Ebooks, Audobooks and Classical Music from Liber Liber
a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z





Web - Amazon

We provide Linux to the World


We support WINRAR [What is this] - [Download .exe file(s) for Windows]

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
SITEMAP
Audiobooks by Valerio Di Stefano: Single Download - Complete Download [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Alphabetical Download  [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Download Instructions

Make a donation: IBAN: IT36M0708677020000000008016 - BIC/SWIFT:  ICRAITRRU60 - VALERIO DI STEFANO or
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
กฎหมาย - วิกิพีเดีย

กฎหมาย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กฎหมาย เป็นกฎที่สถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือเพื่อกำหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างบุคคลกับรัฐ

หากให้กล่าวโดยเข้าใจง่าย กฎหมาย หมายถึง สิ่งที่ผู้มีอำนาจกำหนดขึ้น หรือแนวปฏิบัติที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อให้มนุษย์สามารถอยู่ร่วมกัน หากพิจารณาอย่างลึกซึ้งแล้ว "กฎหมาย" มิอาจให้คำจำกัดความอันตายตัวได้ เนื่องจากมนุษย์ ผู้ให้คำนิยามนั้น ต่างมีลักษณะแนวความคิดในทางนิติศาสตร์ที่แตกต่างกัน เรียกว่า "สำนักความคิด"

สารบัญ

[แก้] ประวัติความเป็นมาของกฎหมาย

เมื่อมนุษย์รวมตัวกันเป็นกลุ่มกลายเป็นสังคมขึ้น หากปล่อยให้ใช้สัญชาตญาณอย่างอิสระ ย่อมเกิดวามวุ่นวายเดือดร้อนขึ้นเพราะทุกคนต้องทำทุกอย่างสนองความปรารถนาของตนเป็นหลักใหญ่โดยไม่สนใจคนอื่น จึงจำต้องสร้างกฎระเบียบกำหนดขอบเขต สิทธิอำนาจ และบทลงโทษ ผู้ที่ละเมิดสิทธิของผู้อื่นตามธรรมเนียมของแต่ละประเทศ ดังนั้น มนุษย์ทุกสัญชาติจึงบัญญัติกฎหมายขึ้นเพื่อควบคุมพฤติกรรมของตนเองและผู้ที่เข้ามาอยู่ในอาณาจักรเพื่อให้สังคมสงบสุขและบ้านเมืองเป็นระเบียบเรียบร้อย กฎหมายเกิดจากความตกลงกันของประชาชนที่จะทำตนอยู่ในกรอบขอบเขตที่บัญญัติขึ้น และยินยอมรับการลงโทษเมื่อกระทำผิดตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายจึงเกิดขึ้นจากการยอมรับของประชาชนและการบังคับใช้มันอย่างเคร่งครัด มิฉะนั้น จะเป็นแค่กระดาษที่ไร้อำนาจ

[แก้] สำนักความคิด

สำนักความคิดที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วกันนั้นมีอยู่ สองสำนักหลัก ได้แก่ สำนักกฎหมายบ้านเมือง และสำนักกฎหมายธรรมชาติ

[แก้] สำนักกฎหมายบ้านเมือง

สำนักกฎหมายบ้านเมือง (School of Positivism) แนวคิดดังกล่าวเน้นการยึดความคิดว่า กฎหมายเป็นเครื่องมือกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองและผู้อยู่ใต้การปกครอง เมื่อผู้ปกครองมีอำนาจในการปกครองจริง ย่อมต้องมีอำนาจในการบังคับผู้อยู่ใต้การปกครองให้ปฏิบัติไปตามกฎหมาย โดยไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงสิ่งอื่นใด John Austin เป็นผู้วิเคราะห์ว่ากฎหมายนั้น สำคัญอยู่ที่การใช้อำนาจบังคับให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เมื่อกฎหมายบัญญัติว่าผิด ก็ต้องผิด ไม่ผิดก็ย่อมไม่ผิด ไม่จำเป็นต้องแสวงหาหลักการหรือเหตุผลอื่นใดมาเปลี่ยนแปลงหรือสร้างความยุติธรรม เพราะเมื่อมีกฎหมายย่อมถือว่าเป็นที่ยุติธรรมแล้ว

กฎหมายในความหมายของ John Austin สามารถสรุปได้โดยย่อเป็นภาษาอังกฤษว่า "The command of sovereign backed by threat of sanction" (คำสั่งของผู้มีอำนาจสูงสุด โดยมีการระวางโทษเป็นเครื่องมือรองรับ) แต่กฎหมายในความหมายของ Austin นั้นได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก โดยนักนิติปรัชญาคนสำคัญที่เข้ามาล้มล้างทฤษฏีของ Austin ก็คือ H.L.A. Hart โดย Hart บอกว่า กฎหมายไม่ใช่เป็นแค่คำสั่งของผู้มีอำนาจสูงสุด ทว่ากฎหมายคือ ระบบของกฎ (System of Rules) ซึ่งได้รับการยอมรับโดยคนส่วนใหญ่ในสังคมและถูกปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดโดยศาลและผู้มีอำนาจในรัฐปกครองนั้นๆ

[แก้] สำนักกฎหมายธรรมชาติ

สำนักกฎหมายธรรมชาติ(School of Natural Law) แนวคิดนี้ถือว่า กฎหมายมีอยู่แล้วตามธรรมชาติ คงทนถาวร ดำรงอยู่ชั่วนิรันดร์ มิได้ต้องการให้ผู้ใดบัญยัติหรือสร้างขึ้น Cicero นักปกครองสมัยยุคโรมัน ได้กล่าววลีที่เป็นเสมือนรากความคิดนี้ว่า "True Law is right reason, harmonious with nature, diffuse among all, constant, eternal..." ดังนั้น การใช้กฎหมายย่อมเป็นไปตามเหตุผลที่เป็นธรรมชาติตามปกติ ผู้มีอำนาจไม่มีสิทธิสร้างความยุติธรรมโดยกฎหมายของตนเองได้


นอกเหนือจากสองสำนักนี้ ยังมีสำนักความคิดอื่น เช่น สำนักกฎหมายประวัติศาสตร์ที่เชื่อว่า กฎหมายคือผลผลิตจากความเป็นไปในทางประวัติศาสตร์ ย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา หรือบางสำนักศาสนาที่เชื่อว่ากฎหมายคือกฎของพระเจ้า สิ่งสำคัญอีกประการคือระบบกฎหมายต้องมีลักษณะกลมกลืนกับระบบการเมืองการปกครองและระบบเศรษฐกิจ

ในปัจจุบัน แนวคิดของทั้งสองสำนักหลักต่างถูกนำมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับความเป็นจริง และมิอาจนำแนวคิดใดแนวคิดหนึ่งมายึดเป็นหลักได้ เพราะหากยึดหลักสำนักกฎหมายบ้านเมือง ผู้ที่มีอำนาจในการออกกฎหมายย่อมมิต้องคำนึงถึงหลักใดๆ ขอเพียงตนมีอำนาจในรัฐ ก็ออกกฎหมายอย่างไรก็ได้ ประชาชนจะถูกกระทบอย่างไรไม่สำคัญ ในทางกลับกัน หากใช้วิธียึดเหตุผลและความยุติธรรมตามสำนักกฎหมายธรรมชาติ อาจเกิดปัญหาว่า ความยุติธรรมคืออะไร เป็นความยุติธรรมสำหรับใคร เหตุผลของแต่ละคนย่อมไม่เหมือนกัน จะอ้างตามธรรมชาติอย่างไร ดังนั้น กฎหมายในยุคปัจจุบันต้องมีการอ้างอิงหลักเกณฑ์ที่แน่นอนและชัดเจน เช่น การใช้ประมวลกฎหมาย และพระราชบัญญัติ หรือบรรทัดฐานคำพิพากษาฎีกาที่เคยตัดสินมา และกฎหมายก็อาจเปิดช่องให้พิจารณาไปตามความยุติธรรมได้ภายในกรอบหลักเกณฑ์ เช่นกรณีที่ผู้พิพากษามีดุลยพินิจในการกำหนดค่าเสียหายตามความเหมาะสม ทั้งนี้ รัฐผู้ใช้อำนาจย่อมต้องสร้างหลักประกันว่าผู้ใช้กฎหมายจะไม่ใช้อำนาจอย่างไม่เหมาะสม กระทำได้โดยมี รัฐธรรมนูญที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพ มีกลไกในการตรวจสอบการใช้อำนาจ เป็นต้น

[แก้] หน้าที่ของกฎหมาย

กฎหมายมีหน้าที่หลัก 5 ประการด้วยกัน

  1. สร้างและรักษาความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัย และความมั่นคงของสังคม เช่น กฎหมายอาญาที่ลงโทษผู้กระทำผิดและทำให้คนกลัวไม่กล้าทำผิด หรือพระราชบัญญัติปราบปรามยาเสพติด ได้กำหนดวิธีการเข้าตรวจค้นผู้ต้องสงสัยได้ง่าย เพื่อให้การกระทำผิดเกิดขึ้นได้ยาก
  2. ระงับข้อพิพาท เช่น กฎหมายที่ถูกนำมาพิจารณาในชั้นศาลเพื่อให้คดีความเป็นอันยุติ
  3. เป็นวิศวกรสังคม กฎหมายทำหน้าที่วางแนวทางและแก้ไขปัญหาสังคมทั้งปัจจุบันและอนาคต เช่นกฎหมายผังเมือง กฎหมายปฏิรูปการศึกษา
  4. จัดสรรทรัพยากรและสร้างโครงสร้างทางเศรษฐกิจ เช่น กฎหมายด้านภาษีอากร กฎหมายจัดสรรงบประมาณ กฎหมายการปรับดอกเบี้ย
  5. จัดตั้งและกำหนดโคงสร้างทางการเมืองการปกครอง เช่น รัฐธรรมนูญ กำหนดการเลือกตั้งและการทำงานของรัฐสภา ศาล และคณะรัฐมนตรี

[แก้] ปรัชญากฎหมายพื้นฐาน

  1. กฎหมายเป็นเรื่องที่ต้องอยู่คู่กับเหตุผล เสมือนเป็นวัตถุและเงา หากไม่มีเหตุผล คนย่อมไม่อยากปฏิบัติตามกฎหมาย
  2. กฎหมายเป็นเพียงเครื่องมือในการสร้างความยุติธรรม แต่หาใช่ความยุติธรรมไม่
  3. กฎหมายมิใช่เป็นเพียงเรื่องปัจจุบัน แต่เป็นเรื่องกำหนดอนาคต จึงมิสมควรปล่อยให้กฎหมายล้าหลังหรือมีช่องโหว่ ดังคำกล่าวที่ว่าอย่าปล่อยคนตายเขียนกฎหมายให้คนเป็น
  4. กฎหมายต้องดำเนินไปพร้อมกับการเมืองการปกครองและเศรษฐกิจ

[แก้] การแบ่งประเภทและลักษณะของกฎหมาย

การแบ่งประเภทของกฎหมายนั้น การแบ่งสามารถอาศัยเกณฑ์ที่ต่างกัน อาทิ

  1. เกณฑ์ลักษณะ แบ่งได้เป็นกฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชน
  2. เกณฑ์เขตอำนาจ แบ่งได้เป็น กฎหมายภายในประเทศและกฎหมายระหว่างประเทศ
  3. เกณฑ์เนื้อหาเฉพาะด้าน แบ่งได้เป็นกฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา กฎหมายภาษี กฎหมายสิ่งแวดล้อม ฯลฯ

ถ้าพิจารณาจากเนื้อหาโดยพื้นฐานของกฎหมายแล้ว อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ

  1. กฎหมายสารบัญญัติ (Substantive law) หรือกฎหมายที่บัญญัติถึงเนื้อหาของสิทธิ หน้าที่ ข้อห้ามหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือเป็นกฎหมายที่ควบคุมความประพฤติของคนในสังคมโดยตรงเช่น กฎหมายอาญา และกฎหมายแพ่ง ที่กล่าวถึงลักษณะความผิด และโทษที่จะได้รับ นอกจากนี้ยังกำหนด ควบคุม ให้ความหมาย และวางหลักการเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เช่น กฎหมายที่แบ่งและกำหนดเขตพื้นที่ป่าสงวน
  2. กฎหมายบัญญัติ หรือ กฎหมายวิธีสบัญญัติ (Adjective law หรือ Procedural Law) คือกฎหมายที่บัญญัติกระบวนการตลอดจนวิธีการนำเอาเนื้อหาสาระของกฎหมายสารบัญญัติมาใช้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือเป็นกฎหมายที่ว่าด้วยวิธีการดำเนินอรรถคดีตั้งแต่แรกเริ่มจนเสร็จสิ้น เช่นบัญญัติว่าในแต่ละกระบวนการนั้นมีขั้นตอนอย่างไร ต้องดำเนินการอย่างไร มีเรื่องเวลา สถานที่และบุคคลใดที่เกี่ยวข้อง กฎหมายสบัญญัติที่เด่นชัดคือ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

กฎหมายทั้งสองประเภทมักจะนำมาใช้ควบคู่กันตลอด เพื่อให้กระบวนการยุติธรรมนั้นสมบูรณ์ เป็นต้นว่า เมื่อมีผู้กระทำผิดก็พิจารณาการกำหนดโทษตามกฎหมายสารบัญญัติ จากนั้นก็พิจารณาตามกฎหมายสบัญญัติ ในส่วนของวิธีการร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงาน การฟ้องคดีต่อศาล การพิจารณาและพิพากษาคดี หรือการนำคดีแพ่งขึ้นสู่ศาลโดยมีการขอให้รับรองหรือคุ้มครองสิทธิ จนไปถึงขั้นตอนการยื่นอุทธรณ์ การยื่นฎีกาหรือการบังคับคดีเมื่อคดีถึงที่สุด ตัวอย่างของกฎหมายสบัญญัติอื่นๆที่สำคัญได้แก่พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พระราชบัญญัติจัดตั้งภาษีอากรและวิธีการพิจารณาคดีอากร พระราชบัญญัติล้มละลาย เป็นต้น

ข้อควรระลึกอีกประการหนึ่งคือ ความเหลื่อมล้ำระหว่างกฎหมายทั้งสองประเภทนี้ บางครั้งผู้ใช้กฎหมายคำนึงถึงกฎหมายสบัญญัติมากจนเกินควร จนทำให้จุดประสงค์แห่งกฎหมายสารบัญญัติสำหรับกรณีนั้นๆต้องมีอันเสื่อมไป เช่นในกรณีตำรวจทำการวิสามัญฆาตกรรม ป.วิ.อ. มาตรา 143 บัญญัติให้นำสำนวนคดีส่งฟ้องที่อัยการสูงสุดเท่านั้น แต่เมื่อรูปคดีชัดแจ้งว่าตำรวจตั้งใจฆาตกรรม มิได้เป็นการวิสามัญฆาตกรรม สำนวนคดีจึงส่งไปที่อัยการจังหวัด เมื่อจำเลยสู้คดีด้วยกฎหมายสบัญญัติ ศาลจึงจำต้องยกฟ้อง ทั้งนี้ควรเข้าใจว่ากฎหมายสบัญญัติมีไว้เพื่อรองรับกฎหมายสารบัญญัติให้สามารถนำมาใช้ได้จริง สามารถนำคดีไปสู่กระบวนการศาลและทำให้เกิดความยุติธรรมเป็นสำคัญ การเน้นที่กฎหมายสบัญญัติในบางครั้งแม้อาจจะดูเคร่งครัดแต่อาจเป็นการละเลยความยุติธรรม ซึ่งเป็นเจตนารมณ์สูงสุดของกฎหมายได้

[แก้] ลำดับศักดิ์ของกฎหมาย

กฎหมายมีลำดับศักดิ์สูงต่ำเสมือนสายบัญชาการ โดยกฎหมายที่มีลำดับศักดิ์สูงกว่าย่อมเสมือนเป็นบ่อเกิดของอำนาจในกฎหมายลำดับรองลงมา และที่สำคัญ

  1. กฎหมายที่ลำดับศักดิ์ต่ำกว่าจะขัดหรือแย้ง จะแก้ไขเพิ่มเติม หรือยกเลิกกฎหมายที่มีลำดับศักดิ์สูงกว่าไม่ได้
  2. กฎหมายที่ลำดับศักดิ์เท่ากันสามารถขัดหรือแย้ง แก้ไขเพิ่มเติม หรือยกเลิกกฎหมายที่มีลำดับศักดิ์เท่ากันได้ ทั้งนี้การขัดหรือแย้งกันของกฎหมายให้ถือเอากฎหมายฉบับล่าสุดมีผลบังคับใช้
  3. กฎหมายที่ลำดับศักดิ์สูงกว่าสามารถยกเลิก แก้ไขเพิ่มเติม หรือขัดแย้งกฎหมายที่มีศักดิ์ต่ำกว่าได้ โดยกฎหมายที่มีศักดิ์ต่ำกว่ามีอันตกไป ถ้าขัดแย้งกับกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่า

ลำดับศักดิ์เรียงได้ดังนี้

  1. รัฐธรรมนูญ ( เรียกว่ารัฐธรรมนูญอย่างเดียวไม่มีคำว่ากฎหมายขึ้นหน้ารัฐธรรมนูญ )
  2. พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย
  3. พระราชกำหนด
  4. พระราชกฤษฎีกา
  5. กฎกระทรวง
  6. กฎหมายองค์การบัญญัติ เช่น เทศบัญญัติ เป็นต้น

ในทางนิติศาสตร์ เมื่อกล่าวถึงลำดับศักดิ์นั้น คำว่า "กฎหมาย" จะหมายถึง กฎหมายรัฐธรรมนูญ และ รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ (รวมถึงประมวลกฎหมาย) และพระราชกำหนด เท่านั้น ส่วนที่เป็นลำดับรองลงไป เช่น พระราชกฤษฏีกา กฎกระทรวง ถือเป็นกฎหมายลำดับรอง ที่เรียกว่า อนุบัญญัติ หรือ กฎเกณฑ์แห่งกฎหมาย (ภาษาอังกฤษใช้คำว่า By-law)

[แก้] หลักทฤษฎีพื้นฐาน

กฎหมายเฉพาะย่อมยกเว้นกฎหมายทั่วไป

กฎหมายหรือกฎเกณฑ์แห่งกฎหมายจะขัดหรือแย้งต่อกฎหมายหรือกฎเกณฑ์แห่งกฎหมายที่มีลำดับศักดิ์สูงกว่ามิได้

กฎหมายเรื่องเดียวกัน หากมีซ้ำซ้อนกันและมิได้บัญญัติว่าให้ใช้ฉบับใด ให้ถือว่าต้องใช้ฉบับที่บัญญัติขึ้นภายหลัง

การตีความกฎหมายต้องถือตามเจตนารมณ์ของกฎหมายควบคู่กับตัวบทกฎหมาย และต้องตีความเพื่อให้กฎหมายบังคับใช้ไปได้ โดยไม่เกิดผลประหลาด (Golden rule)

กฎหมายลักษณะต่างกันย่อมมีนิติวิธีหรือแนวทางและวิธีการในการใช้กฎหมายต่างกัน เช่นกฎหมายแพ่ง เรื่องสัญญาย่อมมุ่งที่ประโยชน์ของเอกชน กฎหมายมหาชน เรื่องสิ่งแวดล้อมย่อมมุ่งประโยชน์ของคนทั่วไปเป็นหลัก หรือในทางกฎหมายแพ่ง เมื่อไม่มีกฎหมายห้าม ย่อมกระทำได้ หากไม่ขัดต่อจารีตประเพณีและศีลธรรมอันดี แต่ในขณะเดียวกัน กฎหมายมหาชนนั้น ถือหลักว่า ถ้าไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้ ย่อมทำไม่ได้ เช่น การปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการ จะถือหลักว่า กระทำใดๆ เท่าที่กฎหมายไม่ห้ามมิได้ ต้องกระทำการเฉพาะตามขอเขตอำนาจของกฎหมายโดยเคร่งครัด เป็นต้น

กฎหมายไม่มีผลย้อนหลังในทางเป็นโทษ โดยเฉพาะกฎหมายอาญา


[แก้] ประเด็นกฎหมายที่น่าสนใจในปัจจุบัน


[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น


  กฎหมาย เป็นบทความเกี่ยวกับ การเมือง การปกครอง หรือ กฎหมาย ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ กฎหมาย ในภาษาอื่น สามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ๆ ด้านซ้ายมือ
Our "Network":

Project Gutenberg
https://gutenberg.classicistranieri.com

Encyclopaedia Britannica 1911
https://encyclopaediabritannica.classicistranieri.com

Librivox Audiobooks
https://librivox.classicistranieri.com

Linux Distributions
https://old.classicistranieri.com

Magnatune (MP3 Music)
https://magnatune.classicistranieri.com

Static Wikipedia (June 2008)
https://wikipedia.classicistranieri.com

Static Wikipedia (March 2008)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com/mar2008/

Static Wikipedia (2007)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com

Static Wikipedia (2006)
https://wikipedia2006.classicistranieri.com

Liber Liber
https://liberliber.classicistranieri.com

ZIM Files for Kiwix
https://zim.classicistranieri.com


Other Websites:

Bach - Goldberg Variations
https://www.goldbergvariations.org

Lazarillo de Tormes
https://www.lazarillodetormes.org

Madame Bovary
https://www.madamebovary.org

Il Fu Mattia Pascal
https://www.mattiapascal.it

The Voice in the Desert
https://www.thevoiceinthedesert.org

Confessione d'un amore fascista
https://www.amorefascista.it

Malinverno
https://www.malinverno.org

Debito formativo
https://www.debitoformativo.it

Adina Spire
https://www.adinaspire.com