Ebooks, Audobooks and Classical Music from Liber Liber
a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z





Web - Amazon

We provide Linux to the World


We support WINRAR [What is this] - [Download .exe file(s) for Windows]

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
SITEMAP
Audiobooks by Valerio Di Stefano: Single Download - Complete Download [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Alphabetical Download  [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Download Instructions

Make a donation: IBAN: IT36M0708677020000000008016 - BIC/SWIFT:  ICRAITRRU60 - VALERIO DI STEFANO or
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
อันดับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย - วิกิพีเดีย

อันดับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สถานีย่อย:ประเทศไทย

ได้มีการจัดอันดับสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทยหลายครั้ง โดยหน่วยงานของไทยเอง และนิตยสารของต่างประเทศ

สำหรับหน่วยงานของไทย ในปี พ.ศ. 2549 นี้ ทางกระทรวงศึกษาธิการได้จัดให้มีการจัดลำดับมหาวิทยาลัยรัฐในประเทศไทยเป็นครั้งแรก โดย 2 หน่วยงาน คือ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)

สำหรับในต่างประเทศ นิตยสารไทมส์ไฮเออร์ นิตยสารเอเชียวีก เว็บไซต์เว็บโอเมตริกซ์ ได้มีการจัดทำอันดับมหาวิทยาลัยทั่วโลก โดยมหาวิทยาลัยในประเทศไทยบางส่วนได้ถูกเสนอชื่อเข้าไปในนั้น ในขณะที่บางลำดับเช่นจาก มหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้เจียวถง ไม่มีรายชื่อมหาวิทยาลัยในประเทศไทยแต่อย่างใด

สารบัญ

[แก้] จุดประสงค์ในการจัดอันดับ

จุดประสงค์ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยแตกต่างกันไปตามหน่วยงานหรือนิตยสารที่จัด โดยทาง สกอ. ให้เหตุผลว่าจัดเพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจให้กับนักเรียนที่จะใช้ในการเลือกสอบเข้าเรียนในสถาบันต่างๆ ขณะที่ สมศ. ให้เหตุผลว่าจัดเพื่อในการประเมินตนเองและประกันคุณภาพ

เช่นเดียวกับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศทั่วไป นิตยสารได้มีจุดขายในการโฆษณาหนังสือของตนเอง ขณะที่มีการให้ความรู้เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยแก่นักเรียน นักศึกษา รวมถึงทางบริษัทที่จะจ้างงานบุคคลจากมหาวิทยาลัยนั้น

ในขณะที่เว็บไซต์เว็บโอเมตริกซ์มีจุดประสงค์ที่แตกต่างจากที่อื่น โดยจัดอันดับมหาวิทยาลัยตามจำนวนเอกสารตีพิมพ์ออนไลน์และจำนวนเอกสารที่มีการอ้างถึง โดยไม่ได้จัดอันดับตามคุณภาพหรือจำนวนนักศึกษาตามการจัดอันดับทั่วไป


[แก้] การจัดอันดับโดย สกอ.

การจัดอันดับโดย สกอ. ได้มีการจัดทำเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ในการจัดทำอันดับมหาวิทยาลัยรัฐ โดยมีมหาวิทยาลัยเข้าร่วม 50 มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยเดียวที่เข้าร่วมแต่เสนอว่าไม่ต้องการอยู่ในอันดับ และ มหาวิทยาลัยเอกชนไม่ได้ร่วมด้วยเนื่องจากสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยแจ้งว่ายังไม่ให้ข้อมูลในปีนี้

การจัดอันดับนี้ใช้ชื่อว่า "โครงการฐานข้อมูลออนไลน์เพื่อประเมินศักยภาพของมหาวิทยาลัยไทย" [1] ได้แบ่งหัวข้อการจัดอันดับออกเป็น 2 ส่วนหลักคือ ด้านการวิจัย และ ด้านการเรียนการสอน ได้จัดทำออกเป็น 2 ส่วนย่อยคือ อันดับในภาพรวมแบ่งแยกตามมหาวิทยาลัยแบ่งออกเป็นกลุ่ม และอันดับแบ่งแยกย่อยในแต่ละสาขาวิชา โดยแบ่งออกเป็น 7 สาขาวิชาย่อย ได้แก่ (1) สาขาวิทยาศาสตร์ (2) สาขาเทคโนโลยี (3) สาขาชีวการแพทย์ (4) สาขามานุษยวิทยาและศิลปกรรมศาสตร์ (5) สาขาสังคมศาสตร์ (6) สาขาเกษตร (7) สาขาศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์

[แก้] อันดับโดย สกอ. ครั้งที่ 1 (ปี 2549) ในภาพรวม 10 อันดับต้น

สกอ. ได้มีประกาศ 50 อันดับมหาวิทยาลัยทั้งด้านวิจัย และการเรียนการสอน ในที่นี่เป็นการคัดเอา 10 อันดับต้น ดังนี้ [2]

ด้านการเรียนการสอน (คะแนนเต็ม 80%) ด้านการวิจัย (คะแนนเต็ม 100%)
  1. มหาวิทยาลัยมหิดล 61.11
  2. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 52.78 %
  3. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 47.27 %
  4. มหาวิทยาลัยขอนแก่น 47.16 %
  5. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ 46.12%
  6. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 45.72 %
  7. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 45.37 %
  8. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 45.07 %
  9. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 43.59 %
  10. มหาวิทยาลัยศิลปากร 43.46 %
  1. มหาวิทยาลัยมหิดล 100.00%
  2. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 92.24%
  3. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 81.49%
  4. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 81.36%
  5. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 78.68 %
  6. มหาวิทยาลัยขอนแก่น 75.70 %
  7. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 74.10 %
  8. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 73.61%
  9. มหาวิทยาลัยนเรศวร 72.04 %
  10. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 71.26 %

[แก้] อันดับโดย สกอ. ครั้งที่ 1 (ปี 2549) ในภาพรวม แบบแบ่งกลุ่ม

ได้มีการแบ่งออกเป็นกลุ่ม 5 กลุ่ม ตามระดับคะแนน ได้แก่

  • กลุ่ม 1 ดีเลิศ (ร้อยละ 75 ขึ้นไป)
  • กลุ่ม 2 ดีเยี่ยม (ร้อยละ 70-75)
  • กลุ่ม 3 ดี (ร้อยละ 65-69)
  • กลุ่ม 4 ดีพอใช้ (ร้อยละ 55-64)
  • กลุ่ม 5 ต้องปรับปรุง (ร้อยละ 55 ลงไป)

โดยในแต่ละกลุ่ม เรียงตามลำดับตัวอักษร (มรภ. = มหาวิทยาลัยราชภัฏ, มทร. = มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล)

กลุ่ม ด้านการเรียนการสอน ด้านการวิจัย
1 ม.ขอนแก่น, จุฬาลงกรณ์, ม.เชียงใหม่, ม.มหิดล จุฬาลงกรณ์, ม.เชียงใหม่, ม.มหิดล, มจ.ธนบุรี, มท.สุรนารี
2 ม.เกษตรศาสตร์, มจ.ธนบุรี, มท.สุรนารี, มทร.กรุงเทพ ม.เกษตรศาสตร์, ม.ขอนแก่น, ม.นเรศวร, นิด้า
3 ม.ทักษิณ, ม.แม่ฟ้าหลวง, ม.วลัยลักษณ์, ม.ศิลปากร, ม.สงขลานครินทร์, ม.อุบลราชธานี, มทร.ศรีวิชัย, นิด้า ม.บูรพา, ม.ศรีนครินทรวิโรฒ, ม.ศิลปากร, ม.สงขลานครินทร์, สจ.ลาดกระบัง
4 ม.นเรศวร, ม.บูรพา, ม.มหาสารคาม, ม.แม่โจ้, ม.ศรีนครินทรวิโรฒ, มทร.ธัญบุรี, มทร.พระนคร, มทร.สุวรรณภูมิ, มรภ.นครปฐม, มรภ.วไลยอลงกรณ์ฯ, มรภ.สวนดุสิต, สจ.ลาดกระบัง, สจ.พระนครเหนือ ม.ทักษิณ, ม.แม่โจ้, ม.แม่ฟ้าหลวง, ม.มหาสารคาม, ม.วลัยลักษณ์, ม.อุบลราชธานี, สจ.พระนครเหนือ, มรภ.นครราชสีมา, มรภ.เลย, มรภ.วไลยอลงกรณ์ฯ, มรภ.สวนดุสิต, มรภ.อุดรธานี
5 มรภ.จันทรเกษม, มรภ.เชียงใหม่, มรภ.เทพสตรี, มรภ.ธนบุรี, มรภ.นครราชสีมา, มรภ.นครศรีธรรมราช, มรภ.นครสวรรค์, มรภ.บุรีรัมย์, มรภ.พระนคร, มรภ.พิบูลสงคราม, มรภ.ยะลา, มรภ.ราชนครินทร์, มรภ.เลย, มรภ.สกลนคร, มรภ.สุราษฎร์ธานี, มรภ.หมู่บ้านจอมบึง, มรภ.อุดรธานี, มรภ.อุตรดิตถ์, ว.บัณฑิตบริหารธุรกิจ, ว.ตาปี มทร.กรุงเทพ, มทร.ธัญบุรี, มทร.พระนคร, มทร.ศรีวิชัย, มทร.สุวรรณภูมิ, มรภ.จันทรเกษม, มรภ.เชียงใหม่, มรภ.เทพสตรี, มรภ.ธนบุรี, มรภ.นครปฐม, มรภ.นครศรีธรรมราช, มรภ.นครสวรรค์, มรภ.บุรีรัมย์, มรภ.พระนคร, มรภ.พิบูลสงคราม, มรภ.ยะลา, มรภ.ราชนครินทร์, มรภ.สกลนคร, มรภ.สุราษฎร์ธานี, มรภ.หมู่บ้านจอมบึง, มรภ.อุตรดิตถ์, ว.บัณฑิตบริหารธุรกิจ, ว.ตาปี

[แก้] อันดับโดย สกอ. ครั้งที่ 1 (ปี 2549) 5 ลำดับแยกตามสาขา

ข้อมูลจากการประกาศผลการจัดอันดับครั้งแรก ปี 2549 นั้นเป็นการจัดอันดับเฉพาะในส่วนมหาวิทยาลัยของรัฐ 50 อันดับแรก ต่อไปนี้คือ 5 อันดับต้นของแต่ละสาขา ในด้านการเรียนการสอนในแต่ละสาขา [3] และในด้านงานวิจัย[4] [5]

สาขา ด้านการสอน (คะแนน%) ด้านการวิจัย (คะแนน%)
วิทยาศาสตร์
  1. คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล 62.69%
  2. วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬา 56.56%
  3. คณะวิทยาศาสตร์ ม.เชียงใหม่ 56.46%
  4. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬา
  5. คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ม.มหิดล
  1. วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬา 50.73%
  2. คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล 47.30%
  3. สถาบันอณูชีววิทยาและพันธุศาสตร์ ม.มหิดล 47.05%
  4. คณะวิทยาศาสตร์ ม.เชียงใหม่
  5. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬา
เทคโนโลยี
  1. คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬา 53.85%
  2. คณะพลังงานและวัสดุ มจ.ธนบุรี 53.10%
  3. คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี มจ.ธนบุรี 51.65%
  4. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.กรุงเทพ
  5. คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.อุบลราชธานี
  1. บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มจ.ธนบุรี 47.41%
  2. คณะพลังงานและวัสดุ มจ.ธนบุรี 44.74%
  3. สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.มหิดล 42.30%
  4. คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬา
  5. สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ มจ.ธนบุรี
ชีวการแพทย์
  1. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล 66.76%
  2. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล 65.53%
  3. คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล 64.89%
  4. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  5. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  1. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 47.82%
  2. คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล 46.00%
  3. วิทยาลัยการสาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  4. คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  5. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
มานุษยวิทยาและศิลปกรรมศาสตร์
  1. คณะมัณฑนศิลป์ ม.ศิลปากร 55.49%
  2. คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ม.มหิดล 54.36%
  3. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.เชียงใหม่ 54.35%
  4. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท ม.มหิดล
  5. คณะอักษรศาสตร์ จุฬา
  1. คณะวิจิตรศิลป์ ม.เชียงใหม่ 37.43%
  2. คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ม.มหิดล 35.29%
  3. โครงการบัณฑิตศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ นิด้า 33.57%
  4. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.เชียงใหม่
  5. คณะอักษรศาสตร์ จุฬา
สังคมศาสตร์
  1. สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 60.44%
  2. คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 56.40%
  3. คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 54.60%
  4. วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  5. คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  1. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล 42.21%
  2. คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 37.38%
  3. คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 37.11%
  4. วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  5. คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์
  1. คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 52.31%
  2. คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 52.02 %
  3. สำนักวิชาอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 52.01%
  4. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  5. คณะเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตปทุมธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  1. คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 40.60%
  2. สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 38.12%
  3. สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 37.38%
  4. คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  5. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ศึกษาศาสตร์ ครุศาสตร์
  1. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 51.24%
  2. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 51.11%
  3. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  4. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  1. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 32.40%
  2. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 30.77%
  3. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 30.05%
  4. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  5. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

[แก้] การวิพากษ์วิจารณ์

หลังจากที่ สกอ. ได้มีการประชุมโครงการ และประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของไทย ครั้งที่ 1 (ปี 2549) เมื่อวันที่ 31 สค.2549 แล้วนั้น ได้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากบุคคลหลายกลุ่ม รวมถึงผู้บริหารมหาวิทยาลัย คณาจารย์ และประชาชนทั่วไป ในข้อดี-ข้อเสียของการจัดอันดับครั้งแรกนี้ ในประเด็นเกี่ยวกับ ตัวชี้วัด (ดรรชนี) ที่เลือกใช้, การกรอกข้อมูลที่ทำโดยแต่ละมหาวิทยาลัยเองนั้นมีความน่าเชื่อถือว่าครบถ้วนหรือไม่, การยอมรับข้อมูลและการนำไปใช้ได้จริงหรือไม่ ซึ่งในกรณีนี้ สกอ.มีวัตถุประสงค์ที่จะให้การจัดอันดับช่วยให้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในการเลือกคณะและมหาวิทยาลัยในการสอบเอนทรานซ์, ผู้บริหารจากหลายมหาวิทยาลัยออกมากล่าวถึงปัญหาว่าการจัดอันดับนี้อาจนำมาซึ่งการทำลายขวัญและกำลังใจ เป็น ตราบาป ให้กับมหาวิทยาลัยหลายๆแห่ง เนื่องจากมหาวิทยาลัย มีงบประมาณและโครงสร้างพื้นฐาน และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาที่ไม่เท่าเทียม ทำให้ไม่ควรนำมาเปรียบเทียบกัน, หลายคนวิจารณ์ว่าการทำการจัดอันดับอาจซ้ำซ้อนกับที่ สมศ.ทำอยู่ แต่เร่งประกาศออกมาโดยไม่พร้อม ผู้นำในการแสดงความคิดเห็นไม่เห็นด้วยกับการจัดอันดับของ สกอ. คือ ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, นายณรงค์ พุทธชีวิน อธิการบดี มรภ.สุราษฎร์ฯ กล่าวว่า "การจัดอันดับมหาวิทยาลัยเป็นผลงานชิ้นโบว์ดำของ ดร.ภาวิช ก่อนเกษียณอายุราชการในเดือน กย. ปี 2549 นี้", นายปรัชญา เวสารัชช์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช(มสธ.) ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย(ทปอ.)กล่าวว่า ตนคิดว่าการที่มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ไม่ยอมรับผลการจัดอันดับในครั้งนี้ ไม่ถือเป็นความขัดแย้งของมหาวิทยาลัย แต่เนื่องจากมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ไม่แน่ใจในตัวชี้วัดของ สกอ. เพราะเห็นว่าไม่สามารถประเมินคุณภาพที่สอดคล้องกับธรรมชาติของมหาวิทยาลัยได้

ส่วนข้อดีของการจัดอันดับมหาวิทยาลัยนั้น น่าจะอยู่ที่เป็นการกระตุ้นให้มหาวิทยาลัยได้พิจารณาตนเอง และพัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นที่ยอมรับได้ในระดับนานาชาติ [6], [7]

[แก้] การจัดอันดับโดย นิตยสารเอเชียวีก

เอเชียวีก

นิตยสารเอเชียวีก ได้มีการจัดอันดับมหาวิทยาลัยทั่วเอเชีย (ปัจจุบันนิตยสารได้ปิดตัวลง) โดยรายชื่อมหาวิทยาลัยในประเทศไทยได้ปรากฏในอันดับต่างๆ ดังต่อไปนี้

[แก้] ประเภทมหาวิทยาลัยสหศาสตร์

ประเภทมหาวิทยาลัยสหศาสตร์ (Multi-Disciplinary University)

พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997)

หมายเหตุ: จากทั้งหมด ? สถาบัน โดยลำดับที่ 42 – 50 (รวมถึงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ไม่มีข้อมูลด้านอื่น ๆ ยกเว้นการเป็นที่ยอมรับทางวิชาการจากมหาวิทยาลัยอื่น

พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998)

หมายเหตุ: จากทั้งหมด ? สถาบัน

พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999)

หมายเหตุ: จากทั้งหมด 79 สถาบัน[8]

พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000)

หมายเหตุ: จากทั้งหมด 77 สถาบัน[9] โดยจุฬาฯ และมหิดล ไม่ได้เข้าร่วมการจัดอันดับในปีนี้

[แก้] ประเภทวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) (ตัวเลขด้านหลังคือคะแนน เต็ม 100)

หมายเหตุ: จากทั้งหมด 35 สถาบัน[10]

พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) (ตัวเลขด้านหลังคือคะแนน เต็ม 100)

หมายเหตุ: จากทั้งหมด 39 สถาบัน โดยมีจากประเทศไทย 5 สถาบัน[11]

[แก้] การจัดอันดับโดย นิตยสารไทมส์ไฮเออร์เอดูเคชันซัปพลีเมนต์

ไทมส์ไฮเออร์

นิตยสารไทมส์ไฮเออร์เอดูเคชันซัปพลีเมนต์ (THES) ได้จัดทำอันดับมหาวิทยาลัยทั่วโลก โดยแบ่งเป็นโดยภาพรวม และจัดแยกสาขาออกเป็น 5 สาขา ได้แก่ สาขาเทคโนโลยี สาขาเวชชีวศาสตร์ สาขาศิลปศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์ และสาขาสังคมศาสตร์ โดยมีชื่อมหาวิทยาลัยไทยอยู่ในอันดับ ตามปี และสาขาต่อไปนี้


ปีที่จัดอันดับ สาขา สถาบัน อันดับ (ทั้งหมด) หมายเหตุ
พ.ศ. 2547 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • 50 (100)
  • 46 (50)
  • 60 (100)
พ.ศ. 2548 ภาพรวม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • 121 (200)
 
  • สาขาสังคมศาสตร์
  • สาขาเวชชีวศาสตร์
  • สาขาเทคโนโลยี
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • 46 (100)
  • 82 (100)
  • 100 (100)
พ.ศ. 2549 ภาพรวม
  • 161 (520)
  • 317
  • 322
  • 404
  • 418
  • 475
  • 481

เมื่อดูจากแถบเอเชียและโอเชียเนีย จุฬาฯ อยู่ในอันดับที่ 41 (50) โดยอันดับใกล้เคียง คือ

อนึ่ง การจัดอันดับของ THES-QS จัดอันดับทั้งหมด 520 อันดับ แต่ประกาศอย่างเป็นทางการเพียง 200 อันดับ[12]

 
  • สาขาเทคโนโลยี
  • สาขาเวชชีวศาสตร์
  • สาขาสังคมศาสตร์
  • 95 (100)
  • 80 (100)
  • 73 (100)

[แก้] การจัดอันดับโดย เว็บโอเมตริกซ์

เว็บโอเมตริกซ์

ตัวชี้วัด Webometrics นั้นจัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก อันดับ Webometrics จะบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ของสถาบัน เพื่อใช้ร่วมกับตัวชี้วัดอื่น ๆ ในการประเมินผลงานวิจัยของสถาบัน

ผู้ทำการจัดอันดับ Webometrics นั้น ได้ระบุในหน้าแรกของเว็บไซต์ว่า ไม่ได้ต้องการจัดอันดับคุณภาพการศึกษาหรือชื่อเสียงทางวิชาการ ดังนั้นจึงไม่ควรใช้อันดับนี้ในการเปรียบเทียบสถานศึกษา หรือใช้ในการตัดสินใจเข้าศึกษา[13]

อันดับมหาวิทยาลัยของประเทศไทย ได้แก่

[แก้] อ้างอิง

  1. ฐานข้อมูลออนไลน์เพื่อประเมินศักยภาพของมหาวิทยาลัยไทย
  2. [http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01edu01020949&show=1&sectionid=0107&day=2006/09/02 เปิด 50 อันดับมหาวิทยาลัยไทย ]
  3. เปิด 50 อันดับสาขาด้าย "วิจัย-สอน" จาก หนังสือพิมพ์ มติชน 1 กย.49
  4. อันดับมหาวิทยาลัยแบ่งตามสาขาวิชา ตามงานวิจัย หนังสือพิมพ์ข่าวสดวันที่ 1 กย.49
  5. ฉะอันดับมหาวิทยาลัยมั่ว สกอ.ทำผ่านเวบ-ข้อมูลไม่ครบ
  6. ข่าวมติชน อธิการฯรุมโต้จัดอันดับมหา"ลัย โวยสกอ.เก็บข้อมูลไม่ครบถ้วน 2 กย.49
  7. ศึกจัดอันดับมหา"ลัยเดือด 2 อธิการบดีไม่ยอมรับ อ้างสกอ.ไม่พร้อม ข่าวมติชน 1 กย.
  8. Asia's Best Universities 1999 - Best Multi-Disciplinary Institutions
  9. Asia 's Best Universities 2000 - Overall Ranking Multi-Disciplinary Schools
  10. Asia's Best Universities 1999 - Best Science and Technology Institutions
  11. อันดับมหาวิทยาลัยจาก นิตยสารเอเชียวีก ปี พ.ศ. 2543
  12. THES - QS World University Rankings 2006 - Top 200 Universities
  13. http://www.webometrics.info/ เรียกดู 25 พ.ค. 2549
  14. ม.เกษตร ติดอันดับ 1 ของประเทศไทย จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกบนเว็บ
  15. [1]

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] เว็บไซต์อื่น

Our "Network":

Project Gutenberg
https://gutenberg.classicistranieri.com

Encyclopaedia Britannica 1911
https://encyclopaediabritannica.classicistranieri.com

Librivox Audiobooks
https://librivox.classicistranieri.com

Linux Distributions
https://old.classicistranieri.com

Magnatune (MP3 Music)
https://magnatune.classicistranieri.com

Static Wikipedia (June 2008)
https://wikipedia.classicistranieri.com

Static Wikipedia (March 2008)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com/mar2008/

Static Wikipedia (2007)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com

Static Wikipedia (2006)
https://wikipedia2006.classicistranieri.com

Liber Liber
https://liberliber.classicistranieri.com

ZIM Files for Kiwix
https://zim.classicistranieri.com


Other Websites:

Bach - Goldberg Variations
https://www.goldbergvariations.org

Lazarillo de Tormes
https://www.lazarillodetormes.org

Madame Bovary
https://www.madamebovary.org

Il Fu Mattia Pascal
https://www.mattiapascal.it

The Voice in the Desert
https://www.thevoiceinthedesert.org

Confessione d'un amore fascista
https://www.amorefascista.it

Malinverno
https://www.malinverno.org

Debito formativo
https://www.debitoformativo.it

Adina Spire
https://www.adinaspire.com