหว่างผู้ใช้งานซอฟต์แวร์ และ ระหว่างอุปกรณ์ต่าง ๆ วิศวกรคอมพิวเตอร์อาจจะมีความรู้เน้นทางด้านฮารด์แวร์มากกว่าซอฟต์แวร์ หรือ มีความรู้พอ ๆ กันทั้งสองด้านก็ได้ แต่สิ่งที่โดดเด่นคือวิศวกรคอมพิวเตอร์จะมีความรู้ทางด้านการวิศวกรรมที่ดีด้วย

ปัจจุบันสาขาวิชาที่สำคัญในด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์คือ ระบบฝังตัว การพัฒนาอุปกรณ์ที่มีซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ฝังตัวภายใน เช่น อุปกรณ์สื่อสารอย่าง โทรศัพท์มือถือ เครื่องเล่นวิทยุระบบดิจิทัล เครื่องบันทึกวิดีทัศน์ระบบดิจิทัล ระบบเตือนภัย เครื่องถ่ายรังสีเอ็กซ์ และ เครื่องมือผ่าตัดด้วยแสงเลเซอร์เป็นต้น ซึ่งล้วนแล้วแต่ต้องการการผนวกรวมฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ฝังตัวหรือของอื่น ๆ ที่เป็นผลจากการวิศวกรรมคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน

[แก้] ประวัติวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

ประวัติวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เริ่มจากแต่เดิมเป็นสาขาวิชาเฉพาะทางในวิศวกรรมไฟฟ้า ที่มุ่งศึกษาเกี่ยวกับการวิศวกรรมฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ แต่ต่อมาช่วงหลังปี ค.ศ. 1990 จึงมีการเพิ่มเติมเนื้อหาการศึกษาทางด้านซอฟต์แวร์ หรืออาจมองได้ว่าเกิดจากการรวมกันของวิศวกรรมไฟฟ้าและวิทยาการคอมพิวเตอร์ ถ้าพิจารณาจากสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าแล้ว วิศวกรคอมพิวเตอร์คือวิศวกรไฟฟ้าที่มุ่งเน้นไปที่ระบบฮาร์ดแวร์เชิงดิจิทัล และไม่เน้นทางด้านความถี่วิทยุ หรือไฟฟ้ากำลัง และถ้ามองจากทางวิทยาการคอมพิวเตอร์แล้ว วิศวกรคอมพิวเตอร์จะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการต่อประสานระหว่างซอฟต์แวร์และระบบฮาร์ดแวร์ ในยุคหลังมีทฤษฏีหลายอย่างที่เกิดขึ้นในสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เช่น ระบบเครืองข่าย การรักษาความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ การประมวลผลภาษาธรรมชาติ หรือ การรู้จำด้วยคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ในระดับนานาชาติส่วนมาก เริ่มก่อตั้งขึ้นภายใต้หรือควบคู่กับภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ตั้งแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 บางมหาวิทยาลัยเลือกที่จะผนวกสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมซอฟต์แวร์เข้ากับภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ในขณะที่บางที่เช่น สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ เลือกที่จะรวมภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าเข้ากับภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์แทน

[แก้] วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ในประเทศไทย

ในประเทศไทย มีหลักสูตรทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ขึ้นครั้งแรก ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยได้รับอนุมัติเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2518 เพื่อจัดดำเนินการด้านการเรียน และการสอนเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์อันจะช่วยให้การสอนของอาจารย์ และการวิจัยของข้าราชการของมหาวิทยาลัย มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ตลอดจนสร้างโปรแกรม ทำโครงการพัฒนาระบบการใช้งานภาษาไทย และสร้างระบบคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ รวมถึงจัดอบรมวิชาการด้านคอมพิวเตอร์ในระดับทั่วไป โดยมีรากฐานจาก"หน่วยคอมพิวเตอร์ไซแอนส์" (Computer Science หรือหลักสูตรวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน) ซึ่งทำการสอนวิชาด้านคอมพิวเตอร์ให้แก่นิสิตปริญญาตรีในคณะต่าง ๆ นอกจากนี้ยังได้เปิดหลักสูตรการศึกษาชั้นประกาศนียบัตรทางด้านคอมพิวเตอร์ไซแอนส์ (ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน หรือ กพ. ให้การรับรอง) ขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 ซึ่งก็มีผู้สนใจเข้าเรียนจนจบ และได้ประกาศนียบัตรไปเป็นจำนวนมาก ซึ่งต่อมา เนื่องจากสังกัดอยู่กับบัณฑิตวิทยาลัย หน่วยคอมพิวเตอร์ไซแอนส์จึงได้เปิดหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาคอมพิวเตอร์ศาสตร์ (วท.ม) ขึ้นในปี พ.ศ. 2514 โดยรับนิสิตปริญญาโทจากผู้ที่จบปริญญาตรีสาขาวิชาต่าง ๆ เกือบทุกสาขาวิชา และยังพิจารณาที่จะช่วยเหลือการศึกษาด้านนี้แก่มหาวิทยาลัยอื่น ๆ อีกด้วย

ปัจจุบันหลักสูตรของภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาฯ ได้เป็นต้นแบบ ให้กับการศึกษาทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ในประเทศไทย จะเรียนทางด้านฮาร์ดแวร์ (40%) และซอฟต์แวร์ (60%) โดยเน้นทักษะการใช้วิศวกรรมศาสตร์ ในการสร้างคอมพิวเตอร์หรือระบบที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ โดยวิศวกรคอมพิวเตอร์จะมีความรู้ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ เนื้อหาวิชาที่เรียนจะเน้นด้านวิทยาศาสตร์ธรรมชาติน้อยกว่าทางหลักสูตรด้านวิศวกรรมศาสตร์ดั้งเดิม ซึ่งวิชาเหล่านี้จะถูกแทนที่ด้วยวิชาพื้นฐานด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบสารสนเทศ และ วิศวกรรมซอฟต์แวร์

[แก้] ดูเพิ่ม

Our "Network":

Project Gutenberg
https://gutenberg.classicistranieri.com

Encyclopaedia Britannica 1911
https://encyclopaediabritannica.classicistranieri.com

Librivox Audiobooks
https://librivox.classicistranieri.com

Linux Distributions
https://old.classicistranieri.com

Magnatune (MP3 Music)
https://magnatune.classicistranieri.com

Static Wikipedia (June 2008)
https://wikipedia.classicistranieri.com

Static Wikipedia (March 2008)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com/mar2008/

Static Wikipedia (2007)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com

Static Wikipedia (2006)
https://wikipedia2006.classicistranieri.com

Liber Liber
https://liberliber.classicistranieri.com

ZIM Files for Kiwix
https://zim.classicistranieri.com


Other Websites:

Bach - Goldberg Variations
https://www.goldbergvariations.org

Lazarillo de Tormes
https://www.lazarillodetormes.org

Madame Bovary
https://www.madamebovary.org

Il Fu Mattia Pascal
https://www.mattiapascal.it

The Voice in the Desert
https://www.thevoiceinthedesert.org

Confessione d'un amore fascista
https://www.amorefascista.it

Malinverno
https://www.malinverno.org

Debito formativo
https://www.debitoformativo.it

Adina Spire
https://www.adinaspire.com